ยังคงมีกระแสแรงอย่างต่อเนื่องกับ “รถไฟฟ้า EV” ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุปัน เพราะเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจึงทำให้ค่าใช้ง่ายในเรื่องพลังงานเชื้อเพลิงถูกลงเป็นอย่างมาก และแถมรถ EV ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ข้อดีเยอะขนาดนี้แล้ว ใครที่ยังลังเลอยู่วันนี้เรานำข้อมูลเรื่อง “รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน? จ่ายค่าไฟเท่าไหร่?” มาให้ทุกคนได้อ่านเพื่อเพิ่มความรู้ และเหตุผลที่อาจจะช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมากฝากกันค่ะ สามารถทำความรู้จักรถประเภทรถ EV และข้อดี-ข้อเสียได้ผ่านบทความนี้เลยค่ะ สิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน ก่อนอื่นเลยสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคนที่กำลังจะซื้อรถไฟฟ้านั่นคือการศึกษาทำความเข้าใจระบบไฟฟ้าในบ้านของตัวเองก่อน มิเช่นนั้นระบบไฟฟ้าภายในบ้านอาจจะมีปัญหาได้ โดยมี 5 ขั้นตอนการติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านมาฝากทุกคนกันค่ะ 1.ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า คือ สำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าของตัวเอง โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน ทางการไฟฟ้าแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป **สำหรับคนที่คิดว่าต้องเปลี่ยนระบบไฟเป็น 3 เฟสรึเปล่า? คำตอบคือ “ไม่จำเป็น” เนื่องจากถ้าบ้านไม่มีการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไป การใช้ไฟ 1 เฟสก็เพียงพอ 2.เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) คือ สำหรับสาย Main ของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่แต่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน 3.ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) คือ ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีส่วนตัว แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ควรเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด 4.เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) คือ เป็นเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม 5.เต้ารับ (EV Socket) คือ สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) *แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ? ใช้เวลานานเท่าไหร? สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลักๆ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge) คือ การชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30(100)A และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ที่ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม. การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge) คือ เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม. การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge) คือ เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ตรงเข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที นิยมใช้ตามสถานีบริการนอกบ้าน ที่ต้องการความรวดเร็วในการชาร์จ แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ตัวแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น ได้แก่ CHAdeMo, GB/T และ CCS เป็นต้น หัวชาร์จสำหรับรถแต่ละรุ่นแบบด่วน (Quick Charge) DC CHAdeMo ย่อมาจากคำว่า CHArge de Move แปลได้ว่า ชาร์จไฟแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น จ่ายกระแสไฟฟ้าขนาด 50 kW DC CCS2 ย่อมาจาก Combined Charging System เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป จ่ายกระแสไฟฟ้าขนาด 50 kW เทคนิคการเลือกเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger ความเร็วในการชาร์จไฟรถยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับไฟ (On Board Charger) ของรถยนต์แต่ละรุ่น หรือก็คือตัวควบคุมการดึงพลังงานไฟฟ้าจากตัวรถ สั่งการไปยังเครื่อง EV Charger โดยทั่วไปขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ซึ่งทำให้ตัวเครื่องชาร์จออกแบบมาให้มีทั้งหมด 4 ขนาด คือ 3.7 kW, 7.4 kW, 11 kW, 22 kW (มาตรฐาน) ราคาเครื่องชาร์จหลากหลายมีตั้งแต่ 15,000-100,000 กว่าบาท(แล้วแต่ยี่ห้อ) การเลือกจุดติดตั้งเครื่องชาร์จ บริเวณพื้นที่จอดรถ 1.ระยะทางไม่เกิน 5 เมตร จากตัวเครื่องชาร์จจนถึงจุดที่เสียบชาร์จกับตัวรถ ไม่ควรวางห่างกันเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายเครื่องชาร์จ EV Charger โดยทั่วไปอยู่ที่ 5-7 เมตรเท่านั้น 2.วางใกล้ตู้ MDB เลือกทำเลใกล้ตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น 3.หลังคาปกคลุม เลือกจุดที่อยู่ด้านในใต้หลังคา เพื่อป้องกันละอองฝน และเป็นการรักษาให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น คำนวณค่าไฟในการชาร์จรถไฟเต็ม 1 รอบการใช้งาน ยกตัวอย่าง : รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 7.4 kW แบตเตอรี่จุได้ 60 kW หรือระยะทางขับขี่ประมาณ 350 กิโลเมตร พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเวลา 1 ชม. เก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 7.4 kW โดยถ้าต้องจุให้เต็ม 60 kW ต้องใช้เวลาถึง 7-8 ชั่วโมง สมมุติว่าไฟฟ้า 1 หน่วย = 1 kW สมมุติที่ 4 บาท/หน่วย – ชาร์จไฟ 1 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 1 = 29.6 บาท – ชาร์จไฟ 2 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 2 = 59.2 บาท – ชาร์จไฟ 8 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 8 = 236.8 บาท สรุป ถ้าเราชาร์จแบตเตอรี่เต็มใช้เงินประมาณ 236.8 บาท ขับรถยนต์ได้ 350 กิโลเมตร หรือตก 1.4 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง อยู่ที่ประมาณ 3-5 บาท/กิโลเมตร เรียกได้ว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายเท่าตัวเลย เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับข้อมูลที่เรานำมาเสนอกับข้อมูลความรู้ที่เรานำมาเสนอ หากใครที่กำลังตัดสินซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Ev เรื่องการชาร์จไฟเป็นประเด็นที่สำคัญมาก หวังว่าความรู้นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ
กระแสรถรถไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) แรงดีไม่มีตก สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้านี้แล้ว ก็มักจะมีคำถามยอดฮิตตามมา ว่าสถานีชาร์จรถ EV นั้นตอนนี้มีครอบคลุมแล้วหรือยัง หรือว่ามีมากน้อยเพียงใดหากต้องการเดินทางออกไปต่างจังหวัดจะยังพบกับจุดชาร์จอยู่หรือไม่ วันนี้เราจึงรวบรวมสถานีชาร์จรถ EV ในประเทศไทยมีที่ไหนกันบ้าง เพื่อไว้สำหรับคนที่ต้องการวางแผนการเดินทางไกลจะได้หมดกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมดกลางทาง หรือหาสถานีชาร์จไม่ได้ MEA EV การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้านครหลวงมีแอปพลิเคชั่น MEA EV Application สามารถใช้ค้นหาสถานีชาร์จรถแบบเรียลไทม์ ได้ทั้งของการไฟฟ้านครหลวง (MEA), บริษัท EA Anywhere (EA) และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) พร้อมแสดงเส้นทางไปยังสถานีชาร์จด้วยแผนที่ GIS ร่วมกับการนำทางของ Google Application รวมถึงสามารถจองสถานีชาร์จ หรือหัวชาร์จได้ด้วยแบบเรียลไทม์ (เฉพาะสถานีที่ลงทะเบียนกับการไฟฟ้านครหลวงเท่านั้น) มีด้วยกันทั้งหมด 11 ที่ ได้แก่ กฟน. สำนักงานใหญ่ เพลินจิต กฟน. เขตวัดเลียบ กฟน. เขตสามเสน กฟน. เขตบางเขน กฟน. เขตบางขุนเทียน กฟน. เขตลาดกระบัง กฟน. เขตบางใหญ่ กฟน. เขตสมุทรปราการ กฟน. เขตราษฎร์บูรณะ กฟน. เขตธนบุรี กฟน. ที่ทำการบางพูด การไฟฟ้านครหลวง ได้ร่วมมือกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มจุดติดตั้ง MEA EV Charging Station บริเวณร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 7-Eleven สาขา บ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และ 7-Eleven สาขา สน.บางขุนนนท์ และส่งมอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้า MEA EV Charger ในโครงการศึกษาวิจัย MEA EV Smart Charging System พร้อมใช้งานได้แล้ววันนี้ ได้แก่ MBK EV Charging Station จำนวน 3 เครื่อง บริเวณลานจอดรถ ชั้น 2 โซน C ช่อง 23-24 เวลา 10.00 – 21.00 น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 5 เครื่อง อาคารจามจุรี 5 เวลา 6.00 – 19.00 น. (ในช่วงทดลอง ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะบุคลากรของจุฬาฯ) CP Tower 1 CPLAND จำนวน 1 เครื่อง อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ 1 (สีลม) บริเวณลานจอดรถชั้น 8 เวลา 8.30 – 17.30 น. ด้านหลังห้างสรรพสินค้า Siam Square One (ร่วมกับ Great Wall Motors) สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า โทร. 0 2476 5666-7 ระหว่างเวลา 07.30-15.30 น. ในวันเวลาทำการ หรือ MEA Call Center 1130 Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA Line : MEA Connect Twitter: @mea_news และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สถานีอัดประจุไฟฟ้า EV Station ปตท. (PTT) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR หรือปั๊มน้ำมันที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะเจอกับสถานีบริการมากที่สุด ได้ปรับแผนธุรกิจให้มีการเพิ่มจุดให้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV (PTT EV Charging Station) เพิ่มมากขึ้น ด้วยกำลังไฟ 50 กิโลวัตต์/เครื่อง ด้วยหัวชาร์จ DC รูปแบบ CCS Combo 2 และ CHAdeMO และหัวชาร์จ AC รูปแบบ Type 2 โดยสามารถชาร์จได้พร้อมกัน 2 หัวจ่าย ระหว่าง DC และ AC อีกทั้ง ยังมี EV Station ในรูปแบบ Normal Charge ที่เปิดให้บริการแล้ว 25 สถานี ทาง PTT หรือ ปตท. มีจุดชาร์จไฟแบบ Quick Charge 5 แห่ง ดังนี้ PTT Station สาขาพหลโยธิน กม. 25 กรุงเทพฯ PTT Station สาขาวงแหวนกาญจนาภิเษก-ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ PTT Station สาขาพัฒนาการ ขาออก กรุงเทพฯ PTT Station สาขาหนองแขม กรุงเทพฯ PTT Station สาขาแยกหาดจอมเทียน พัทยา จุดชาร์จไฟแบบธรรมดา 25 แห่ง ทั่วประเทศ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร สาขาแยกประชาอุทิศ-ลาดพร้าว กรุงเทพฯ สาขาทุ่งครุ สาขาพระราม 2 (ขาออก) สาขาบรมราชชนนี (ขาเข้า) สาขาราชพฤกษ์ 1 สาขาเอกมัย-รามอินทรา สาขาลาดพร้าว-วังหิน สาขานวลจันทร์ สาขามัยลาภ สาขาราษฎร์บูรณะ (ขาออก) นนทบุรี สาขาประชาชื่น 2 ปทุมธานี สาขาวงแหวนตะวันตก (ขาเข้า) สาขาคลองหลวง กม.6 สาขาแยกสันติสุข สมุทรสาคร สาขาพระราม 2 (ขาเข้า) นครปฐม สาขาพุทธมณฑล สาย 4 สาขาพุทธมณฑล สาย 5 พระนครศรีอยุธยา สาขาวังน้อย สาขาบางปะอิน สระบุรี สาขาสระบุรี ระยอง สาขาโรงแยกก๊าซระยอง สาขาตำบลมาบข่า ขอนแก่น สาขาเมืองขอนแก่น เชียงใหม่ สาขาสารภี สงขลา สาขาหาดใหญ่ใน (ขาออก) สถานีอัดประจุไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA จำนวน 11 สถานี ดังนี้ สายภาคเหนือ (กรุงเทพฯ – พระนครศรีอยุธยา) จำนวน 2 สถานี สายภาคใต้ (กรุงเทพฯ – หัวหิน) จำนวน 4 สถานี สายภาคตะวันออก (กรุงเทพฯ – พัทยา) จำนวน 3 สถานี สายภาคตะวันตก (กรุงเทพฯ – นครปฐม) จำนวน 1 สถานี สำนักงานใหญ่ กฟภ. จำนวน 1 สถานี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ยังร่วมกับ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ติดตั้งจุดบริการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้า (EV Charger Station) ให้บริการในสถานีบริการน้ำมันบางจากมากที่สุดในไทย ซึ่งจะเปิดให้บริการบนเส้นทางสายหลัก 56 สาขา ต่อเนื่องทุกระยะ 100 กิโลเมตรรองรับการเดินทางขาเข้า-ออกเมือง เครื่องอัดประจุไฟฟ้าเป็นแบบ Multi-Standard (CHAdeMO (ย่อมาจาก CHArge de Move แปลได้ว่า ชาร์จไฟแล้วขับต่อไป), CCS COMBO2, AC TYPE2) ตามมาตรฐานนานาชาติ รองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งหัวจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐานยุโรปและญี่ปุ่น การอัดประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว (QUICK CHARGE) ใช้เวลาประมาณ 20 นาที อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.5798 บาท/หน่วย ในช่วง Off-Peak ค่าบริการ 4.1972 บาท/หน่วย อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.5798 บาท/หน่วยในช่วง Off-Peak ค่าบริการ 4.1972 บาท/หน่วย ปัจจุบัน PEA VOLTA สามารถเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานได้ค้นหาตำแหน่งสถานีและนำทางไปยังสถานี ตรวจสอบสถานะสถานีอัดประจุ พร้อมชำระค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าผ่านระบบการเติมเงินได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และรวดเร็ว เพราะเป็นหัวจ่ายแบบชาร์จเร็ว โดย 1 สถานีมี 5 หัวจ่าย ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้บริการได้ 24 ชั่วโมง สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นฟรีได้ที่ iOS : https://apps.apple.com/th/app/pea-volta/id1503297093?l=th Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pea.peavolta สถานีอัดประจุไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เริ่มต้นจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ตั้งแต่ปี 2560 และในปี 2564 จึงเริ่มจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT” ชาร์จไฟได้รวดเร็ว ปลอดภัย มั่นใจ เพื่อรองรับทุกการเดินทางของผู้ใช้ยานยนต์ทั่วประเทศโดยปัจจุบันติดตั้งไปแล้ว 50 สถานี 25 จังหวัด เช็กสถานีบริการได้ที่นี่ โดย กฟฝ. มีการร่วมมือกันระหว่างบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือผู้ให้บริการปั้มน้ำมัน PT เปิดตัวจุดสถานีชาร์จแห่งแรกชื่อ EleX by EGAT และขยายพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทย สถานีอัดประจุไฟฟ้า EA Anywhere หรือ บ.พลังงานบริสุทธิ์ EA Anywhere เป็นบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น คาลเท็กซ์, ซีพี ออลล์, บริดจสโตน เอ.ซี.ที และ โรบินสัน ร่วมกันจัดตั้งสถานีชาร์จทั่วประเทศไทย โดยปัจจุบันมีมากกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ สามารถตรวจสอบจุดการให้บริการได้ที่ EA Anywhere
มาทำความรู้จักกับแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังอย่าง TESLA (เทสล่า) ให้มากขึ้นด้วยผ่านโมเดลรถยนต์ที่เทสล่ามีทั้งหมด 4 โมเดล พร้อมบอกสเปกและราคาจำหน่ายเริ่มต้น TESLA (เทสล่า) คือบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% (Electric Vehicle) ที่นำเสนอจุดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่น Autopilot (ระบบขับขี่อัตโนมัติ) และการสั่งการผ่าน Smartphone เป็นต้น นอกจากนี้ TESLA ยังถือว่าเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสะอาดเป็นมิตรกับโลก ด้วยการที่ไม่มีการปล่อยมลพิษขึ้นสู่อากาศเลย เนื่องจากไม่มีการใช้เครื่องยนต์น้ำมันเป็นส่วนประกอบแต่ใช้เป็นแบตเตอรี่ไฟฟ้าลิเทียมไอออนแทน TESLA ทุก MODEL ถูกออกแบบให้มีความมินิมอล รูปโฉมเรียบง่าย สะอาดตา ไม่หลุดภาพลักษณ์รถยนต์รักสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และด้วยการที่ Tesla (เทสล่า) มีแนวคิดที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญจึงได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าออกมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในอนาคตจะเห็นได้จากปัจจุบันราคาน้ำมันมีราคาสูงขึ้น จนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้รับมาสนใจเป็นอย่างมาก บวกกับเทสล่ามีเทคโนโลยีที่โดดเด่น ดีไซน์แตกต่าง และวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ทำในที่สุดก็ให้เทสล่าขึ้นแท่นมาเป็นผู้นำการผลิตในตลาดรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุด เรามาทำความรู้จัก 4 MODELS ของแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังนี้กันดีกว่าค่ะ ว่าจะมีสมรรถนะเป็นอย่างไรบ้าง TESLA MODEL S TESLA MODEL S เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Sedan ถูกเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2012 โมเดลนี้ถูกพัฒนามาเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปีเพื่อพัฒนาสมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นนี้ให้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมี TESLA MODEL S ทั้งหมด 2 รุ่นด้วยกันคือ Model S Dual Motor AWD ราคาโดยประมาณ 3,405,000 บาท (99,990 USD) อัตราเร่ง 0-96 กม./ชม.: 3.1 วินาที ขุมพลัง 670 แรงม้า มีอัตราเร่ง 0 – 100 กม. /ชม. เพียง 3.1 วินาที ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 249 กม. /ชม. ระยะทางขับขี่: 603 - 651 กิโลเมตร (375 - 405 ไมล์) Model S Plaid Tri Motor AWD ราคาโดยประมาณ 4,635,000 บาท (135,990 USD) อัตราเร่ง 0-96 กม./ชม.: 1.99 วินาที ระยะทางขับขี่: 560 - 637 กิโลเมตร (348 - 396 ไมล์) ซึ่งรุ่น Plaid นี้ถูกอัพเกรดใหม่ให้สามารถใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 ตัว ส่งพลังสูงสุดถึง 1,020 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม. /ชม. ต่ำกว่า 2 วินาทีเลยทีเดียว อีกทั้งยังทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 320 กม. /ชม. TESLA MODEL 3 TESLA MODEL 3 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับกระแสความนิยมมากที่สุด กับการเปิดตัวด้วยการมียอดจองสูงที่สุดในโลกด้วยตัวเลขมากกว่า 325,000 คัน ภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังการเปิดตัว และมียอดจองทะลุ 500,000 คันภายใน 3 เดือนเท่านั้น เพราะด้วยตัวโมเดลมีขนาดที่กระทัดรัด ชาร์จได้รวดเร็ววิ่งได้ไกลและมีราคาที่สามารถจับต้องได้ด้วยราคาเริ่มต้นประมาณ 1 ล้านบาท ส่วนในเรื่องของสมรรถนะก็ทำออกมาได้โดดเด่นไม่แพ้ใครด้วยเครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้าคู่ที่ทำงานแบบอิสระ โดย MODEL 3 นี้มีให้เลือกถึง 3 รุ่นด้วยกัน รุ่น Model 3 Standard (Rear Wheel Drive) ราคาโดยประมาณ 1,601,000 บาท (46,990 USD) ขุมพลัง 283 แรงม้า มีอัตราเร่ง 0 – 100 กม. /ชม. เพียง 5.3 วินาที ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 225 กม. /ชม. เมื่อชาร์จไฟเต็มสามารถวิ่งได้ 430 กม. รุ่น Model 3 Long Range (All-Wheel Drive) ราคาโดยประมาณ 1,908,000 บาท (55,990 USD) ขุมพลัง 346 แรงม้า มีอัตราเร่ง 0 – 100 กม. /ชม. เพียง 4.2 วินาที ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 233 กม. /ชม. ขับเคลื่อนแบบ All-Wheel Drive เมื่อชาร์จไฟเต็มสามารถวิ่งได้ 580 กม. รุ่น Model 3 Performance (All-Wheel Drive) ราคาโดยประมาณ 2,147,000 บาท (62,990 USD) ขุมพลัง 450 แรงม้า มีอัตราเร่ง 0 – 100 กม. /ชม. เพียง 3.3 วินาที ทำความเร็วสูงสุด 261 กม. /ชม. มอเตอร์คู่ ระบบขับเคลื่อนแบบ All-Wheel Driveเมื่อชาร์จไฟเต็มสามารถวิ่งได้ 567 กม. TESLA MODEL X TESLA MODEL X เป็นรถยนต์ไฟฟ้า Crossover ขนาดกลาง (Mid-size) ที่ถูกพูดถึงในส่วนของประตูมากที่สุดเพราะ ประตูของโมเดลรถรุ่นนี้มาในรูปแบบ Falcon Wing (ลักษณะปีกนก) ที่เวลาเปิดประตูจะถูกยกขึ้นเหมือนปีกนก มาพร้อมรูปทรงที่ดูบึกบึน ทรงพลัง ซี่ง TESLA MODEL X ถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 รุ่นย่อย รุ่น Tesla Model X Plaid (Tri Motor) ราคาโดยประมาณ 4,740,000 บาท (138,990 USD) มีกำลังถึง 1,020 แรงม้า สามารถเร่ง 0 – 100 กม. /ชม. เพียง 2.5 วินาที ทำความเร็วสูงสุดที่ 262 กม. /ชม. รุ่น Tesla Model X (Dual Motor) ราคาโดยประมาณ 2,640,000 บาท (114,900 USD) มีกำลัง 670 แรงม้า สามารถเร่ง 0 – 100 กม. /ชม. เพียง 3.8 วินาที ทำความเร็วสูงสุดที่ 249 กม. /ชม. TESLA MODEL Y TESLA MODEL Y รถยนต์ไฟฟ้า Compact Crossover SUV ที่ถูกพัฒนาแพลตฟอร์มมาจาก TESLA MODEL 3 ซึ่งมีชิ้นส่วนคล้ายคลึงกันถึง 75 % มีขนาดที่กะทัดรัด มีที่นั่งให้เลือกตามใจชอบอีกด้วย ทั้งแบบ 5 ที่นั่งและ 7 ที่นั่ง TESLA MODEL Y แบ่งออกเป็น 2 รุ่นย่อยคือ รุ่น Performance ราคาโดยประมาณ 2,320,000 บาท (67,990 USD) สามารถทำความเร็ว 0 – 100 กม./ชม. ที่ 3.5 วินาที ระบบขับเคลื่อนแบบ All-Wheel Drive ทำความเร็วสูงสุด 241 กม./ชม. รุ่น Long Range ราคาโดยประมาณ 2,150,000 บาท (62,990 USD) สามารถทำความเร็ว 0 – 100 กม./ชม. ที่ 5.3 วินาที ระบบขับเคลื่อนแบบ All-Wheel Drive ทำความเร็วสูงสุด 217 กม./ชม. เทสล่ามีความสามารถในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาให้ตอบโจทย์และหลากหลาย ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการตัดสินใจมากขึ้นซึ่งก็จะแตกต่างกันในด้าน ดีไซน์สมรรถนะ รวมทั้งราคา เหตุนี้จึงทำให้ TESLA ถูกเป็นที่พูดถึงและเป็นที่ต้องการของผู้คนมากมาย
รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV) ได้รับกระแสความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องด้วยปัญหาราคาค่าน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นบวกกับผู้คนก็หันกลับมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพราะเนื่องจากที่ผ่านมาได้มีปัญหาโลกร้อน มลพิษทางอากาศ PM2.5 จึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถยนต์ที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมได้รับกระแสความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมา หากใครที่กำลังตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ เรามาลองทำความรู้จักกับประเภทรถยนต์ไฟฟ้าและข้อดีข้อเสีย ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ รถยนต์ไฟฟ้ามีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภทคือ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด | Hybrid Electric Vehicle (HEV) การทำงานของรถยนต์ในรูปแบบนี้คือจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์สันดาป และพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแบตเตอรี่ โดยระบบของรถยนต์จะทำงานสลับการใช้งานกันระหว่างเครื่องยนต์และแบตเตอรี่อัตโนมัติ หรือ บางครั้งพลังงานอาจจะมาจากทั้งสองแหล่งเลยก็ได้ เพราะจะได้เป็นการเสริมอัตราการเร่งของรถยนต์ การทำงานของตัวแบตเตอรี่ของรถยนต์ หลักๆ ระบบจะดึงพลังงานมาใช้ในช่วงที่รถออกตัวในระยะทาง 2-3 กิโลเมตรแรก หลังจากนั้นจึงจะสลับกลับมาใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน และเมื่ออยู่ในช่วงระหว่างรถติดหรือหยุดนิ่ง หากมีแบตเตอรี่มากพอระบบจะดึงพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในตัวรถ เช่น ไฟหน้า แอร์รถยนต์ เครื่องเสียง โดยให้เครื่องยนต์หยุดทำงานชั่วขณะ เพื่อลดการใช้น้ำมันและลดการปล่อยควันพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด | Plug-in Hybrid (PHEV) รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊ก-อิน ไฮบริดนี้ จะมีระบบการทำงานที่มีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด คือ มีการผสมผสานการทำงานระหว่างเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ เพียงแต่ว่าสามารถเสียบชาร์จไฟแบตเตอรี่ได้เองจากที่บ้านหรือสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อแบตเตอรี่เต็ม 100% แล้วนั้นจะสามารถขับได้ไกลถึง 20-50 กิโลเมตรโดยประมาณ และไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเลย หากแบตเตอรี่หมดลงระบบจะสลับกลับมาใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนปกติดังเดิม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ | Battery Electric Vehicle (BEV) รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้เป็นประเภทที่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อนแบบ 100% โดยที่ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงใดๆ จึงมั่นใจได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้จะเป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างแน่นอน เพราะไม่มีการปล่อยไอเสียจากตัวรถออกมาเลยแม้แต่น้อย สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่แต่ละครั้งนั้น ใช้เวลาประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง สำหรับการชาร์จปกติ หรือ 2 - 4 ชั่วโมง สำหรับการชาร์จผ่านแทนชาร์จเร็ว หลังจากชาร์จไฟเต็ม 100% แล้ว รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้จะสามารถวิ่งได้สูงสุดประมาณ 300 กิโลเมตรเลยทีเดียว สำหรับใครที่ชอบเที่ยวต่างจังหวัดหรือชอบเดินทางแบบระยะทางไกลขึ้นมาหน่อย รถยนต์พลังงานไฟฟ้าประเภทนี้ถือว่าตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สุด ๆ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง | Fuel Cell Electric Vehicle (FCEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ขับเคลื่อนและใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งพลังงานนั้นมาจากพลังงานของก๊าซไฮโดรเจนที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ซึ่งจะสร้างพลังงานไฟฟ้าขึ้นมา และเมื่อพลังงานไฟฟ้าถูกชาร์จเข้าแบตเตอรี่มอเตอร์จะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่นำไปขับเคลื่อนล้อ ข้อดีของ FCEV คือ สามารถเติมไฮโดรเจน เหมือนกับเราเติมก๊าซNGV และจะใช้เวลาในการเติมไม่นาน แต่มีข้อเสียคือสามารถติดไฟได้ง่ายหากเกิดการรั่วไหลเนื่องจากมีก๊าซไวไฟมาก เมื่อรู้จักกับประเภทรถ Ev กันมากขึ้นแล้ว มาลองดูข้อดีและข้อเสียของมันกันบ้างดีกว่าค่ะ ว่าจะมีอะไรบ้าง ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า 1.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แน่นอนอยู่แล้วว่าหากเป็นรถไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% นั่นแปลว่าเป็นพลังงานสะอาด เพราะรถยนต์จะทำงานด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ทำให้ไม่มีการปล่อยไอเสียหรือก๊าซเรือนกระจกออกมาและไม่เป็นการสร้างมลพิษ 2.ลดมลพิษทางเสียง เนื่องจากกลไกในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องใช้การจุดระเบิดเพื่อเผาไหม้ จึงทำให้ไม่มีเสียงดังขณะขับ และการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า มีเสียงที่เบากว่าเครื่องยนต์มาก 3.ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สู่มอเตอร์เพื่อทำการขับเคลื่อน สามารถทำให้มีอัตราเร่งเป็นไปได้อย่างที่ใจต้องการ เพราะไม่มีขั้นตอนการทดเกียร์อีกต่อไป จึงทำให้รถยนต์สามารถตอบสนองในการขับขี่ได้ตามความต้องการของผู้ขับ 4.ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีเรื่องยนต์ จึงไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ และรถยนต์พลังงานไฟฟ้ายังมีราคาที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว และผันผวนน้อยกว่าราคาน้ำมันส่วนในเรื่องของการบำรุงรักษานั้น ในรถยนต์ไฟฟ้ามีเพียงมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้นที่เป็นส่วนกำลังทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ ไม่มีของเหลวหรือกรองของเหลวที่ต้องบำรุงรักษาตามวาระ 5.สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้จากที่บ้าน รถยนต์ไฟฟ้านั้น สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้จากที่บ้าน ซึ่งสามารถชาร์จได้ระหว่างที่นอนหลับ เมื่อถึงยามเช้ารถยนต์ไฟฟ้าก็จะอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จึงทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องการเสียเวลาที่สถานีบริการน้ำมันอีกต่อไป ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้า 1.ยังมีศูนย์ให้บริการชาร์จไฟน้อย แน่นอนว่ามีข้อดีเรื่องประหยัดน้ำมัน ก็ย่อมมีข้อเสียเพราะจุดที่ให้บริการชาร์จไฟเข้าสู่ตัวรถยนต์จะต้องมีเพียงพอและเทียบเท่ากับปริมาณของปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ พร้อมไปด้วยระบบการจ่ายไฟต้องมีความปลอดภัยสูง ผู้ที่ใช้รถก็ต้องศึกษาวิธีการชาร์จให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 2.ราคาสูง ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ายังคงมีราคาที่สูงอยู่ เนื่องจากกระบวนนการผลิตจนถึงการวางจำหน่ายจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาแพง ทำให้มูลค่าตัวรถมีราคาแพงไปด้วย แต่หากในอนาคตมีนวัตกรรมการผลิตที่ดีและผลิตได้มากขึ้น รถยนต์ไฟฟ้าก็อาจจะมีราคาถูกลง 3.ระยะการขับ เนื่องจากระยะการขับของรถยนต์ไฟฟ้ามักขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่ ซึ่งอาจจะต้องทำให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าวางแผนการชาร์จระหว่างทาง และวางแผนการเดินทางสำหรับขับขี่ระยะไกล 4.การบำรุงรักษา รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก อาจจะต้องใช้เวลาเพื่อให้บุคลากรทางสายยานยนต์เรียนรู้เรื่องการบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ 5.การจำกัดขยะจากแบตเตอรี่ เนื่องจากแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่จำกัดการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แต่การกำจัดแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพไปแล้วนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการกำจัดแบตเตอรี่ที่เป็นขยะเหล่านี้ ซึ่งเป็นความท้าทายที่จะต้องมีการดำเนินการต่อไป ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้มีการแก้ไขพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพวิ่งได้ระยะทางที่ไกลมากขึ้น และทางภาครัฐและเอกชนเองก็ให้ความร่วมมือในการสร้างอัดประจุให้คลอบคลุมมพื้นที่ในประเทศเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สามารถเช็กพิกัดสถานีชาร์จได้ที่นี่ คลิก!! โหลด App Carmunity เพื่อสะสมคะแนน 👇🏻
ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า ในอนาคตข้างหน้ารถยนต์จะมีหน้าตาเป็นยังไง สามารถใช้น้ำแทนได้ไหมนะ วันนี้เราเลยนำมุมมองของรถยนต์ในอนาคตที่หลาย ๆ สื่อคาดการณ์ว่า ใกลถึงจุดสิ้นสุดของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงกันแล้ว และรถยนต์ไฟฟ้าก็กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เรียกว่าเป็นกระแสข่าวเทคโนโลยีรถยนต์ที่น่าจับตามองมากเลยทีเดียว เมื่อบริษัทรายใหญ่และผู้ผลิตรถยนต์หลายเจ้า เริ่มคิดค้นและเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้า นวัตกรรมใหม่ที่โลกต้องจารึก ซึ่งในปัจจุบันนี้เห็นได้จากเทรนด์รถยนต์ที่นำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กันมากขึ้นแล้วด้วย ใกล้หมดยุคของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วจริงหรือไม่ ในปี 2050 มีการคาดการว่าน่าจะ หมดยุคของรถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกันแล้ว เพราะในหลายประเทศกำลังตื่นตัวกับการใช้รถพลังงานไฟฟ้า เพราะเป็นทรัพยากรหมุนเวียน ใช้งานได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังลดมลพิษทางอากาศได้ดีอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย รถยนต์ไฟฟ้าได้เริ่มเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกคนโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กมองว่ารถไฟฟ้ามีแนวโน้มครองสัดส่วนทางการตลาดรถใหม่ในอังกฤษเพิ่มมากถึง 80% ภายในปี 2040 เนื่องจากต้นทุนผลิตแบตเตอรี่กำลังลดลง ส่งผลให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าถูกลงตามไปด้วย แต่หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคในสมัยนี้ได้ หลายบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จึงต้องหันมาเร่ง ลงทุนในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าพร้อมกับเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับไปควบคู่กัน ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับจึงตอบโจทย์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สุด มีการกำหนดรูปแบบการใช้งานรถยนต์ออกเป็น 2 แบบกว้างๆ โดยสำหรับรูปแบบแรกนั้น ไมค์ แรมซีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยเทคโนโลยีในสหรัฐ กล่าวว่า รถยนต์หรูไร้คนขับ คืออนาคตของรถยนต์ในปี 2040“ภายในรถยนต์ยุคปี 2040 จะเต็มไปด้วยความหรูหรา ผมมองว่า รถยนต์ส่วนบุคคลน่าจะมีความน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนที่แค่ต้องการใช้รถเดินทางเพียงอย่างเดียวนั้น จะหันไปซื้อรถมือสองหรือใช้บริการขนส่งสาธารณะมากกว่า” แรมซีย์กล่าว พร้อมเสริมว่า รถในอนาคตจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานมากมาย เช่น สามารถปรับที่นั่งหันเข้าหากันได้ หรือมีหน้าจอรถที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมายกว่าในปัจจุบันและรูปแบบรถยนต์แห่งอนาคตอย่างที่ 2 คือรถยนต์จะกลายเป็นบริการสาธารณะ เพราะเมื่อรถขับเคลื่อนได้เองแบบอัตโนมัติ คนก็ไม่จำเป็นต้องซื้อรถมาขับเองอีกต่อไป โดยรูปแบบดังกล่าวเริ่มปรากฏขึ้นแล้วในขณะนี้ เช่นบริการให้เช่ารถ หรือบริการไรด์-แชริ่งของอูเบอร์และลิฟต์ ซึ่งผู้ให้บริการไรด์-แชริ่งทั้งสองราย รวมถึงบริษัทไรด์-แชริ่งอื่นๆ ก็เริ่มลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับแล้ว แรมซีย์ มองว่า รถยนต์ไร้คนขับอาจกลายเป็นบริการมากกว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลมากขึ้นเรื่อยๆ คล้ายกับว่าเป็นตัวกลางขนส่งผู้คน โดยไปรับส่งตามจุดบริการต่างๆ แล้วไปให้บริการดังกล่าวกับคนอื่นๆ ต่อไปทั้งนี้ แรมซีย์ กล่าวเสริมว่า รูปแบบการใช้รถยนต์ทั้งสองแบบน่าจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันภายในปี 2040 ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง ไม่แน่ว่าผู้คนอาจขับรถยนต์กันน้อยลง และการขับรถอาจกลายเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งแทนการขับเพื่อใช้สัญจรในชีวิตประจำวันก็เป็นได้ ข้อดีของเทคโนโลยีในอนาคต ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการคำนวณระบบภายในแบบอัตโนมัติ หากยานยนต์สมัยใหม่ทำเข้ามาใช้ก็จะเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทได้มากขึ้น ลดภาวะโลกร้อนอย่างที่ทราบกันรถยนต์ไฟฟ้า เป็นพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา จึงไม่เกิดภาวะเลือนกระจก ช่วยอำนวยความสะดวกเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็จะอำนวยความสะดวกทั้งเจ้าของรถ และผู้ใช้บริการรถยนต์สาธารณะมากขึ้น ลดความเสี่ยงในคดีอาญาเพราะการใช้รถยนต์แบบระบบอัตโนมัติ รถจะเคลื่อนที่ได้เอง ไม่ต้องมากังวลกับอุบัติเหตุจากความประมาทจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าถูกกว่าน้ำมันเป็นที่แน่นอนว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าทำให้ผู้ใช้งานประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้หลายเท่าตัว ข้อเสียของเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ ในเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียอย่างแน่นอน เรามาดูข้อเสียของการที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกันดีกว่าค่ะ รถยนต์ราคาค่อนข้างสูงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะต้องใช้การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ย่อมส่งผลให้รถยนต์ประเภทดังกล่าวราคาสูงมาก เช่น Tesla Model S ที่มีราคาสูงถึง 2 ล้านกว่าบาท หรือแม้แต่รถยนต์ที่มีราคาถูกสุดอย่าง Nissan Leaf ก็ยังมีราคาเริ่มต้นในสหรัฐฯ สูงถึง 1 ล้านบาทเลยทีเดียว ระยะทางถูกจำกัดการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าถูกจำกัดเพราะว่า สถานีการชาร์ตพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้ายังมีไม่ครอบคลุมและทั่วถึงขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ หากมีความจุน้อยก็อาจไม่เหมาะกับการเดินทางไปในพื้นที่ห่างไกลมากนักหรือหากใช้งานผิดวิธีก็จะเกิดความเสียหายได้ ไม่ได้เหมาะกับทุกคนเสมอไปถึงจะมีข้อดีมากมาย แต่ข้อดีเหล่านั้นหากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากๆ ก็อาจทำให้ผู้ใช้รถอาจปรับตัวไม่ทันจนไม่สามารถเปิดใจงานรถยนต์ได้ ยังไม่แน่ชัดในความปลอดภัยเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการในคำนวณ ก็อาจมีการเกิดความผิดพลาดของระบบ หรือระบบป้องกันความปลอดภัยอื่นๆ จึงทำให้เกิดความไม่แน่ชัดในความปลอดภัยแล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะปลอดภัย เราควรศึกษาว่าบริษัทไหนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อการใช้งานสูง สำหรับในกรณีเคสที่ผ่านมาได้มีการทดลองขับรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา แล้วเกิดชนกับหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์จนพังเสียหาย จึงจำเป็นต้องตรวจสอบที่มาที่ไป และระบบการทำงานต่างๆ หรือจะเลือกซื้อในอนาคตก็ต้องตัดสินใจให้ดีว่าจะใช้งานในบ้านเราได้จริงใช่ไหม ถ้าหากเราเดินทางในระยะทางไกล หรือเปิดแอร์ทิ้งไว้นาน ก็อาจจะทำให้เเบตเตอรี่หมด รถเสียได้ และถ้าเราไม่รู้วิธีซ่อม ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน จนกว่าในอนาคตจะมีการทดสอบที่แน่นอนว่ารถยนต์ที่เราเลือกซื้อจะปลอดภัยจริงๆ เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับมุมมองในอนาคตรถยนต์ กับข้อดีข้อเสียที่เรานำมาเสนอให้ทุกคนได้อ่าน หลายคนอาจจะดูเป็นสิ่งไกลตัวแต่สิ่งเหล่านี้เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างได้ลางๆ ในปัจจุบันแล้วนะคะ เราเองในฐานะผู้ใช้รถยนต์ก็ต้องอย่าลืมค่อยๆ ปรับตัวเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่เสมอนะคะ ที่มา : boltech , POST TODAY
จากการที่ได้เห็นจุดเริ่มต้นของเทสล่า สิ่งที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนเทสล่าให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแบบก้าวกระโดดจนขึ้นแท่นเป็นผู้นำการผลิตในตลาดรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดแซงหน้าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ครองแชมป์มาอย่างยาวนานอย่าง Toyota มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยแต่วันนี้เราจะหยิบยกประเด็นเรื่องหลักการคิดของ บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังอย่าง เทสล่า (Tesla) มาให้ได้อ่านกันค่ะ TESLA (เทสล่า) คือ บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด 100% (Electric Vehicle) ที่นำเสนอจุดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่าง Autopilot ระบบที่ใช้ AI ขับแทนคน โดยการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์และระบบต่างๆ อย่างกล้องผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ออกแบบดีไซน์เรียบง่ายทั้งภายนอกและภายในเน้นไปทางเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมได้ผ่านหน้าจอและอีกหนึ่งความโดดเด่นคือกระจกหลังคา Tesla การันตีว่ากระจกแผ่นหลังคามีความแข็งแกร่งทนทานสูงรองรับน้ำหนักของรถทั้งคันได้ ป้องกันกระจกหลังคาแตกกรณีเกิดการพลิกคว่ำ ด้วยการที่เทสล่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่เน้นหนักไปทางเทคโนโลยีโดยมี แบตเตอรี่ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และมอเตอร์เป็นหลักจึงทำให้มีโดดเด่นขึ้นแตกต่าง โดยแบตเตอรี่ของ Tesla ได้จดสิทธิบัตรสำหรับแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 1 ล้านไมล์หรือเป็นระยะทางกว่าถึง 1.6 ล้านกิโลเมตร ถือแบตเตอรี่เป็นหัวใจสำคัญ ของการก้าวต่อไปเป็นเทคโนโลยีหลักสำคัญต่อไปในอนาคต ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้านี้ เทสล่ามีจุดเริ่มต้นจากการนำต้นแบบรถสปอร์ตไฟฟ้าแฮนด์เมด tZERO มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองอย่าง Roadster ที่เป็นรถสปอร์ตไฟฟ้าระดับไฮเอนด์คันแรกของเทสล่า ผลิตมาให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงก่อน ด้วยเหตุนี้เทสล่าจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากด้วยเรื่องเทคโนโลยีและสมรรถนะสูงระดับ Supercar เมื่อผลิตรุ่นแรกออกมาแล้วประสบความสำเร็จ เทสล่าจึงผลิตรถหรูในโมเดลถัดมานั่นก็คือ Model S และ Model X ต่อมาเทสล่าได้ทำการตลาดด้วยการลดต้นทุนในการผลิต โดยการสร้าง Gigafactory โรงผลิตแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ 20 GWh มีปริมาณเทียบเท่ากำลังผลิตแบตเตอรี่ทั้งโลกรวมกันเป็นของตัวเองจนทำให้เกิด Tesla Model 3 ในลำดับถัดมาและ Tesla Model 3 ด้วยความที่ต้นทุนการผลิตลดลงและสมรรถนะที่น่าสนใจ เช่น – อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 3.2 วินาที – แบตเตอรี่ความจุ 75 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทำระยะทางได้ 481 กิโลเมตรต่อการชาร์จ – ความเร็วสูงสุด 360 กม./ชม. – ระบบช่วยขับ Autopilot ที่สามารถอัปเกรดเป็นระบบไร้คนขับสมบูรณ์ได้ในอนาคต จึงทำให้มีราคาให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากที่สุด จนขึ้นแท่นรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) ที่คว้ายอดไปได้ 325,000 คัน หลังจากนั้นเมื่อนับจนถึงเดือนสิงหาคมปี 2017 ยอดจองทั้งสิ้นอยู่ที่ 455,000 คัน หรือมีคนจองวันละ 1,800 คัน เรียกว่าสูงมากชนิดไม่มีใครเทียบได้ และสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เทสล่าขึ้นมาเป็นผู้นำด้านตลาดรถยนต์อีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือผู้บริหาร อีลอน มัสก์ (Elon Musk) CEO คนปัจจุบันของเทสล่าได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของเขาว่า Tesla จะเข้ามามีส่วนช่วยแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานของโลกด้วยการสร้างยานยนต์คุณภาพสูงสู่ตลาดโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล จากวิสัยทัศน์นี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และนวัตกรรมของเทสล่าที่ถูกคิดค้นขึ้นมาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการปล่อยมลพิษขึ้นสู่อากาศเลย เพราะไม่มีการใช้เครื่องยนต์น้ำมันเป็นส่วนประกอบแต่ใช้เป็นการใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้าลิเทียมไอออนแทน นอกจากนี้จากการที่อีลอน มัสก์ ยังมีภาพลักษณ์ผลงานที่ได้สั่งสมมา พร้อมกับเรื่องราวชีวิตส่วนตัวที่มีสีสัน ทำให้อยู่ในความสนใจของสาธารณชนและกระแสข่าวมาโดยตลอด และเขาเองก็มีส่วนช่วยในการดูแลการออกแบบ Roadster และเป็นผู้นำในการออกแบบส่วนประกอบต่าง ๆ ตั้งแต่โมดูลไฟฟ้ากำลังไปจนถึงไฟหน้าจนได้รับรางวัล Global Green 2006 และรางวัล Index Design 2007 จากการออกแบบ Tesla Roadster รถสปอร์ตระดับพรีเมี่ยมที่มุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้งานในยุคแรก ๆ จากนั้นจึงเริ่มการผลิตรถยนต์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคหลักมากขึ้นรวมถึงรถยนต์ราคาประหยัดอีกด้วย ด้วยการที่ Tesla (เทสล่า) มีแนวคิดที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญจึงได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าออกมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในอนาคตจะเห็นได้จากปัจจุบันราคาน้ำมันมีราคาสูงขึ้น จนรถยนต์ไฟฟ้า (EV)ได้รับมาสนใจเป็นอย่างมาก บวกกับเทสล่ามีเทคโนโลยีที่โดดเด่น ดีไซน์แตกต่าง และวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ทำในที่สุดก็ให้เทสล่าขึ้นแท่นมาเป็นผู้นำการผลิตในตลาดรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุด ขอบคุณข้อมูลจาก : katexoxo , thunkhaotoday
ในปัจจุบันน้ำมันราคาขึ้นสูง ทำให้รถ Ev หรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหนึ่งในแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้ก็คงจะหนีไม่พ้น TESLA (เทสล่า) บริษัทผลิตรถยนต์พลังงานงานไฟฟ้าที่มีผู้บริหารคนล่าสุดอย่าง “Elon Musk” เรามาอ่านจุดเริ่มต้นของบริษัทเทสล่ากันดีกว่าค่ะ ว่าจุดเริ่มต้นของบริษัทผลิตรถยนต์ชื่อดังนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากอะไร TESLA (เทสล่า) คือ บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด 100% (Electric Vehicle) ที่นำเสนอจุดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่น Autopilot (ระบบขับขี่อัตโนมัติ) และการสั่งการผ่าน Smartphone เป็นต้น นอกจากนี้ TESLA ยังถือว่าเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสะอาดเป็นมิตรกับโลก ด้วยการที่ไม่มีการปล่อยมลพิษขึ้นสู่อากาศเลย เนื่องจากไม่มีการใช้เครื่องยนต์น้ำมันเป็นส่วนประกอบแต่ใช้เป็นแบตเตอรี่ไฟฟ้าลิเทียมไอออนแทน บริษัท TESLA (เทสล่า) ตั้งอยู่ใน Palo Alto (แพโล แอลโต) รัฐแคลิฟอร์เนีย ถูกก่อตั้งขึ้นในปี เมื่อวันที่ 1 เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2003 โดยมีผู้เริ่มก่อตั้งเป็นวิศวกรชาวอเมริกันสองคน คือ มาร์ติน อีเบอร์ฮาร์ด (Martin Eberhard) และ มาร์ก ทาร์เพนนิง (Marc Tarpenning) ซึ่งมีเป้าหมายตรงกันว่า ต้องการผลิตรถยนตร์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่เพราะน่าจะตอบโจทย์การใช้งานมากกว่ารถยนตร์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง จึงได้เริ่มต้นสร้างรถยนตร์ไฟฟ้าขึ้น ต่อมาได้มีผู้ร่วมอุดมการณ์เพิ่มมาอีกหนึ่งคน นั่นคือ Elon Musk ซึ่งรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ในปัจจุบัน โดยในก่อนหน้านี้บริษัทใช้ชื่อว่า เทสล่า มอเตอร์ (Tesla Motors) โดยชื่อนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) ที่เป็นนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรไฟฟ้า ชาวเซอร์เบีย เทสล่า ภายใต้การบริหารของอีลอน มัสก์ เริ่มต้นจากการสร้างรถสปอตไฟฟ้าวางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2008 มีชื่อรุ่นว่า “Roadster” รถระดับไฮเอนด์คันแรกของเทสล่าซึ่งได้บรรจุแบตเตอรี่ขนาด 53 kWh วิ่งได้ระยะทางไกลสุดถึง 320 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง แต่เนื่องจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าเป็นต้นทุนที่มีราคาแพงที่สุดในการผลิตรถ Ev เทสล่าจึงต้องเริ่มต้นจากการขายรถยนต์ราคาแพง ให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงก่อน จากจุดเริ่มต้นของรถเทสล่าคันแรกนั้นทำให้เป็นที่มาของรถเทสล่าในโมเดลต่อๆ มา ทั้ง Model S และ Model X ซึ่งในรุ่นต่อมาเทสล่าได้ใช้กลยุทธ์ที่ทำให้ต้นทุนแบตเตอรี่ต่ำลงคือ การผลิตในจำนวนมาก (Economies of scale) เทสล่าแก้ปัญหานี้โดยการสร้าง Gigafactory โรงผลิตแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ 20 GWh มีปริมาณเทียบเท่ากำลังผลิตแบตเตอรี่ทั้งโลกรวมกัน ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเนวาดา นิวยอร์ก นอกจากทั้งสองแห่งนี้เทสล่ายังตั้ง Gigafactory อีกแห่งหนึ่งในจีน และกำลังขยายฐานกำลังผลิตไปยังเยอรมนีอีกด้วย เพราะเหตุผลนี้จึงทำให้ลดต้นทุนการผลิตของเทสล่าถูกลงไปมากอีก จนทำให้เกิด Tesla Model 3 รถยนต์ไฟฟ้าราคาย่อมเยาว์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้มากขึ้น ด้วยราคาจำหน่ายเริ่มต้นที่ 35,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.05 ล้านบาท ยอดจองในช่วงเปิดตัวปี 2017 ทำสถิติการขายรถยนต์ได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ด้วยยอดจอง 3.25 แสนออเดอร์ ด้วยนวัตกรรมแนวคิดสุดล้ำของเทสล่า ทำให้มูลค่าตลาดขของเทสล่าเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และในปี 2019 บริษัทเทสล่า ยังมีมูลค่าตลาดเพิ่มเป็น 1.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 17 เท่าภายใน 7 ปี จนเทสล่ากลายเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในสหรัฐฯ แซงหน้าผู้นำบริษัทรถยนตร์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด ด้วยปัจจัยในหลายด้านจึงทำให้เทสล่ากลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ยอดนิยมอันดับต้นๆ ของรถ Ev เลยก็ว่าได้จากแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใช้พลังงานสะอาด 100% มาพร้อมกับเทคโนโลยี ดีไซน์ สุดล้ำจึงทำให้เทสล่าเข้ามามีบทบาทในวงการยานยนต์เป็นอย่างมาก จะเรียกว่าสะเทือนวงการยานยนต์ก็คงไม่ผิดนัก ขอบคุณที่มา : positioningmag
รถ EV หรือรถยนต์ไฟฟ้า กำลังเป็นที่นิยม เพราะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับผู้ต้องการซื้อยานพาหนะ ด้วยพลังงานสะอาด ทันสมัย และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5 สิ่งสำคัญ ที่คนใช้รถ EV ต้องรู้ มาทำความรู้จักกับ 5 สิ่งสำคัญที่คนใช้รถ EV ต้องรู้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า EV กันดีกว่าค่ะ EV คำนี้ย่อมาจาก “EV-Electric Vehicle” หรือยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศไทยกำลังเริ่มเป็นที่นิยมและเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับผู้ต้องการซื้อยานพาหนะมาใช้สอย และสำหรับผู้ที่ใช้รถ EV แล้วมาทำความรู้จักให้มากขึ้นกันผ่าน 5 สิ่งสำคัญนี้กันค่ะ การชาร์จ 1 ครั้งสามารถวิ่งได้ไกลแค่ไหน รถยนต์ไฟฟ้ามีทั้งหมดด้วยกัน 4 ประเภท แต่ว่ายอดขาย 4 ล้านคันที่นับกันว่าเป็น “รถ EV” เฉพาะรุ่นที่เสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ได้ มี 2 ประเภท คือ Plug-in Hybrid (PHEV) และ Battery Electric Vehicle (BEV) - PHEV คือการใช้พลังงานผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิง และไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่เสียบปลั๊กชาร์จไฟได้ โดยระยะทางที่ใช้ไฟฟ้าวิ่งได้จะขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่ความจุแบตเตอรี่อยู่ที่ 6-14 kW วิ่งได้ 25-50 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง - BEV คือ การขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่แบบ 100 % จึงไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศ ต้องชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่โดยตรงเท่านั้น มีความจุแบตเตอรี่อยู่ที่ 60-90 kW วิ่งได้ 338-473 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง ใช้รถยนตร์ไฟฟ้า Ev ประหยัดกว่ารถยนตร์ธรรมดาจริงไหม หากพูดถึงค่าใช้จ่ายค่าไฟในการชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้าหากนำมาเทียบกับรถยนตร์ธรรมดาที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง รถยนตร์ไฟฟ้าประหยัดกว่าถึง 3 เท่า!! โดยอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะอยู่ที่ 3 บาท/กิโลเมตร ส่วนค่าไฟในการชาร์จรถ EV จะอยู่ที่ราวๆ 0.7 – 1 บาท/กิโลเมตร เท่านั้น แต่หากชาร์จตามสถานที่อื่นๆ ก็อาจจะมีเพิ่มค่าบริการอีกเล็กน้อย แล้วแต่สถานที่ การชาร์จในแต่ละครั้ง ใช้เวลาในการชาร์จนานแค่ไหน เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ของรถยนต์ EV แต่ละคันไม่เท่ากัน เนื่องจากมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ที่ต่างกัน หากใช้สายชาร์จแถม (Mode 2) ก็จะทำให้ใช้เวลาชาร์จนาน ชาร์จได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากใช้ชาร์จรถไฮบริด (Hybrid) ที่มีแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ความจุ 6 – 14 kW จะใช้เวลาประมาณ 3 – 7 ชั่วโมง และหากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ แบตเตอรี่จะมีขนาดใหญ่ 60 – 90 kW ใช้เวลาชาร์จนานถึง 40 ชั่วโมง รถ EV สามารถชาร์จที่บ้านได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า ? สายชาร์จที่แถมมากับตัวรถ เป็นแค่ Emergency Charge ! (สาย Mode 2) เหมาะสำหรับการชาร์จ “เพียงชั่วคราวสั้นๆ ในยามฉุกเฉิน!” ที่แบตเตอรี่รถ EV หมดนอกบ้านในยามฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบมาใช้สำหรับเสียบชาร์จกับปลั๊กไฟบ้านเป็นเวลานาน หรือประจำ เนื่องจากอาจเกิดความร้อนสะสมที่เต้าเสียบไฟบ้าน อาจส่งผลให้ระบบไฟบ้านเกิดปัญหาได้ ดังนั้นเมื่อชาร์จเต็มแล้วควรถอดปลั๊กทันที สาเหตุเกิดจากสายไฟบ้านทั่วไปในไทยทนกระแสไฟได้เพียง 10 A หรืออาจน้อยกว่า แต่สายชาร์จแถม สามารถดึงกระแสไฟสูงสุดถึง 12A ซึ่งเกินจากสายไฟบ้านรับได้! หากต้องการใช้อย่างปลอดภัย ต้องเดินสายไฟใหม่ขนาด 4 Sq.mm. ขึ้นไป สำหรับเฉพาะเต้าเสียบนี้เท่านั้น โดยไม่พ่วงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ และที่สำคัญจะต้องมีระบบสายดินด้วย ที่ชาร์จตามปั๊มแบบรวดเร็ว สามารถชาร์จรถ EV ได้ทุกรุ่นไหม? การชาร์จไฟแบบ DC Quick Charge (Mode 4) ตามที่เห็นในปั๊มน้ำมันในต่างประเทศ รองรับแค่รถประเภท BEV แค่เพียงไม่กี่ยี่ห้อ เท่านั้นเช่น Tesla, Nissan Leaf, BMW i3/i8 เป็นต้น (ไม่สามารถชาร์จรถ PHEV ส่วนใหญ่ได้) แม้ว่าจะชาร์จได้เร็วมากเพียง 20 นาทีก็เกือบเต็ม แต่หากใช้เป็นประจำ มีโอกาสทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่ากำหนด ควรใช้แค่ 2 ใน 10 ของการชาร์จทั้งหมด ส่วนอีก 8 ใน 10 ควรชาร์จแบบ AC charge โดยใช้เครื่อง Wallbox EV Charger (Mode 3) หรือ สายแถม (Mode 2) แต่ทั้งนี้ในไทยยังมี DC Quick Charge Station ให้บริการน้อยมาก มีเพียงแต่ AC Charge ตามห้างหรือปั๊ม ซึ่งบางที่มีหัวชาร์จไม่ครบทุกประเภท จึงอาจไม่สามารถชาร์จรถบางยี่ห้อได้ เพราะรถจากแต่ละประเทศก็มีหัวชาร์จที่แตกต่างกัน เช่น รถสหรัฐอเมริกา รถญี่ปุ่น เป็นหัวชาร์จ Type 1, รถยุโรป เป็นหัวชาร์จ Type 2, รถจีนเป็นหัวชาร์จ GB/T อีกทั้งยังมีหัว Quick Charge ประเภทต่างๆ อีก เป็นยังไงกันบ้างคะกับ “5 สิ่งสำคัญ ที่คนใช้รถ EV ต้องรู้” เป็นประเด็นสำคัญที่หลายท่านกำลังสงสัย หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และสามารถไขข้อสงสัยให้กับผู้ใช้รถยนตร์ไฟฟ้ามากขึ้นนะคะ