Blog

เบรกและยาง ระบบช่วงล่างที่ห้ามละเลย!

เขียนโดย Panida Nue - Aug 19, 2022 9:44:42 AM

ระบบช่วงล่าง เป็นอีกส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนรถยนต์ โดยเฉพาะระบบเบรคและยางที่ทำหน้าที่ในการควบคุมรถ ความปลอดภัยของผู้ใช้ขึ้นอยู่กับการดูแลในส่วนนี้ แต่จะมีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง เราจะมาแชร์ให้ได้ทุกคนรู้กัน

แม้ระบบช่วงล่างจะประกอบด้วยส่วนสำคัญอีกหลายส่วน อาทิเช่น.. ลูกหมาก โช๊คอัพ และชุดคันส่ง แต่บทความนี้เราจะมาเจาะลึกวิธีดูแลระบบเบรกและยางที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพื่อลดโอกาสเสี่ยงไม่ให้เกิด อุบัติเหตุ หรือปัญหาบานปลายที่เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับคุณ เราจึงควรดูแลให้ถูกหลัก เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ แต่เบรกและยางจะมีวิธีแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

สัญญาณเตือน ถ้าละเลยระบบเบรก..

  1. เหยียบเบรกไม่สุด : กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบเบรก อาจเป็นเพราะน้ำมันเบรคต่ำ หรือผ้าเบรกสึกแล้ว
  2. มีเสียงดังเวลาเหยียบเบรค : ตัวเหล็กที่ยึดติดกับแผ่นดิสค์เบรก ไปขูดกับขอบบนของจานเบรค 
  3. ไฟหน้าปัดมีสัญญาณเบรกเตือน : เวลาเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่า ต้องออกแรงเหยียบมากขึ้น

หากรถยนต์ของคุณกำลังเกิดอาการดังกล่าว แสดงว่าคุณกำลังละเลยระบบเบรก และถึงเวลาที่ต้องตรวจเช็คและดูแลอย่างละเอียด เพื่อรีบแก้ปัญหาเล็กๆ ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ และทำให้คุณต้องเสียค่าซ่อมจนกระเป๋าฉีก หรืออาจจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุหรือความอันตรายต่อชีวิตได้ แต่จะมีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง มาดูกัน

วิธีดูแลระบบเบรก

ระบบเบรก (Brake) หนึ่งในระบบช่วงล่างที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการชะลอความเร็วของรถ และหยุดรถ แต่หลายคนก็อาจละเลยและไม่ได้ตรวจเช็ค เพราะคิดว่ายังไม่มีปัญหา ยังเบรกอยู่ และบางคนก็คิดว่าเบรกอยู่ในจุดที่มองเห็นได้ยาก ไม่สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังมีอุปกรณ์มากมายหลายส่วนที่เกี่ยวข้องอีก ไม่ว่าจะเป็น จานเบรก ผ้าเบรก น้ำมันเบรก และสายต่างๆ แต่ความจริงแล้วเราสามารถตรวจเช็คและดูแลในขั้นเบื้องต้นได้ ดังนี้

1. ตรวจเช็คผ้าเบรก

ผ้าเบรก ถือว่าเป็นส่วนที่สึกหรอไวที่สุดในระบบเบรก เนื่องจากผ้าเบรกอาจมีเหล็กหรือเศษหินมาติดอยู่ หรืออาจเสียดสีกับจานเบรก ซึ่งอาจทำให้จานเบรกเป็นรอยได้ เราควรตรวจเช็คผ้าเบรกเสมอว่าเนื้อผ้าเบรกเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าความหนาลดลงเรื่อยๆ จนต่ำกว่า 3 มิลลิเมตร นั้นแสดงว่าเริ่มไม่ปลอดภัยแล้ว เพราะผ้าเบรกที่บางมากจะเกิดการสึกหรอได้รวดเร็วกว่าปกติหลายเท่า เนื้อผ้าเบรกอาจหลุดร่อนกะทันหัน ส่งผลให้แผ่นเหล็กเสียดสีกับจานเบรกจนเสียหาย หรือนำไปสู่เหตุการณ์อันตรายอย่าง เบรกแตก ได้

2. ตรวจเช็คจานเบรก

จานเบรกเป็นส่วนที่คดงอได้ง่าย ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับรถที่ใช้งานหนักแล้วเกิดความร้อนสะสมจะจานเบรกมีอุณหภูมิสูงจัด เมื่อขับรถผ่านจุดที่มีน้ำขัง หรือนำรถไปฉีดล้างทันทีก็อาจทำให้จานเบรกที่ทำจากโลหะเกิดอาการคดเบี้ยวอย่างเฉียบพลันได้ เราจึงควรเช็คจานเบรกอยู่เสมอ หากจานเบรกเบี้ยว คดงอ หรือมีร่องลึกเป็นเส้นยาวที่เกิดจากเศษหินเศษเหล็กมาติด ให้นำจานเบรกไปเจียหรือเปลี่ยนทันทีเลย ซึ่งควรได้รับการดูแลจากช่างที่มากประสบการณ์ เพราะหากเจียจานเบรกจนบางเกินไป อาจเกิดการแตกร้าวได้

3.เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก

น้ำมันเบรกอาจจะมีอายุที่นานกว่าน้ำมันเครื่องจนละเลยไป แต่ความจริงแล้วเราควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี หรือเปลี่ยนทุก 25,000 กิโลเมตร เพราะน้ำมันเบรกก็มีโอกาสเสื่อมสภาพเหมือนกับของเหลวเติมเครื่องยนต์ชนิดอื่นๆ เช่นกัน น้ำมันเบรกที่เปลี่ยนควรจะใช้ค่ามาตราเดิมตามคู่มือหรือตามที่ระบบเบรคนั้นๆ บอกไว้ เช่น DOT 4 ควรใช้ DOT 4 เท่านั้น ไม่ควรนำน้ำมันเบรกค่าอื่นๆ มาผสมลงไป เพราะอาจทำให้ลูกยางหรือท่อสายต่างๆ บวมได้ เป็นอีกจุดที่สำคัญมากและไม่ควรละเลย

4. ตรวจเช็คท่อและสายต่างๆ

เราอาจจะไม่สามารถตรวจเช็คท่อและสายต่างๆ ได้ทั้งหมด เนื่องจากอาจมีส่วนที่ลึกลงไปใต้ท้องรถ แต่เราควรตรวจเช็คท่อและสายต่างๆ ที่สามารถมองเห็นจากด้านบนหรือห้องเครื่อง ว่าสายยังนิ่มอยู่ไม่เสียรูป หรือแตกร้าว หากเกิดอาการแข็งกระด้างมาก อาจทำให้น้ำมันเบรกอาจจะซึมออกขณะใช้งาน จนทำให้รถเบรกแตกได้


สัญญาณเตือน ถ้าละเลยเรื่องยางรถยนต์..

  1. แก้มยางแตกและมีรอยร้าว : จอดรถกลางแดดเป็นเวลานาน จนยางเสื่อมสภาพ และเกิดรอยแตกที่เนื้อยาง
  2. ดอกยางสึก : หน้ายางสัมผัสพื้นถนนมากเกินไปจนสึกหรอ
  3. รู้สึกล้อสั่นสะเทือนผิดปกติ : เกิดช่องว่างระหว่างดุมล้อ และล้อแม็ก 
  4. ลมยางอ่อนลงเร็วกว่าปกติ  : อาจมีบางอย่างกำลังทิ่มหรือตำยางอยู่ 
  5. ยางมีเสียงดังแปลกๆ : เกิดช่องว่างระหว่างดุมล้อ และล้อแม็ก 

หากยางรถยนต์ของคุณกำลังเกิดอาการดังกล่าว แสดงว่าคุณกำลังละเลยยางรถจนมันเกิดปัญหาเสียแล้ว ถึงเวลาที่ต้องตรวจเช็คและดูแลอย่างละเอียด เพื่อยับยั้งปัญหาที่จะบานปลาย ที่อาจจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุหรือความอันตรายต่อชีวิตได้

วิธีดูแลยางรถยนต์

ยางรถยนต์ เป็นส่วนที่เห็นได้ชัดและสังเกตได้ไม่ยาก แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าควรเปลี่ยนยางตอนไหน ควรดูแลยังไง เราจึงจะมาแชร์ทริคดูแลยางง่ายๆ ให้ทุกคน ดังนี้

  1. ตรวจสอบความดันลมยาง

หากยางของคุณลมอ่อน ยางจะสะสมความร้อนอยู่ในตัว และเป็นแผลแตกได้ง่าย และหากยางของคุณมีลมมากเกินไป ยางก็อาจระเบิด และดอกยางก็เสื่อมเร็วกว่ากำหนด การตรวจเช็คความดันลมยางนั้นสำคัญมาก หากละเลยอาจส่งผลให้ยางเสื่อมไว และทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ควรใช้ความดันลมยางให้เหมาะสมตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

  1. ห้ามบรรทุกเกินดัชนีน้ำหนัก

การบรรทุกน้ำหนักเกินดัชนีน้ำหนักที่ยางกำหนดไว้ จะทำให้ขอบยางรับน้ำหนักมากเกินจนถูกบดทับทำให้เกิดรอยแตกลายงา และเสื่อมเร็วกว่าปกติได้

3. หลีกเลี่ยงถนนขรุขระ

สภาพถนนที่มีลักษณะขรุขระของหลุมบ่ออาจทำให้แก้มยางรถบวม ดอกยางลอก และเจาะยางแตกได้ หากได้รับแรงกระแทกสูง ยางรถอาจมีรอยแตก หรือรอยบุบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ขรุขระหากไม่จำเป็น ไม่เพียงเพื่อความปลอดภัยแต่เพื่อยืดอายุการใช้ของยางให้นานยิ่งขึ้น

4. ขับขี่อย่างนุ่มนวล

ยางของรถยนต์จะสึกหรอไปมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับขับขี่รถยนต์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการเบรกอย่างระมัดระวัง ไม่เบรกกะทันหัน การเปลี่ยนเกียร์อย่างนุ่มนวล การเร่งเครื่อง และการเข้าโค้งอย่างนุ่มนวล ก็มีส่วนช่วยยืดอายุของยาง ป้องกันไม่ให้ยางของคุณสึกหรอเร็วกว่าที่ควร

5. การเช็คดอกยาง

เมื่อคุณใช้รถยนต์มาเป็นเวลานาน ยางของคุณอาจเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา แต่ไม่สามารถวางใจได้เลยว่าดอกยางของยางรถจะหมดสภาพไปแบบเท่าๆ กัน  การตรวจเช็คดอกยางเป็นประจำทุกปีจะช่วยให้รู้สภาพยางของรถยนต์ในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี

 

ทุกวิธีดูแลระบบช่วงล่างในของส่วนของเบรกและยางที่เราแชร์ให้นั้น เป็นเพียงวิธีพื้นฐานที่ช่วยให้เราสามารถดูแลรักษาเบรกและยางให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้นได้อย่างง่ายๆ ด้วยตัวเอง ทั้งนี้การจะดูแลและตรวจเช็คระบบเบรกและยางให้แม่นยำและถูกต้องครบจุดนั้น อาจต้องพึ่งพาความชำนาญการของช่างมืออาชีพ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าดูแลได้ครบจุดและตรงจุด สร้างความปลอดภัยในทุกการขับขี่ เราขอแนะนำให้ SCG Performance เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการดูแลตรวจเช็คระบบช่วงล่างรถยนต์ให้กับคุณ หากพบปัญหา เจออาการไม่ว่าหนักหรือเบา เราพร้อมดูแลเต็มที่โดยช่างมากประสบการณ์ ลองเข้ามาตรวจเช็คเบรกและยางที่อู่ของเราได้นะครับ

Quickwash x SCG Performance