กระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสิ่งของ ก็ถือได้ว่าการตลาดได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว โดยกระบวนการทางการตลาดนั้นจะถูกพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และความเจริญในแต่ละช่วงเวลา โดย การตลาดยุค 1.0 (Marketing 1.0) เน้นเรื่องสินค้าเป็นหลัก และเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป กระบวนการทางการตลาดก็ปรับเปลี่ยนตามไปด้วย บทความนี้เราจะมาเจาะลึกว่าในยุคถัดมาอย่างการตลาดยุค 2.0 จะมีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง มาดูกันเลย การตลาดยุค 2.0 (Marketing 2.0) การตลาดยุค 2.0 (Marketing 2.0) เป็นยุคที่การแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น ในช่วงประมาณปีค.ศ 1965 – 1975 เริ่มมีการผลิตสินค้าที่คล้ายกันออกมาหลายราย จึงทำให้เกิดการช่วงชิงลูกค้าขึ้นในยุคนี้ เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ลูกค้าจึงกลายมาเป็นที่ตั้งและศูนย์กลางแทน หรือที่เรียกว่า Customer Centric กลยุทธ์ที่คิดจากส่วนประสมการตลาดในยุคแรกอย่าง 4P อาจไม่ตอบโจทย์กระบวนการทางการตลาดที่เริ่มเปลี่ยนไป การคิดกลยุทธ์จึงต้องมุ่งเน้นไปยังลูกค้า ภาคธุรกิจเลิกผลิตสินค้าให้กับผู้คน แล้วหันทำตลาดกับกลุ่มผู้บริโภคแบบเจาะจงมากยิ่งขึ้น เป็นยุคที่นักการตลาดเริ่มรู้แล้วว่า ลูกค้าไม่ใช่ทุกคนบนโลก อีกต่อไป เกิดการพัฒนาแนวคิด 4P มาสู่แนวคิดทางการตลาดที่มองจากมุมมองของผู้บริโภค หรือ 4C ขึ้น กลยุทธ์การตลาด 4C 4C คือ รูปแบบกลยุทธ์การตลาดที่คิดจากมุมมองของลูกค้า เพื่อค้นหาว่าลูกค้าต้องการอะไร คิดอย่างไร นำเสนอคุณค่า และมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้า เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจ ช่วยให้สร้างการตลาดที่มีความหมาย และตอบโจทย์ของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งต่างจาก 4P ที่คิดจากมุมมองของแบรนด์ หรือเจ้าของธุรกิจ ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ลูกค้าสนใจ และซื้อสินค้า หรือบริการของเรา โดย 4C มีปัจจัยในการวิเคราะห์ความต้องการอยู่ทั้งหมด 4 ปัจจัย แบ่งเป็นตัว C ทั้งหมด ดังนี้ C – Customer – ลูกค้า Product —> Consumer (wants and needs) จากตอนยุค 1.0 สนใจสินค้า (Product) พอยุค 2.0 ต้องหันมามองที่ลูกค้า (Customer) มากขึ้น เริ่มศึกษาและทำความเข้าใจลูกค้าถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือมองหา อาจมีการสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลว่า ลูกค้ามีปัญหาหรือ Pain Point อะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา หลังจากนั้นจึงนำเสนอสินค้า หรือบริการที่มารองรับความต้องการในจุดนี้ การขายสินค้าหรือการให้บริการนั้น ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค ไม่ใช่เพื่อตอบสนองแค่ตัวผู้ขายเองว่าอยากขายสินค้า หรือให้บริการตัวนี้เท่านั้น C – Cost – ความคุ้มค่าของลูกค้า Price —> Cost จากตอนยุค 1.0 สนใจราคา (Price) พอยุค 2.0 ต้องหันมาดูที่ความคุ้มค่า (Cost) ลูกค้าเริ่มเกิดการเปรียบเทียบระหว่างราคาและคุณภาพที่ได้รับ ลูกค้าไม่ได้สนใจว่าค่าวัตถุดิบจะมีราคาเท่าไร ค่าขนส่งแพงขึ้นหรือไม่ แต่ลูกค้าจะมองว่า เงินที่พวกเขาจะจ่ายนั้นคุ้มค่ากับสินค้าหรือบริการหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการตั้งราคาให้เหมาะสมกับตัวสินค้าเท่านั้น แต่ยังต้องตั้งตามเวลาการบริการ ความรู้สึก และปัจจัยต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องแลกกับการซื้อสินค้า หรือใช้บริการของเรา การตั้งราคาสินค้าควรตั้งให้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า และความคุ้มค่าที่ลูกค้าได้รับ หากสินค้าราคาสูงมาก และคุณภาพก็ควรจะสูงตามไปด้วยเช่นกัน ลูกค้าจึงจะยอมจ่ายเพราะรู้สึกคุ้มค่า และสมเหตุสมผล C – Convenience – ความสะดวกสบายในการซื้อและใช้บริการของลูกค้า Place —> Convenience จากตอนยุค 1.0 สนใจสถานที่จัดจำหน่าย (Place) มาสู่การอำนวยความสะดวกสบาย (Convenience) ในยุค 2.0 โดยอาจต้องศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าว่ามีการเข้าถึงสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางใดบ้าง รวมไปถึงการชำระเงินช่องทางไหนที่สะดวกสบายที่สุดสำหรับลูกค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและการเข้าถึงให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายให้มากยิ่งขึ้น C – Communication – การสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จากตอนยุค 1.0 สนใจการส่งเสริมการขาย (Promotion) มาเป็นการสื่อสาร (Convenience) ในยุค 2.0 จากเดิมที่ใช้การเชิญชวน กล่อม หรือชี้นำให้ผู้บริโภคสนใจในสินค้าหรือบริการ แต่ในยุคนี้รูปแบบการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไป เริ่มคำนึงถึงการสื่อสารว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ข้อความแบบไหน ผ่านสื่อรูปแบบอะไรที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด นอกจาก 4C เริ่มมีการใช้กลยุทธ์ STP ในการวางแผนการตลาด คือ การแบ่งส่วนการตลาด (Segmentation) การเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) การวางตำแหน่งหรือจุดยืนของธุรกิจ (Positioning) การขายสินค้าเน้นทั้งการขายแบบนำเสนอคุณสมบัติและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงเริ่มมีการสร้างจุดขายทางด้านอารมณ์ (Emotional) เริ่มมีการสื่อสารสองทางระหว่างเจ้าของสินค้าและลูกค้า และการทำ CRM หรือการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นยุคที่แบรนด์นั้นกลายเป็นสินทรัพย์ (Asset) เริ่มมีการตีตราเป็นมูลค่าทั้งในสิ่งที่จำต้องได้และจับต้องไม่ได้ Marketing 2.0 จึงเป็นยุคที่เน้นเรื่องทำความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง แทนที่จะอัดทุกอย่างลงในสินค้าเพื่อหวังว่าจะขายทุกคน แต่ทำสินค้าให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่มมายิ่งขึ้น นอกจากนั้นยุคนี้ยังขยับเป้าหมายหลักจากความพึงพอใจของลูกค้า มาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าและการกลับมาซื้อซ้ำนั่นเอง (Retention) บทความนี้อาจช่วยให้เข้าใจมาขึ้นแล้วว่าการตลาดยุค 2.0 เป็นอย่างไร และช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นขนาดไหน อย่าลืม กดติดตาม (Subscribe) บทความนี้ไว้ เพื่อไม่ให้เป็นการพลาดสาระความรู้ดี ๆ แบบนี้อีก
หลังจากที่เรา ส่อง “แฟรนไชส์” ในไทยน่าลงทุน 2022 กันไปแล้ว เราลองมาดูแฟรนไชส์ระดับโลกที่กำลังมาแรงในช่วงนี้กันดีกว่าค่ะ ว่าจะเป็นแบรนด์อะไรมูลค่าเท่าไหร่กันบ้าง 1.Burger King หากพูดถึงร้านเบอร์เกอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในประเทศและในต่างประเทศก็คงจะหนีไม่พ้น Burger King ที่มีความอร่อย และคุณภาพที่โดดเด่นไม่เป็นสองรองใครเลย ซึ่งจากที่ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าคู่แข่งตัวฉกาจของ Burger King ก็คือ McDonald’s ทำให้ทั้งสองแบรนด์ทำการตลาดกันอย่างดุเดือดในต่างประเทศ เพื่อช่วงชิงไหวพริบและกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด ปัจจุบัน Burger King ขยายสาขา 74 แห่งทั่วประเทศไทย และกลายยังเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงอย่างมากในมัลดีฟส์ และเมียนมาด้วย 2.สเวนเซ่นส์ ร้านไอศกรีมยอดนิยมในไทยที่ไม่ว่าจะไปห้างสรรพสินค้าไหนก็เจอก็คงจะหนีไม่พ้น “ สเวนเซ่นส์ ” เป็นแบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเพราะอยู่กับคนไทยมายาวนานกว่า 30 ปี ต่อให้มีไอศกรีมแบรนด์อื่นเพิ่มเข้ามาในตลาดแต่สเวนเซ่นส์เองนั้นครองส่วนแบ่งการตลาดไอศกรีมพรีเมี่ยมมากกว่า 70% นั่นแสดงให้เห็นว่าสเวนเซ่นส์มีของดีและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ เมนูหลากหลาย การบริการ การตกแต่งร้าน ทำให้ในวันนี้สเวนเซ่นส์ได้ขยายสาขาไปทั่วทุกมุมโลก ด้วยรูปแบบและลักษณะร้านไอศกรีมที่โดดเด่นไม่เหมือนใครซึ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการพัฒนาเพิ่มรสชาติให้ถูกใจคนรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลาทำให้สเวนเซ่นส์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีมากกว่า 250 สาขาทั่วประเทศนอกจากนี้ สเวนเซ่นส์ยังมีการขยายไปยังต่างประเทศ อาทิ เวียดนาม กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ อินเดีย และตะวันออกกลาง 3.Krispy Kreme แฟรนไชส์ร้านโดนัทชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องของความหอม หวาน นุ่มละมุนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกาและต่างประเทศ ประเทศไทย เป็นแบรนด์ที่รู้จักกันทั่วโลก ในปัจจุบันมี 890 สาขา ค่าแฟรนไชส์ $275,000 – $1.9 million ซึ่งเกณฑ์การเลือก Franchisee ของ Krispy Kreme ขึ้นชื่อว่าโหด และมีค่าใช้จ่ายมหาศาลต้องมีโดยผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ต้องมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารมาก่อนแล้ว ข้อกำหนดเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการเป็น Franchisee ที่ทำให้หลายคนต้องหันกลับมาคิดอีกรอบ คือ จำนวนเงินทุน ก่อนอื่นต้องจ่าย Franchise Fee เป็นจำนวนเงินขั้นต่ำ 40,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมกับการการันตีว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ 15 ปี การลงทุนในแต่ละสาขาต้องใช้งบประมาณ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ และยังต้องหัก 6.5% จากยอดขายให้กับบริษัทแม่ Krispy Kreme ซึ่งรวมทั้งหมดแล้ว เงินทุนเริ่มต้นสำหรับธุรกิจโดนัทที่ขายในราคาเริ่มต้นชิ้นละ 27 บาท อยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150 ล้านบาท 4.Dairy Queen Dairy Queen ร้านไอศกรีม จากสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศไทยเราด้วย ด้วยจำนวนสาขาทั่วโลกกว่า 6,385 แห่ง แม้ว่าจะเป็นร้านไอศกรีมที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่เชื่อว่ายังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ที่มาที่ไปของ “แดรี่ ควีน” เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นเจ้าของ ใครดูแลในไทย ระดับราคาปานกลางที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อง่าย สามารถเดินทานได้ รสชาติเป็นเอกลักษณ์ และสามารถเลือกผสม ผลไม้ โอรีโอ ถั่ว และเครื่องเคียงต่างๆ ได้ตามต้องการ จึงขยายสาขาไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแดรี่ควีน เป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีร้านแดรี่ควีนทั่วโลกกว่า 6,385 สาขา ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป อเมริกากลาง ตะวันออกไกล ตะวันออกกลาง และแถบเอเชีย รวมถึงไทยด้วย โดยสำนักงานใหญ่ของแดรี่ควีน ตั้งอยู่ที่เมืองมินิอาโปลิส มลรัฐมินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา 5.Dunkin’ Donuts ร้านแฟรนไชส์โดนัทชื่อดังอีกหนึ่งร้านที่มีสาขามากมายในประเทศไทยนั่นก็คือ “Dunkin’ Donuts” ร้านแฟรนไชส์โดนัทสัญชาติอเมริกา จำหน่ายโดนัท แฟนซีโดนัท และเครื่องดื่ม มีร้านมากกว่า 12,000 แห่ง กว่า 40 ประเทศทั่วโลก และยังมีสาขาทั่วประเทศไทย ดังกิ้นโดนัท มีโดนัทแสนอร่อยตามเทศกาล ในประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 36 ปี มีสาขากระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 280 สาขา ใน 47 จังหวัดทั่วประเทศ ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดโดนัท ที่มีการพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น