อาจมีหลายคนที่คิดอยากสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง มากกว่าการสืบทอดธุรกิจกงสีของครอบครัวที่มีอยู่แล้ว เพราะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากที่ต้องรักษาธุรกิจกงสีให้คงอยู่ต่อไป โดยปราศจากความขัดแย้งในครอบครัวที่มีสาเหตุมาจากความต่างวัยของสมาชิกในกงสี ควิกวอชเลยอยากพาทุกคนมาลองปรับมุมมอง และถอดสูตรธุรกิจกงสี ว่ามีวิธีไหนบ้างที่ช่วยให้การบริหารธุรกิจกงสีเป็นเรื่องง่าย แถมยังหมดปัญหาเรื่องความเห็นไม่ตรงกัน ที่ไม่ว่ายุคไหนก็ปรับตัวให้อยู่รอดได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในยุคที่ดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจแบบนี้ เรามาเริ่มถอดสูตรธุรกิจกงสีไปพร้อมกันเลย ธุรกิจกงสี คืออะไร? หากพูดถึงคำว่า “กงสี” ภาพจำของเราที่คุ้นเคยกันดีอาจหมายถึง ธุรกิจของครอบครัวคนจีนที่มาตั้งรกรากในเมืองไทย และสืบสานต่อ ๆ กันมารุ่นสู่รุ่น แต่ถ้าจะนิยามคำนี้ให้เข้าใจโครงสร้างของธุรกิจประเภทนี้จริง ๆ อาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจกงสี คือ ธุรกิจที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในการผลิตการค้าขาย วางแผนกลยุทธ์ สร้างกฎ-กติกา และมีข้อตกลงที่สำคัญที่สุดคือ รายได้จากการทำธุรกิจต้องเก็บรวมไว้ในกงสีหรือกองกลาง เป็นกรรมสิทธิ์รวมของคนในครอบครัวที่แบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน โดยธุรกิจกงสีมักประกอบไปด้วยคนในครอบครัวทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นบุกเบิก เป็นรุ่นของปู่ย่าตายาย (อายุระหว่าง 75-80 ปี) ตัวแทนจากยุค Baby Boomer ที่มักจะมีลักษณะการดำเนินชีวิตแบบทุ่มเททั้งชีวิตให้กับงาน มีความอดทนสูงมาก ประหยัดอดออม เน้นการสร้างรากฐานให้มั่นคงไปถึงยุคลูกหลาน รุ่นสืบทอด เป็นรุ่นของพ่อแม่ (อายุ 50 ปีขึ้นไป) ตัวแทนจากกลุ่ม Gen-X มีช่วงชีวิตในยุคที่สงบสุข มั่งคั่ง และสุขสบาย เริ่มมีการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล มักจะเป็นคนรุ่นเก่า ที่รับข้อมูลจากรุ่นปู่ย่าตายายแล้วนำมาต่อยอดจนมีประสบการณ์ด้านการค้าเป็นอย่างดี มักจะมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ไม่ชอบความเสี่ยง เมื่อประสบความสำเร็จในระดับสูงจึงไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เพราะรู้สึกว่าธุรกิจของตัวเองดีอยู่แล้ว ไม่กล้าทำอะไร ชอบที่จะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย (Comfort Zone) มากกว่า รุ่นพัฒนา เป็นรุ่นของลูกชาย หรือ ลูกสาวคนโต (อายุ 30 ปีขึ้นไป) ตัวแทนจากกลุ่ม Gen-Y มักจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เกิดในยุคออนไลน์เฟื่องฟู ก้าวสู่โลกดิจิทัลที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ได้รับโอกาสเรียนหนังสือระดับปริญญาทั้งในเมืองไทยหรือประเทศ จึงทำให้เกิดแนวคิดอยากเปลี่ยนแปลง อยากให้ธุรกิจมีการพัฒนาหรือใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ด้วยความต่างของวัยทำให้แนวคิดในการทำธุรกิจแตกต่างกันตามไปด้วย ยิ่งในยุคปัจจุบัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว เทคโนโลยียิ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารกิจการในแต่ช่วงวัยมีความสามารถและมุมมองเกี่ยวกับด้านนี้ที่ต่างกัน ส่งผลให้ธุรกิจกงสีจำเป็นต้องปรับตัวมากกว่าธุรกิจประเภทอื่นเป็นพิเศษ การมองหาจุดกึ่งกลางเพื่อนำพาธุรกิจกงสีให้อยู่รอด โดยปราศจากความขัดแย้งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ดังนั้นเราขอแนะนำวิธีที่ช่วยทำให้การบริหารธุรกิจกงสีนั้นง่ายขึ้น และสามารถพัฒนาธุรกิจกงสีให้อยู่รอดและไปต่อได้ วิธีที่ช่วยให้ธุรกิจกงสีไปรอดในยุคดิจิทัล 1. ทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวก่อน เนื่องจากความต่างของวัยเป็นอุปสรรคหลักที่ส่งผลให้การทำธุรกิจต้องสะดุด การพูดคุยกันจึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำหากอยากปรับตัวให้ธุรกิจอยู่รอด การทำงานร่วมกับคนในครอบครัวเดียวกันอาจมีเรื่องอายุเข้ามาเกี่ยวข้อง ความคิดเห็นของเด็กรุ่นใหม่มักจะถูกปัดตกไป เพียงเพราะมีอายุที่น้อยกว่า ถึงแม้บุคคลนั้นจะทำหน้าที่สำคัญให้กับธุรกิจก็ตาม ดังนั้นวิธีที่จะช่วยปรับให้ธุรกิจดูมีแบบแผน และได้รับการพัฒนาด้วยชุดความคิดใหม่ ๆ ธุรกิจกงสีจำเป็น กำหนดบทบาทสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวให้ชัดเจน การกำหนดบทบาท ตำแหน่ง และหน้าที่ในบริษัทให้แก่คนในครอบครัวอย่างชัดเจน จะทำให้คนในครอบครัวได้รู้ว่าตัวเองมีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านไหน ตำแหน่งอะไร ซึ่งผู้นำครอบครัวควรพิจารณาให้เหมาะสมกับทักษะความสามารถของแต่ละคน มากกว่าการให้คนในครอบครัวเลือกตำแหน่งที่ต้องการกันเอง ยึดตามหลักคิดใช้คนให้ถูกกับงาน ธุรกิจถึงจะพัฒนาไปต่อได้ แต่ถึงจะมีการกำหนดบทบาทแล้ว คนที่มีประสบการณ์น้อยกว่าก็ควรรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาก่อน ซึ่งผู้ใหญ่ก็ควรเปิดใจรับฟังคนรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงทางธุรกิจ ที่คอยแชร์ความรู้และให้คำปรึกษา พร้อมทั้งรับฟังสิ่งใหม่อย่างไม่ปิดกั้น เพียงเท่านี้ก็สามารถเบาใจเรื่องความขัดแย้งในเรื่องการทำงานภายในกงสี และการแสดงความคิดเห็นไปได้บ้าง แล้วต่อไปเราถึงสามารถลุยต่อกับการพัฒนาธุรกิจกงสีให้ยั่งยืนได้ 2. ขอความร่วมมือทุกคนเปิดใจศึกษาสื่อสมัยใหม่ ยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไป การหยิบยกสื่อแต่ละประเภทมาใช้ในการทำธุรกิจก็เปลี่ยนแปลงตาม สิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรสื่อสารให้คนรุ่นเก่าฟังคือ สื่อหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ เป็นสื่อที่เริ่มจางไปในยุคนี้ สมัยก่อนธุรกิจอาจใช้ประโยชน์จากสื่อดั้งเดิมเหล่านั้นในการต่อยอดธุรกิจ แต่ในสมัยนี้ทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป กลุ่มลูกค้าของธุรกิจได้แยกย้ายและกระจายไปอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ธุรกิจต้องปรับตัวเข้าหาสื่อออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม โดยอาจจะปรับสัดส่วนจากสื่อเก่า ๆ มาใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ที่มีกลุ่มลูกค้าใช้เวลากับโทรศัพท์แทบจะทั้งวันจะดีกว่า เมื่อผู้บริหารรุ่นเก่าเริ่มเปิดใจและมองเห็นความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ค่อยชี้ชวนเพื่อพูดคุยถึงการตลาดโซเชียลมีเดียเป็นลำดับถัดไป บอกให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียและผลประโยชน์ เพื่อให้เขาได้ลองพิจารณาเพิ่มเติม โดยอาจยกตัวอย่างเคสธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาเล่าให้พวกเขาได้เห็นภาพมากขึ้น หากทำตามวิธีที่แนะนำไปก็จะช่วยให้การพัฒนาธุรกิจ เริ่มมีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้น และลดปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดจากความไม่เข้าใจได้อีกด้วย 3. ทำทุกอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ทุกย่างก้าวของการทำธุรกิจอาจไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยเฉพาะธุรกิจกงสี ในช่วงแรกที่เราคิดจะเข้าไปพัฒนา อาจเกิดความขัดแย้งมากมายที่มาจากอคติของแต่ละคน หากเราใจร้อนและบุ่มบ่าม อาจทำให้เราเกิดความรู้สึกอึดอัดที่จะทำธุรกิจนี้ร่วมกับครอบครัว ยิ่งถ้าแย่ไปกว่านั้น เราอาจจะรู้สึกท้อแท้และล้มเลิกความคิดในการทำธุรกิจได้ ดังนั้นสิ่งสุดท้ายที่เราอยากแนะนำให้คุณทำหากอยากให้ธุรกิจกงสีนี้ไปรอด คือ ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป หากทุกคนในครอบครัวมีเจตนาที่ดี ที่อยากช่วยกันสานต่อธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าแล้ว การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะส่งผลที่ดีตามมาอย่างแน่นอน เพียงแค่ขอให้ทุกคนใจเย็นพอที่จะรอดูความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นร่วมกันเท่านั้น และธุรกิจกงสีที่ร่วมสร้างกันมาอย่างยาวนาน ก็จะสามารถสืบทอดกันต่อไปได้อย่างยั่งยืน การทำงานร่วมกับครอบครัวอาจมีปัจจัยอีกมากมายที่ส่งผลกระทบต่อการเดินหน้าของธุรกิจ แต่เราเชื่อว่า เพียงแค่ยึดหลัก 3 ข้อนี้ บวกกับใจที่พร้อมจะสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า ไม่ว่าอย่างไร ธุรกิจกงสีก็จะยังคงรอดไปต่อได้ ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม ครั้งหน้าควิกววอชจะมีแง่มุมธุรกิจอะไรดี ๆ มาฝากอีก กดติดตามไว้เลย ส่วนใครที่สนใจลงทุนกับธุรกิจที่พร้อมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ร่วมบริหารเหมือนคนในครอบครัว ก็ฝากโมเดลธุรกิจพาร์ทเนอร์และแฟรนไชส์ของ Quickwash ไว้เพื่อพิจารณา แล้วมายกระดับแบรนด์ล้างรถอัตโนมัตินี้ไปด้วยกัน อ่านรายละเอียดการลงทุนเพิ่มเติม คลิกด้านล่างเลย
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะมีความคิดที่อยากจะมีธุรกิจสักอย่างเป็นของตัวเอง ยิ่งมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการสร้างธุรกิจด้วยแล้ว ความคิดที่อยากจะเป็นนายตัวเองน่าจะยิ่งชัดเจนมากขึ้น แต่บางคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ไม่รู้จะทำธุรกิจอะไรให้สามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ควิกวอชเลยจะพาทุกคนมาทำความรู้จักธุรกิจที่น่าสนใจ พร้อมแนะนำเคล็ด(ไม่)ลับในการสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคใหม่ให้แบบจัดเต็ม เตรียมกระดาษปากกาให้พร้อมจด แล้วมาเริ่มกันเลย! ทำความรู้จักลูกค้ายุคใหม่ ถ้าคุณยังไม่มีธุรกิจในใจ การเริ่มคิดธุรกิจจากกลุ่มลูกค้าก็เป็นหนึ่งไอเดียที่ช่วยให้การสร้างธุรกิจง่ายขึ้น การที่เราเข้าใจและมองเห็นภาพของลูกค้าชัดเจน จะช่วยให้เราเลือกธุรกิจที่เป็นที่ต้องการของลูกค้า และวางกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ดังนั้นเราจะมาศึกษา 4 พฤติกรรมและมุมมองของลูกค้ายุคใหม่ที่ควรรู้ไว้ ถ้าอยากให้ธุรกิจไปรอดในยุคนี้กัน ลูกค้าให้ความสำคัญกับคุณภาพ นอกจากคุณภาพของสินค้าและบริการ ลูกค้ายังให้ความสำคัญกับคุณภาพของแบรนด์อีกด้วย หากจะทำธุรกิจในยุคนี้ให้ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีความน่าเชื่อถือ เผยมุมมองและความคิดหลาย ๆ อย่างที่ทันสมัย ดีไซน์ของสินค้าและบริการต้องได้มาตรฐาน ดึงดูดความสนใจ เพราะนั่นก็จัดเป็นหนึ่งในคุณภาพของแบรนด์เช่นกัน ลูกค้าชอบทดลองสิ่งใหม่ ในยุคที่มีธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย การสร้างแบรนด์ให้แตกต่างจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะทำให้แบรนด์ของคุณ Unique ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์สักหน่อย ดึงจุดเด่นของธุรกิจออกมาสักนิด สร้างความตื่นเต้นเพื่อเรียกลูกค้าให้หันมาสนใจ พยายามสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ที่ในตลาดมีน้อยหรือยังไม่มี หรืออาจจะนำสินค้าที่มีอยู่แล้วมาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ Pain Point ให้กับลูกค้าได้ ก็เป็นไอเดียที่ดีไม่น้อยเช่นกัน ลูกค้าให้ความสำคัญกับที่มาที่ไปของสินค้า ในยุคนี้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข่าวสาร บทความและงานวิจัยต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นผ่านโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าเริ่มให้ความสำคัญกับที่มาของสินค้าและบริการมากขึ้น อย่างเช่น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กรรมวิธีต่าง ๆ รวมไปจนถึงข้อมูลการขนส่งไปจนถึงมือลูกค้า แบรนด์จึงควรมอบความจริงใจให้กับลูกค้า ไม่ขายสรรพคุณเกินจริง เน้นการรีวิวให้เห็นแบบชัดเจน จึงจะสามารถสร้างความเชื่อใจให้กับลูกค้าได้ ลูกค้าชอบความสะดวกรวดเร็ว ธุรกิจที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบายมีชัยไปกว่าครึ่ง! ไม่ว่าจะขั้นตอนการซื้อ การใช้บริการ หรือการชำระเงิน หากธุรกิจของเรามีเครื่องมือที่ช่วยลดขั้นตอน และประหยัดเวลาให้กับลูกค้าได้ก็จะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น การโปรโมทหรือทำคอนเทนต์ขายทางช่องทางออนไลน์ก็ต้องใช้ถ้อยคำหรือคำพูดที่ทำให้เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว กระชับ ไม่ยืดเยื้อ หยุดนิ้วลูกค้าให้อยู่กับสินค้าและบริการของธุรกิจของเราให้ได้ พอได้รู้พฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่แบบนี้แล้ว ก็น่าจะช่วยให้เราเลือกธุรกิจได้ตรงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น และมีแนวทางในการสร้างธุรกิจให้ยั่งยืนได้ คราวนี้ควิกวอชจะขอชี้ช่องทางว่า ธุรกิจไหนบ้างที่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ให้ทุกคนเก็บไว้ประกอบการตัดสินใจ มาดูไปพร้อมกันเลย ธุรกิจน่าสนใจที่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ธุรกิจออนไลน์ E-Commerce ธุรกิจการค้าปลีกออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเพื่อการค้ายอดนิยมต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada รวมถึงการทำ Affiliate Link ก็จัดเป็นธุรกิจที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคใหม่ที่ชอบความสะดวกสบาย ซื้อขายได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ไม่ว่ายุคไหนก็ยังได้รับความสนใจจากลูกค้าทุกกลุ่ม แต่การทำแบรนด์ด้านอาหารและเครื่องดื่มในยุคนี้ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพอาหาร ความสะอาด และความรวดเร็ว เพราะลูกค้ายุคใหม่จะเป็นผู้ชี้ชะตาอนาคตธุรกิจของผ่านการรีวิว ถ้าลูกค้าเขียนความคิดเห็นที่ดีก็จะทำให้ร้านของคุณเป็นที่นิยมได้ แต่ถ้าลูกค้าได้รับประสบการณ์การซื้อหรือใช้บริการที่ไม่ดีแล้วนำไปรีวิว ก็อาจจะทำให้ร้านคุณเสียหายไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว ธุรกิจรับทำคอนเทนต์ออนไลน์ หลังจากช่วงโควิด – 19 ทำให้หลายคนได้ลองสร้างสรรค์คอนเทนต์ลงในช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะ Tiktok แอปพลิเคชันที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ ทุกแบรนด์ในตลาดเริ่มปรับตัวและสร้างช่องของตัวเองใน Tiktok แบรนด์ที่ไม่ถนัดสร้างคอนเทนต์เอง จึงใช้บริการธุรกิจรับทำคอนเทนต์ ในการสร้างการรับรู้ให้สินค้าผ่านคอนเทนต์สุดสร้างสรรค์ต่าง ๆ จนแบรนด์เป็นไวรัล และฟื้นตัวได้ ซึ่งกลุ่มธุรกิจรับทำคอนเทนต์นี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นที่ต้องการอย่างมากในอนาคต ใครที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบคิดอะไรแปลกใหม่ ธุรกิจนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน แถมยังใช้ต้นทุนไม่สูงมากอีกด้วย ธุรกิจขนส่ง เดลิเวอรี หรือโลจิสติกส์ การเติบโตของธุรกิจ E-commerce ที่มากขึ้น ทำให้ผู้คนหันมาซื้อขายออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการส่งสินค้าผ่านระบบขนส่งต่างๆ ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุนในอนาคต ธุรกิจเกี่ยวกับความงามและการดูแลตัวเอง ธุรกิจด้านความงาม โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอาง ได้รับความนิยมอยู่แล้วในกลุ่มลูกค้าผู้หญิงไม่ว่าจะยุคไหนก็ตาม ยิ่งหลังจากที่สถานการณ์โควิด – 19 ดีขึ้นแล้ว คลินิกเสริมความงามจึงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง หากใครสนใจทำธุรกิจกลุ่มนี้ ก็สามารถวางใจในเรื่องรายได้และยอดขายได้เลย ถ้าทำการตลาดดี ๆ ยอดปังแน่นอน แต่ที่ความสำคัญกว่านั้น ควรคำนึงถึงคุณภาพสินค้าและบริการเป็นอันดับหนึ่ง เพราะลูกค้ายุคใหม่เขาให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพและที่มาของสินค้าเป็นอย่างแรกเลย ธุรกิจด้านการสอนแบบออนไลน์ โควิด – 19 ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ลูกค้าให้กลายเป็นคนอยู่ติดบ้านมากขึ้น ไม่อยากออกไปไหน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน ธุรกิจการสอนออนไลน์จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ช่วยให้ลูกค้าได้พัฒนาตัวเองง่าย ๆ ที่บ้าน สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง ธุรกิจนี้เน้นใช้สกิลความสามารถที่มี มากกว่าเงินทุน ใครที่อยากลองเริ่มทำธุรกิจที่ใช้เงินทุนต่ำ ก็สามารถเริ่มจากธุรกิจนี้ได้ง่าย ๆ เพียงเริ่มจากการทำคอนเทนต์สอนหรือแนะนำวิธีต่าง ๆ ลงทางช่องออนไลน์ ถ้าได้รับผลตอบรับที่ดีแล้วจึงค่อยต่อยอดขยายธุรกิจให้มีมาตรฐานมากขึ้นต่อไป 7. ธุรกิจด้านเเฟรนไชส์ ธุรกิจสุดท้ายที่เราอยากแนะนำคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างที่เราแนะนำไปข้างต้นว่าลูกค้ายุคใหม่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ การที่เราเลือกลงทุนกับธุรกิจที่มีภาพลักษณ์ที่ดี และติดตลาดอยู่แล้วก็จะช่วยให้การเริ่มธุรกิจของเราง่ายยิ่งขึ้น และทำให้รู้สึกสบายใจเรื่องยอดขายได้มากกว่า ดังนั้นจึงควรเลือกลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์กับแบรนด์ที่มีมาตรฐาน และให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่ได้รับความเชื่อใจจากลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง และทั้งหมดนี้คือธุรกิจที่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ที่ควิกวอชอยากเอามาฝากทุกคน ไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเริ่มทำธุรกิจเป็นของตัวเอง และควิกวอชขอแนะนำอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจและตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ไม่แพ้ใคร นั่นก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ของ Quickwash แบรนด์ร้านล้างรถอัตโนมัติ No.1 ในใจลูกค้า มั่นใจได้ในคุณภาพและประสบการณ์ที่เราสั่งสมมา ตอบโจทย์ทั้งลูกค้ายุคใหม่ที่ต้องการความรวดเร็ว เพราะล้างไวภายใน 7 นาที และตอบโจทย์นักธุรกิจมือใหม่ที่ต้องการสูตรสำเร็จในการสร้างธุรกิจ บริหารจัดการง่าย ไม่ต้องปวดหัวเรื่องคน หากสนใจลงทุนกับเรา คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างได้เลย
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจแรกที่คนในสังคมปัจจุบันนึกถึงเมื่อคิดอยากจะเริ่มทำธุรกิจคือ ธุรกิจออนไลน์ ควิกวอชเลยจะพาทุกคนมาทำความรู้จักธุรกิจประเภทนี้ และหาคำตอบไปพร้อมกันว่า ทำไมธุรกิจออนไลน์จึงเติบโตและเป็นที่นิยมได้มากขนาดนี้กัน ธุรกิจออนไลน์ คืออะไร? ธุรกิจออนไลน์ เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ซึ่งมักจะเป็นการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า E-Commerce โดยส่วนใหญ่จะดำเนินการขายผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, Facebook page, Instagram หรือแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในช่วงหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 อย่าง Shopee, LAZADA และ Tiktok Shop โดยประเภทของธุรกิจออนไลน์นั้นมีความหลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขายอาหารออนไลน์ ธุรกิจสายสุขภาพ ธุรกิจบันเทิงสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ หรือการทำการตลาดแบบ Affiliate ที่แม้ไม่มีสินค้าก็สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาได้ จากข้อมูลของบริษัทวิจัยด้านการตลาดอย่าง eMarketer ได้ทำการสำรวจว่า ในปี 2020 ที่โลกเจอกับ COVID-19 เต็มรูปแบบครั้งแรก ปรากฎว่ายอดขายสินค้าออนไลน์ทั่วโลก (Retail E-Commerce Sales) มีมูลค่าสูงถึง 4.2 ล้านล้านดอลลาร์ เติบโตถึง 26% สวนทางกับยอดขายหน้าร้านทั่วโลก (Retail Sales) ที่ติดลบราว 3% ในขณะที่ในปี 2021 มูลค่ายอดขายสินค้าออนไลน์ทั่วโลกจะเติบโตสูงขึ้นไปอีกที่ 17% และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องไปอีกเฉลี่ยปีละ 11% ยาวไปจนถึงปี 2025 เลยทีเดียว ซึ่งข้อมูลชุดนี้ช่วยยืนยันว่าธุรกิจออนไลน์เป็นธุรกิจที่กำลังมาแรง และเติบโตอย่างต่อเนื่องจริงๆ เราจึงอยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่าทำไมธุรกิจออนไลน์ถึงเติบโตได้มากขนาดนี้กัน ทําไมธุรกิจออนไลน์จึงเติบโตและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน? 1. ซื้อขายง่าย ๆ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต เหตุผลแรกที่ทำให้ธุรกิจออนไลน์เป็นที่นิยมและเติบโตไว คือ ปัจจุบันเป็นยุคแห่งดิจิทัล ยุคที่ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้การซื้อขายสินค้าและบริการเป็นเรื่องง่ายตามไปด้วย ตอบสนองความต้องการความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้ซื้อสามารถเข้าถึงสินค้าได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพียงปลายนิ้วคลิกเข้าแอปพลิเคชัน หรือเว็ปไซต์ต่าง ๆ โดยไม่ต้องเสียเงินและเวลาเพื่อไปหน้าร้าน และผู้ขายสามารถสร้างธุรกิจได้ง่าย ๆ สามารถตอบโต้กับลูกค้าได้ตลอดเวลาเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต และไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ซึ่งนั่นนำไปสู่เหตุผลข้อที่สอง 2. ธุรกิจออนไลน์ต้นทุนต่ำ กำไรสูง อย่างที่บอกไปในข้อแรกว่าเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถสร้างธุรกิจออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องหาเช่าพื้นที่หน้าร้าน สามารถบริหารกิจการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้เลย แถมยังสามารถเริ่มธุรกิจได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียค่าจ้างคน นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในเรื่องหน้าร้านและแรงงานได้แล้ว ธุรกิจออนไลน์บางประเภทยังไม่จำเป็นต้องเสียเงินสั่งสต็อคสินค้าไว้กับตัว ยกตัวอย่างเช่น การทำตลาดแบบ Affiliate เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ใช้การรีวิว เชิญชวน หรือแนะนำสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านลิงก์ที่กำหนดไว้ หากมีคนกดเข้าไปซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว ผู้ที่แนะนำก็จะได้รายได้กลับมาในรูปแบบค่าคอมมิชชั่น ธุรกิจออนไลน์จึงจัดเป็นธุรกิจที่ใช้ทุนทรัพย์น้อยในการสร้างธุรกิจ และมีลู่ทางในการสร้างกำไรได้ค่อนข้างสูง 3. สร้างยอดขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง การนำสินค้าของเราไปฝากไว้ในช่องทางการขายออนไลน์ ทำให้ลูกค้าของเราสามารถเข้าถึงสินค้าของเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าตลอด ต่างจากการขายแบบมีหน้าร้านที่จำเป็นต้องสแตนด์บายอยู่กับสินค้าอยู่เสมอ อีกทั้งยังมีเวลาเปิดปิดที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ยอดขายสินค้าน้อยกว่าการขายแบบออนไลน์หลายเท่าตัว ธุรกิจออนไลน์จึงเป็นธุรกิจแรก ๆ ที่นักธุรกิจมือใหม่ตัดสินใจเริ่มทำ 4. มีระบบสำหรับขยายธุรกิจและเพิ่มยอดขาย แต่ละแพลตฟอร์มต่างพัฒนาระบบและลูกเล่นต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการขยายธุรกิจออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น การมีเครื่องมือรายงานสถิติการเข้าชมสินค้าและบริการ ระยะเวลาในการเข้าชม และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ของการทำธุรกิจออนไลน์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เราสามารถวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ของธุรกิจให้ส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมายตัวจริงได้ และช่วยให้เพิ่มยอดขายของเราให้สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ธุรกิจออนไลน์สามารถบริหารได้ง่ายขึ้น และเติบโตอย่างรวดเร็ว 5. สินค้าสามารถกระจายไปได้ทั่วโลก เหตุผลสุดท้ายที่ทำให้ธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างมากในปัจจุบัน คือ ธุรกิจออนไลน์สามารถกระจายสินค้าไปได้ทั่วโลก ผ่านการยิงโฆษณา โดยแต่ละแอปพลิเคชันจะเก็บข้อมูลความสนใจของผู้บริโภคมาใช้สำหรับการโฆษณาสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปกติที่เราทำธุรกิจแบบมีหน้าร้าน เราจะสามารถสร้างการรับรู้ให้กับสินค้าของเราได้เพียงแค่บริเวณใกล้เคียงหน้าร้านเท่านั้น หากสนใจโฆษณาก็ต้องใช้ต้นทุนที่สูง แต่การทำธุรกิจออนไลน์สามารถโฆษณาสินค้าของเราไปได้ไกลมากขึ้น ในราคาที่ถูกกว่า สร้างการรับรู้เป็นวงกว้าง ลูกค้าที่อยู่คนละจังหวัดกันสามารถเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคือสามารถส่งออกต่างประเทศไปทั่วโลกได้อีกด้วย แม้การยิงโฆษณาออนไลน์จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก ขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัย แต่ถ้าหากวางแผนไม่ดีก็อาจทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรวางแผนการใช้เงินในส่วนนี้ให้รอบคอบและคุ้มค่าที่สุด จากเหตุผลทั้งหมดที่บอกไปก็อาจจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่าเพราะอะไร ธุรกิจออนไลน์จึงเติบโตและเป็นที่นิยมในหมู่นักธุรกิจมือใหม่ได้มากขนาดนี้ ใครที่กำลังลังเลว่าจะทำธุรกิจออนไลน์ดีไหม? หวังว่าหลังจากอ่านบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ส่วนใครที่มีพื้นที่ หรือ มีเงินทุนแต่ไม่รู้จะเริ่มทำธุรกิจอะไรดี ควิกวอชขอนำเสนอธุรกิจที่บริหารจัดการง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ รายงานยอดขายแบบเรียล์ไทม์ ไม่ต้องปวดหัวเรื่องจัดการคน อย่างธุรกิจร้านล้างรถอัตโนมัติของ Quickwash ไว้พิจารณาอีกหนึ่งธุรกิจ ใครที่สนใจศึกษาโมเดลธุรกิจของควิกวอชเพิ่มเติม คลิกด้านล่างได้เลย!
ความฝันของมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ต้องมีสักแว๊บหนึ่งที่เรานึกถึง การลาออกจากงานประจำไปเป็นเริ่มธุรกิจที่ใฝ่ฝันแล้วได้เป็นนายตัวเอง อิสระทางการทำงานที่เรากำหนดได้ แต่การจะเริ่มทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ ที่ไม่ว่าใครก็อยากมีธุรกิจหรือแบรนด์เป็นของตัวเองจึงไม่ใช่เรื่องง่าย คุณควรตั้งสติ คิดให้รอบคอบ และมองให้รอบด้านก่อนที่ตัดสินใจยื่นใบลาออก ควิกวอชเลยจะพาคุณมาสำรวจความพร้อม และข้อควรรู้ก่อนเริ่มธุรกิจว่าต้องรู้อะไรบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกันเลย 1.สำรวจความพร้อมด้านการเงิน เมื่อคุณตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อเริ่มทำธุรกิจ สิ่งที่คุณต้องเตรียมใจคือ คุณจะขาดรายได้หลัก ที่จะได้รับเป็นเงินก้อนทุกเดือน หรือเงินเดือนนั่นเอง คุณต้องเช็กก่อนเลยว่า คุณมีเงินเก็บส่วนตัวเท่าไหร่? รายจ่ายที่คุณต้องเสียในแต่ละเดือนเท่าไหร่บ้าง? อย่างเช่น ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้านหรือคอนโด รวมถึงหนี้สินจากบัตรเครดิตต่าง ๆ คุณควรเตรียมความพร้อมด้านการเงินโดยการเคลียร์หนี้สินให้ได้มากที่สุดก่อนตัดสินใจลาออก เพื่อลดค่าใช้จ่ายขณะสร้างธุรกิจ คำนวณค่าใช่จ่ายทั้งหมดว่าคุณควรหาเงินต่อเดือนเท่าไหร่ เพื่อให้ธุรกิจที่คุณจะเริ่มทำ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด เมื่อสามารถวางใจเรื่องหนี้สินได้แล้ว สิ่งที่คุณต้องเตรียมให้พร้อมต่อมาคือ เงินลงทุน แน่นอนว่าไม่ว่าจะเริ่มธุรกิจไหน ก็ต้องใช้เงินสักก้อนแน่นอน คุณควรสำรวจเงินทุนส่วนตัวว่ามีมากน้อยแค่ไหน? เหมาะสมกับธุรกิจที่อยากทำหรือไม่? และเงินนั้นมากพอในการขยายธุรกิจระยะยาวไหม? ต้องใช้เงินทุนอีกเท่าไหร่? ศึกษาหรือมองหาแหล่งเงินทุนอื่นไว้บ้างหรือยัง? และที่สำคัญที่สุดคือ การลงทุนมีความเสี่ยง คุณควรมีเงินเก็บฉุกเฉินไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากเริ่มสร้างธุรกิจไปแล้ว เพราะมีปัจจัยมากมายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อธุรกิจของเราได้ คุณจึงควรสำรองเงินส่วนนี้ไว้ และควรมองหาแหล่งเงินทุนที่เราสามารถหยิบยืม หรือกู้มาเพื่อประคองธุรกิจของเราได้ ในกรณีที่เกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น 2.สำรวจความชอบของตัวเอง เงินพร้อม ใจต้องพร้อมด้วย หากคิดจะทำธุรกิจให้ยั่งยืน ส่วนที่สำคัญอันดับต้น ๆ นั่นก็คือ แพสชั่น (Passion) หรือความหลงไหลในบางสิ่งบางอย่าง ถ้าเราได้ทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราชอบ อาจทำให้ธุรกิจของเราไปได้ไกลและอยู่ยาวมากยิ่งขึ้น โดยไม่รู้สึกทดท้อ หมดแรงไปเสียก่อน ซึ่งสิ่งที่ชอบนั้นควรทำเงินให้คุณได้ด้วย แต่ถ้าความชอบของคุณมีมากมายจนไม่รู้จะเลือกทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร ก็สามารถหยิบจับความถนัด หรือสามารถพิเศษที่คุณมีมาต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ เช่น คุณเป็นคนชอบทำอาหาร ก็เริ่มจากการทำธุรกิจร้านอาหารจัดส่งพื้นที่ใกล้บ้าน ส่งเดริเวอรี่ในแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ หรือถ้าหากคุณชอบดูแลรถยนต์ ก็เริ่มจากการทำธุรกิจคาร์แคร์ แต่งรถ หรือธุรกิจร้านล้างรถเล็ก ๆ หากธุรกิจเริ่มเข้าที่ และมีแนวโน้มที่จะขยายธุรกิจต่อไปได้ ถึงตอนนั้น คุณค่อยเริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ และพัฒนาทักษะในการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตต่อไป แต่ถ้าสุดท้ายแล้วคุณตัดสินใจไม่ได้ว่าจะลงทุนทำธุรกิจอะไร และความถนัดของตัวเองก็หลากหลาก การหยิบยกธุรกิจของครอบครัวที่เคยทำมาแล้วแต่เลิกทำไป หรือธุรกิจกงสีของครอบครัว มาปรับและต่อยอดด้วยวิธีใหม่ ๆ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย เพราะคุณจะได้ผู้มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำตลอดเส้นทางการสร้างธุรกิจของคุณ ให้สามารถวางแผนธุรกิจได้รอบคอบมากขึ้น และไม่ผิดพลาดซ้ำรอยเดิม 3.ทำความรู้จักธุรกิจแต่ละประเภท ก่อนที่เราจะเริ่มลงทุน ไม่ว่ากับธุรกิจไหนก็ตาม เราควรศึกษาความแตกต่าง จุดคุ้มทุน และข้อดีข้อเสียของธุรกิจแต่ละประเภทนั้นก่อน เปรียบเทียบว่าธุรกิจไหนบ้างที่เป็นธุรกิจน่าลงทุน มองเห็นอนาคตที่ยั่งยืนจากธุรกิจนั้นหรือไม่ อย่างเช่น ทำธุรกิจอะไรดี? กลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร? มีหน้าร้านหรือทำเป็นออนไลน์ดีกว่ากัน? ถ้าอยากเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-Up) ต้องทำอย่างไรบ้าง? สร้างความเติบโตอย่างรวดเร็วได้อย่างไรบ้าง? มีความแตกต่างจากการลงทุนกับ ธุรกิจSME (Small and Medium Enterprises) อย่างไร? ธุรกิจSMEยอดฮิตมีอะไรบ้าง? ถ้าการเริ่มนับหนึ่งในการสร้างธุรกิจมันยาก ใครที่สามารถช่วยเราได้บ้าง? ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร? แบรนด์ที่เราสนใจจะลงทุนด้วยเป็นอย่างไร? ซื้อแฟรนไชส์จะสำเร็จเร็วกว่าการสร้างธุรกิจเองจริงไหม? ถ้าซื้อแฟรนไชส์มาทำจะไปรอดไหม จุดคุ้มทุนอยู่ที่ปี? โอกาสและอุปสรรคที่จะขัดขวางธุรกิจมีอะไรบ้าง? ถ้าคุณศึกษาข้อมูลมากพอ และสามารถตอบคำถามได้ครบทุกข้อ การเริ่มธุรกิจก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แถมยังสามารถวางแผนธุรกิจในระยะยาวได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 4.สำรวจเทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจ เทรนด์ธุรกิจในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณต้องศึกษาและตามเทรนด์ที่ตลาดต้องการให้ทัน พยายามสำรวจว่าอะไรที่กำลังเป็นกระแส และอันไหนที่สามารถหยิบจับมาต่อยอดกับธุรกิจของตัวเองได้บ้าง ยิ่งถ้าคุณยังไม่รู้ว่าจำเริ่มทำธุรกิจหรือลงทุนอะไรดี การเลือกสิ่งที่กำลังเป็นกระแสมาทำธุรกิจก็จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้นได้เช่นกัน อาจจะเริ่มจากธุรกิจออนไลน์ แล้วจึงขยายให้เติบโตมากยิ่งขึ้น แต่การสร้างธุรกิจจากกระแสความนิยมของคนส่วนใหญ่อาจไม่ยั่งยืนนัก เพราะเมื่อความนิยมหรือเทรนด์เปลี่ยนไป หรือเจอคู่แข่งในสายธุรกิจเดียวกันที่มาแรงกว่า อาจทำให้ธุรกิจของเราเจอกับทางตันได้ ดังนั้นเราควรมีแผนสำรองไว้เพื่อปรับตัวให้ธุรกิจไปต่อได้ และที่สำคัญคุณควรสร้างความแตกต่าง จุดเด่น และมองหาความ Unique ของธุรกิจของคุณให้เจอ เพื่อวางจุดยืนของธุรกิจให้มั่นคง หมดกังวลเรื่องตกเทรนด์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 5.ศึกษาการวางแผนและบริหารจัดการธุรกิจ สิ่งสุดท้ายที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มสร้างธุรกิจคือ การวางแผนธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะเลือกลงทุนกับธุรกิจอะไร การเขียนแผนธุรกิจและวางเป้าหมายนั้นสำคัญมาก เพราะเงินทุนก้อนนี้คุณไม่ได้เอามาทำอะไรเล่น ๆ แล้วทิ้งให้มันเสียหาย หรือปล่อยให้เจ๊งไปง่าย ๆ การเขียนแผนธุรกิจจะทำให้เราสามารถดำเนินธุรกิจไปอย่างมีแบบแผนขั้นตอน และสามารถสร้างการเติบโตของกำไรให้กับธุรกิจได้ด้วย นอกจากวางแผนแล้ว การทำให้เป็นไปตามแผนก็สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อธุรกิจนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการบริหารจัดการของคุณแล้ว คุณจำเป็นต้องเพิ่มทักษะด้านการบริหารจัดการธุรกิจให้กับตัวเอง และถ้าหากคุณไม่ได้จบการศึกษาหรือมีประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารงานมา ยิ่งควรเร่งศึกษาและพัฒนาทักษะในด้านนี้ให้มั่นใจก่อนเริ่มธุรกิจ เพราะเมื่อเริ่มธุรกิจไปแล้วอาจจะมีปัญหามากมายให้คุณต้องจัดการ อย่างเช่น การบริหารจัดการคน แรงงานในการสร้างธุรกิจ การบริหารเงินทุน วิธีจัดการหาพันธมิตรทางการค้าหรือ Supplier การบริหารเวลา หรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทักษะการบริหารหรือเคล็ดลับการลงทุนเหล่านี้ คุณสามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นด้วยตัวเองได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต คลิปวิดีโอถอดรหัสธุรกิจเจ้าของธุรกิจชื่อดังแบรนด์ต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ หรือสามารถสมัครคอร์สเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อเรียนรู้ให้อย่างละเอียด และปรับใช้ได้จริงก็ได้เช่นกัน เห็นไหมว่า การเริ่มธุรกิจและเป็นเจ้านายตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่คิดจะทำก็ทำได้เลย แต่ก็เป็นไปได้ไม่ยากนัก หากเราศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดมากพอ เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่คิดจะเริ่มธุรกิจเป็นตัวเองสามารถทำตามความฝันได้สำเร็จ สำหรับใครที่มีความพร้อมด้านการเงิน และอยากลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่าง แต่เลือกไม่ถูกว่าจะทำธุรกิจอะไร ลองศึกษาธุรกิจพาร์ทเนอร์และแฟรนไชส์ของ Quickwash ดูก่อนได้ ธุรกิจล้างรถอัตโนมัติของเราเป็นธุรกิจที่เตรียมความพร้อมไว้ให้คุณแล้ว บริหารจัดการง่าย คืนทุนไว ใช้คนน้อย ไม่ต้องปวดหัวเรื่องการบริหารจัดการคน เราพร้อมซัพพอร์ตและคอยช่วยเหลือธุรกิจของคุณตลอดอายุสัญญา ในครั้งหน้าเราจะเอาเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจเรื่องไหนมาฝากอีก กดติดตามไว้ได้เลย
เราทุกคนรู้ดีว่าการเริ่มทำธุรกิจ เพื่อสร้างตัวและเป็นเจ้านายตัวเองนั้น มีปัจจัยสำคัญอยู่หนึ่งอย่างที่ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้ว เราจะไม่สามารถสร้างธุรกิจใดได้เลย สิ่งนั้นก็คือ “เงินทุน” ซึ่งไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ เงินทุนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะช่วยต่อยอดไอเดียต่าง ๆ ให้เป็นรูปเป็นร่างและสามารถดำเนินธุรกิจนั้นต่อไปได้อย่างไม่สะดุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากว่าธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-Up) คุณยิ่งจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนบ่อใหญ่เพื่อใช้สำหรับขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ในอนาคตต่อไป แต่จะมีแหล่งเงินทุนไหนบ้างที่คุณศึกษาไว้บ้าง ควิกวอชจะพามารู้จักแหล่งเงินทุนสำหรับชาว Start Up ไปพร้อมกัน แหล่งเงินทุนที่ 1 : ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เงินทุนแหล่งแรกที่ชาวสตาร์ทอัพต้องทำความรู้จักก็คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) หรือที่คนในวงการธุรกิจส่วนใหญ่เรียกด้วยตัวย่อว่า “VC” นักลงทุนในรูปแบบขององค์กรระดมทุน ที่มักจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นส่วน (Partners), นักค้นคว้าและวิจัยข้อมูล (Researchers), และ นักวิเคราะห์ (Analyst) เพื่อคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพที่เหมาะสมที่สุดในการร่วมลงทุนด้วย และยังคอยให้คำปรึกษา แนะนำแนวทาง รวมถึงให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3-5 ปี โดยจะเริ่มลงทุนตั้งแต่ระยะแรกกับบริษัทที่มองเห็นว่ามีศักยภาพและโอกาสในการเติบโต (High Growth) ระยะยาวต่อไปได้ ซึ่งการลงทุนมักจะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “High Risk, High Return” หรือ “เสี่ยงมาก-ผลตอบแทนมาก” ซึ่งผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ มักจะได้ Ownership ในหุ้นของบริษัท และได้ที่นั่งในบอร์ดบริหารอีกด้วย แหล่งเงินทุนแบบ VC มักจะสนับสนุนธุรกิจหรือบริษัทที่มี 3 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจที่กำลังเริ่มก่อตั้งในช่วงระยะเริ่มต้น ธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการ หรือต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่ บริษัทที่ต้องการเข้าซื้อหุ้นของกิจการหนึ่งๆโดยใช้เงินที่กู้ยืมเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ (Leveraged Buyout หรือ Management Buyout) แหล่งเงินทุนที่ 2 : นักลงทุนอิสระ (Angel Investor) นักลงทุนอิสระมักจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “ผู้มีความมั่งคั่งพิเศษ (High Net Worth Investors)” โดยนักลงทุนกลุ่มนี้จะใช้เงินของตัวเองในการลงทุน ซึ่งแตกต่างจาก VC ทำให้เงินทุนที่มีไม่สูงมากนัก เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้เงินลงทุนไม่กี่ล้านบาท มักจะช่วยลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะเริ่มต้น ไม่ได้หวังเพียงแค่เงินเป็นค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่จะคอยช่วยเหลือ และใช้ประสบการณ์ในด้านการบริหารช่วยโอบอุ้มธุรกิจให้อยู่รอด พัฒนาได้ด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จ สามารถเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นนักลงทุน Angle กลุ่มนี้จึงมักจะได้ที่นั่งในการเป็นผู้บริหารขององค์กร หรือบริษัทสตาร์ทอัพนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย แหล่งเงินทุนที่ 3 : เงินทุนสนับสนุนจากโครงการภาครัฐ (Government Grant) ภาคธุรกิจของประเทศยังคงขับเคลื่อนและก้าวต่อไปส่วนหนึ่งนั้นได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยภาครัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจในด้านของแหล่งเงินทุน เพื่อที่จะให้นักธุรกิจหน้าใหม่ หรือเหล่าชาวสตาร์ทอัพได้เติบโตต่อไปได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ช่วงต้นของการทำธุรกิจ ภาครัฐมีโครงการลักษณะอบรมจัดทำแผนธุรกิจ (BMC) และ Pitching เพื่อชิงเงินทุนพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และทดลองผลิตเชิงพาณิชย์ออกสู่ตลาด 2.ช่วงกลางของการทำธุรกิจ เมื่อเริ่มวางขายแล้ว จะมีอีกหลายโครงการเข้ามาสนับสนุน เช่น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) หรือขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก OTOP สมัครสมาชิกของ สสว. เพื่อรับสิทธิพิเศษในการช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การอบรม ออกงานแสดงสินค้า ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินทุนในหลายๆ ด้านได้เป็นอย่างดี 3.ช่วงติดปีกของการทำธุรกิจ หากมีผลิตภัณฑ์พร้อมต่อยอด พร้อมขยายธุรกิจ ก็มีอีกหลายหน่วยงานของภาครัฐที่จะมาช่วยเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) แหล่งเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นต้น แหล่งเงินทุนที่ 4 : การระดมทุน (Crowdfunding) แหล่งเงินทุนสุดท้ายการระดมเงินทุนจากคนจำนวนมากทั่วโลกผ่านแพลตฟอร์มบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า “Funding Portal” ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของเหล่าผู้ประกอบการนั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จำนวนมาก โดย Crowdfunding นั้นมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1.Donation Crowdfunding เป็นการระดมทุนและให้การสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่มักได้รับการร่วมระดมทุนคือ ธุรกิจที่เน้นช่วยเหลือสังคม หรือที่เรามันจะคุ้นเคยในนาม “องค์กรการกุศล” 2.Reward Crowdfunding เป็นการสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยผลตอบแทน เปรียบเสมือนการพรีออเดอร์ (Pre-Order) ที่จะทำการระดมเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจนำเงินไปสร้างสินค้าและบริการก่อน โดยผู้ระดมทุนจะได้รับสินค้าและบริการที่ผลิต หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสินค้านั้นตอบแทนในอนาคต 3.Equity Crowdfunding นักลงทุนจะมีสิทธิในหุ้นของกิจการที่นักลงทุนให้เงินลงทุนไป โดยนักลงทุนจะได้รับหุ้นแลกกับเงินทุน พร้อมโอกาสในการได้รับเงินปันผลจากธุรกิจในอนาคต 4.Peer to Peer Lending (P2P Lending) เป็นรูปแบบที่คล้ายกับสินเชื่อส่วนบุคคล เสมือนเป็นการขอสินเชื่อที่ผู้กู้มาขอระดมทุนจากนักลงทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า โดยระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะมีสัญญากู้ยืม และทำการชำระคืนเป็นงวด ๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา และทั้งหมดนี้คือ 4 แหล่งเงินทุนดี ๆ ที่ควิกวอชอยากแนะนำให้ชาว Start Up ได้รู้จักกัน ซึ่งการลงทุนในยุคสมัยนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดผันผวนได้ง่าย ส่งผลให้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านมีแนวโน้มที่จะมาลงทุนในธุรกิจ Startup มากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นคงกว่าธุรกิจอื่น แหล่งเงินทุนใหม่ ๆ จึงเกิดขึ้นได้ทุกวัน เหล่านักธุจกิจมือใหม่อย่างเราอย่าเพิ่งหมดหวัง ควิกวอชจะเฟ้นหาสาระดี ๆ แบบนี้มาฝาก พร้อมเป็นกำลังใจให้ทุกคนอีกแน่นอน ส่วนใครที่กำลังมองหาธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก ลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท แต่คืนทุนไวภายใน 2 ปี เราขอแนะนำให้คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความฝันของการเป็นร้านล้างรถอัตโนมัติอันดับหนึ่งในใจคนไทย ด้วยการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Quickwash และเติบโตด้วยกันไปอย่างยั่งยืน สนใจร่วมลงทุนกับเราคลิกด้านล่างได้เลย ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก disruptignite.com, truedigitalpark.com, smethailandclub.com
ในยุคที่เทคโนโลยีทำให้เราสามารถสร้างธุรกิจได้ง่ายขึ้น บวกกับโซเชียลมีเดียที่มีคอนเทนต์สอนวิธีสร้างอาชีพและรายได้ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้สบาย ๆ ทำให้ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนทำธุรกิจ และเริ่มอยากเป็นเจ้านายตัวเองกันมากขึ้น ธุรกิจ SME จึงเป็นรูปแบบธุรกิจที่มาแรง ถูกค้นหาและศึกษากันมากขึ้นเช่นเดียวกัน แล้วธุรกิจ SME เป็นธุรกิจแบบไหน คนส่วนใหญ่นิยมลงทุนธุรกิจ SME ประเภทไหนกันบ้าง ควิกวอชเลยจัดมาให้ถึง 12 ธุรกิจ SME สุดฮิต บริหารง่ายไม่ต้องปวดหัว จะมีธุรกิจอะไรบ้างที่น่าสนใจและน่าลงทุนบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกันเลย ธุรกิจ SME คืออะไร? ธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี) ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises ซึ่งหมายถึง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีลักษณะการบริหารอย่างอิสระ ไม่อยู่ใต้การควบคุมของธุรกิจหรือบุคคลอื่นบุคคลใด หรือผู้บริหารเป็นเจ้าของกิจการตัวเองนั่นเอง อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนในการลงทุนต่ำ และมีพนักงานจำนวนน้อย ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบไปด้วย คณะบุคคล บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศไทยมีลักษณะดังนี้ ประเภทของธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง? ประเภทของธุรกิจ SME หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กิจการด้านการผลิตสินค้า (Manufacturing Sector) เป็นกลุ่มกิจการที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งครอบคลุมถึงการผลิตที่เป็นลักษณะของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเหมืองแร่ จัดว่าเป็นกลุ่มกิจการที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะมีส่วนช่วยในด้านพัฒนาธุรกิจ การจ้างงาน และกำลังคนได้เป็นอย่างดี กิจการด้านการค้าส่ง (Wholesale Sector) และค้าปลีก (Retail Sector) เป็นกลุ่มกิจการที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง ดำเนินกิจการโดยการซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาเพื่อจัดจำหน่าย โดยรวมทั้งกิจการค้าส่ง และค้าปลีก เช่น ร้ายขายของชำ ร้านทอง เป็นต้น และยังมีความหมายรวมถึงการเป็นนายหน้า หรือตัวแทนการซื้อขาย สถานีบริการน้ำมัน และสหกรณ์ผู้บริโภคอีกด้วย กิจการด้านการให้บริการ (Service Sector) เป็นกลุ่มกิจการที่ไม่ได้เน้นจัดจำหน่ายสินค้าที่จับต้องได้ แต่ให้บริการหรือขายบริการ โดยมีผู้ให้บริการเป็นพนักงานของกิจการเอง ครอบคลุมถึงกิจการด้านการศึกษา สุขภาพ การขนส่ง ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ธุรกิจโรงแรม กิจการประกันภัย ร้านเสริมสวย หรือร้านล้างรถ เป็นต้น แนะนำ 12 ธุรกิจ SME น่าลงทุนในปัจจุบัน สำหรับใครอยากเริ่มทำธุรกิจในยุคนี้ ควิกวอชขอแนะนำธุรกิจ SME ที่น่าลงทุน เป็นไอเดียแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ฝันอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง เราคัดมาฝากแบบเน้น ๆ เปิดหมดไม่หมกเม็ด ยึดข้อมูลจากผลสำรวจยอดขายรายไตรมาส ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับฐานข้อมูล SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รับประกันความน่าเชื่อถือ จะมีธุรกิจน่าลงทุนกลุ่มไหนที่ตรงกับความรู้ความสามารถของคุณบ้าง มาดูกันเลย ธุรกิจขายของออนไลน์ อันดับหนึ่งของธุรกิจ SME ยอดฮิตจะเป็นธุรกิจอะไรไม่ได้ นอกจาก ธุรกิจขายของออนไลน์ เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องลงทุนเยอะ ไม่ต้องเช่าหน้าร้าน อีกทั้งยังมีช่องทางขายหลายแพลตฟอร์มให้เลือกใช้ และผลสำรวจหลายแห่งยืนยันว่าตลาดขายของออนไลน์ในเมืองไทยยังสามารถเติบโตต่อได้อีก ใครที่กำลังสนใจขายของออนไลน์ ไม่ผิดหวังแน่นอน ธุรกิจร้านโชห่วย ปฏิเสธไม่ได้ว่ากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ร้านโชห่วย เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการรุกคืบเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาบรรดาทุนใหญ่แห่งวงการค้าปลีกไทยเริ่มขยับตัวเปิดมิติใหม่ให้กับร้านโชห่วยเล็ก ๆ ในชุมชนด้วยการเป็นพาร์ทเนอร์ ปรับภาพลักษณ์โชห่วยให้ดูทันสมัยขึ้น โดยร้านโชห่วยจะต้องรับสินค้าส่วนใหญ่จากบริษัทค้าปลีก เป็นตัวช่วยในการกระจายสินค้า เป็นการเติบโตไปแบบเอื้อเฟื้อกันมากขึ้น ธุรกิจจัดงานแข่งขันหรืออีเวนต์กีฬา หลังจากที่ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ คาดว่า งานวิ่ง งานแข่งจักรยาน มวย ที่เติบโตอย่างมากภายหลัง จะสามารถสร้างรายได้ให้ธุรกิจ SME กลุ่มนี้มากถึง 1,504 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้การจัดงานอีเวนท์เหล่านี้ยังช่วยกระจายรายได้ไปทั่วประเทศ เนื่องจากการเดินทางไปร่วมกิจกรรมและการท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเกม ภาพรวมรายได้ของธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 10.5% ต่อปี ตามทิศทางของภาคธุรกิจที่เน้นการใช้กลยุทธ์ Digital transformation เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคแบบเฉพาะเจาะจง รวมทั้งวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ (New normal) ที่คาดว่าจะต้องพึ่งพาการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจเกมยังสามารถขยายขอบเขตการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ VR และก้าวเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สและสื่อโฆษณาดิจิทัลอื่นๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย ธุรกิจบริการจัดเลี้ยงและให้เช่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มฟื้นตัว ธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เคเทอริ่ง” (Catering) เป็นธุรกิจที่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ซึ่งธุรกิจนี้เป็นช่องทางการตลาดใหม่ของบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหาร, ธุรกิจ SME และแฟรนไชส์อีกด้วย ผลสำรวจหลายแห่งพบว่าหลังสถานการณ์โควิดเริ่มฟื้นตัว ทำให้ธุรกิจนี้มีอัตราเติบโตสูงถึง 20% เมื่อเทียบกับในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจขายของมือสอง หนึ่งในธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนต่ำที่สุด หรือแทบจะไม่ต้องใช้เงินลงทุนเลยนั่นก็คือ ธุรกิจขายของมือสอง ธุรกิจที่มองหาสินค้าได้จากรอบ ๆ ตัว มีของหลายอย่างที่เราไม่ได้ใช้แล้วแต่สามารถเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เป็นเงินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ที่กระแส Y2K กำลังกลับมา ทำให้ของเก่ายิ่งมีมูลค่ามากขึ้น ทำให้ธุรกิจนี้น่าสนใจไม่น้อยเลย ธุรกิจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกิจขนาดเล็กทั้งหมด ซึ่งในปีที่ผ่านมาถึงแม้ธุรกิจจะมีรายได้ที่ลดลงแต่ยังคงมีกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยในรอบ 5 ปี เท่ากับ 6% และคาดว่าจะยังคงรักษาระดับการทำกำไรได้ต่อไปในอนาคต ธุรกิจโหราศาสตร์และความเชื่อ หรือธุรกิจสายมู หนึ่งในกลุ่มธุรกิจกลับมาฟื้นตัวและมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง คือ ธุรกิจโหราศาสตร์และความเชื่อหรือธุรกิจสายมู ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่พยายามใช้กระแสความปังจากวงการมูเตลูเป็นไอเดียในการต่อยอดกับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เค้กลายมูเตลู วอลล์เปเปอร์มือถือเสริมดวง สร้อยข้อมือเสริมมงคล น้ำหอมสายมู กระเป๋าสตางค์เรียกทรัพย์ หรืออื่นๆ อีกมากมาย ธุรกิจการท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมชนบท การจัดการท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมชนบทได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาภาคเอกชน เข้ามาสนับสนุนด้านการฝึกฝนอบรมการจัดการด้านต่าง ๆ หรือการนำกลุ่มชาวบ้านออกไปดูงานตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น และทำให้การท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมชนบทกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ฟื้นตัว ธุรกิจด้านบันเทิง ผู้คนทั่วโลกต่างใช้เวลา และเงินในกระเป๋าไปกับสื่อบันเทิงที่สามารถเข้าถึงได้เองผ่านสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้นในช่วงวิกฤตโรคระบาด มี Tiktok เข้าเป็นแพลตฟอร์มใหม่ เปรียบเสมือนดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการธุรกิจบันเทิง ไม่ว่าแบรนด์ไหนต่างปรับตัวสร้างความบันเทิงเพื่อต่อยอดธุรกิจให้สามารถสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น ธุรกิจด้านจัดทำคอนเทนต์ Content Marketing ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ประหยัดงบในการทำการตลาดได้ถึง 62% เมื่อเทียบกับการตลาดแบบดั้งเดิมอย่าง ทีวี หรือหนังสือพิมพ์ ธุรกิจด้านจัดทำคอนเทนต์จึงเป็นธุรกิจ SME ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ธุรกิจแฟรนไชส์ หากคุณมีธุรกิจที่ชื่นชอบอยู่แล้วแต่ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร การซื้อแฟรนไซส์คงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งแฟรนไชส์ในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายหลายประเภท มีฐานของลูกค้าของแบรนด์ของแฟรนไชส์อยู่แล้ว อีกทั้งยังได้คำแนะนําที่จะช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย และทั้งหมดนี่คือธุรกิจ SME ที่น่าสนใจ และน่าลงทุนที่สุดในปี 2023 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจเหล่านี้กำลังมาแรงจริง ๆ ใครที่กำลังมองหาธุรกิจที่น่าลงทุนและถึงจุดคุ้มทุนไว ก็ลองศึกษาธุรกิจเหล่านี้เพิ่มเติมได้เลย หรือถ้าอยากลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ล้างรถอัตโนมัติก็ต้องลงทุนกับ Quickwash เท่านั้น เพราะเป็นธุรกิจล้างรถที่คืนทุนไว บริหารง่าย ไม่ต้องปวดหัวเรื่องคน สนใจลงทุนแฟรนไชส์กับควิกวอชสามารถคลิกด้านล่างได้เลย
กระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสิ่งของ ก็ถือได้ว่าการตลาดได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว โดยกระบวนการทางการตลาดนั้นจะถูกพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และความเจริญในแต่ละช่วงเวลา โดย การตลาดยุค 1.0 (Marketing 1.0) เน้นเรื่องสินค้าเป็นหลัก และเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป กระบวนการทางการตลาดก็ปรับเปลี่ยนตามไปด้วย บทความนี้เราจะมาเจาะลึกว่าในยุคถัดมาอย่างการตลาดยุค 2.0 จะมีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง มาดูกันเลย การตลาดยุค 2.0 (Marketing 2.0) การตลาดยุค 2.0 (Marketing 2.0) เป็นยุคที่การแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น ในช่วงประมาณปีค.ศ 1965 – 1975 เริ่มมีการผลิตสินค้าที่คล้ายกันออกมาหลายราย จึงทำให้เกิดการช่วงชิงลูกค้าขึ้นในยุคนี้ เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ลูกค้าจึงกลายมาเป็นที่ตั้งและศูนย์กลางแทน หรือที่เรียกว่า Customer Centric กลยุทธ์ที่คิดจากส่วนประสมการตลาดในยุคแรกอย่าง 4P อาจไม่ตอบโจทย์กระบวนการทางการตลาดที่เริ่มเปลี่ยนไป การคิดกลยุทธ์จึงต้องมุ่งเน้นไปยังลูกค้า ภาคธุรกิจเลิกผลิตสินค้าให้กับผู้คน แล้วหันทำตลาดกับกลุ่มผู้บริโภคแบบเจาะจงมากยิ่งขึ้น เป็นยุคที่นักการตลาดเริ่มรู้แล้วว่า ลูกค้าไม่ใช่ทุกคนบนโลก อีกต่อไป เกิดการพัฒนาแนวคิด 4P มาสู่แนวคิดทางการตลาดที่มองจากมุมมองของผู้บริโภค หรือ 4C ขึ้น กลยุทธ์การตลาด 4C 4C คือ รูปแบบกลยุทธ์การตลาดที่คิดจากมุมมองของลูกค้า เพื่อค้นหาว่าลูกค้าต้องการอะไร คิดอย่างไร นำเสนอคุณค่า และมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้า เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจ ช่วยให้สร้างการตลาดที่มีความหมาย และตอบโจทย์ของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งต่างจาก 4P ที่คิดจากมุมมองของแบรนด์ หรือเจ้าของธุรกิจ ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ลูกค้าสนใจ และซื้อสินค้า หรือบริการของเรา โดย 4C มีปัจจัยในการวิเคราะห์ความต้องการอยู่ทั้งหมด 4 ปัจจัย แบ่งเป็นตัว C ทั้งหมด ดังนี้ C – Customer – ลูกค้า Product —> Consumer (wants and needs) จากตอนยุค 1.0 สนใจสินค้า (Product) พอยุค 2.0 ต้องหันมามองที่ลูกค้า (Customer) มากขึ้น เริ่มศึกษาและทำความเข้าใจลูกค้าถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือมองหา อาจมีการสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลว่า ลูกค้ามีปัญหาหรือ Pain Point อะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา หลังจากนั้นจึงนำเสนอสินค้า หรือบริการที่มารองรับความต้องการในจุดนี้ การขายสินค้าหรือการให้บริการนั้น ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค ไม่ใช่เพื่อตอบสนองแค่ตัวผู้ขายเองว่าอยากขายสินค้า หรือให้บริการตัวนี้เท่านั้น C – Cost – ความคุ้มค่าของลูกค้า Price —> Cost จากตอนยุค 1.0 สนใจราคา (Price) พอยุค 2.0 ต้องหันมาดูที่ความคุ้มค่า (Cost) ลูกค้าเริ่มเกิดการเปรียบเทียบระหว่างราคาและคุณภาพที่ได้รับ ลูกค้าไม่ได้สนใจว่าค่าวัตถุดิบจะมีราคาเท่าไร ค่าขนส่งแพงขึ้นหรือไม่ แต่ลูกค้าจะมองว่า เงินที่พวกเขาจะจ่ายนั้นคุ้มค่ากับสินค้าหรือบริการหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการตั้งราคาให้เหมาะสมกับตัวสินค้าเท่านั้น แต่ยังต้องตั้งตามเวลาการบริการ ความรู้สึก และปัจจัยต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องแลกกับการซื้อสินค้า หรือใช้บริการของเรา การตั้งราคาสินค้าควรตั้งให้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า และความคุ้มค่าที่ลูกค้าได้รับ หากสินค้าราคาสูงมาก และคุณภาพก็ควรจะสูงตามไปด้วยเช่นกัน ลูกค้าจึงจะยอมจ่ายเพราะรู้สึกคุ้มค่า และสมเหตุสมผล C – Convenience – ความสะดวกสบายในการซื้อและใช้บริการของลูกค้า Place —> Convenience จากตอนยุค 1.0 สนใจสถานที่จัดจำหน่าย (Place) มาสู่การอำนวยความสะดวกสบาย (Convenience) ในยุค 2.0 โดยอาจต้องศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าว่ามีการเข้าถึงสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางใดบ้าง รวมไปถึงการชำระเงินช่องทางไหนที่สะดวกสบายที่สุดสำหรับลูกค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและการเข้าถึงให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายให้มากยิ่งขึ้น C – Communication – การสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จากตอนยุค 1.0 สนใจการส่งเสริมการขาย (Promotion) มาเป็นการสื่อสาร (Convenience) ในยุค 2.0 จากเดิมที่ใช้การเชิญชวน กล่อม หรือชี้นำให้ผู้บริโภคสนใจในสินค้าหรือบริการ แต่ในยุคนี้รูปแบบการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไป เริ่มคำนึงถึงการสื่อสารว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ข้อความแบบไหน ผ่านสื่อรูปแบบอะไรที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด นอกจาก 4C เริ่มมีการใช้กลยุทธ์ STP ในการวางแผนการตลาด คือ การแบ่งส่วนการตลาด (Segmentation) การเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) การวางตำแหน่งหรือจุดยืนของธุรกิจ (Positioning) การขายสินค้าเน้นทั้งการขายแบบนำเสนอคุณสมบัติและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงเริ่มมีการสร้างจุดขายทางด้านอารมณ์ (Emotional) เริ่มมีการสื่อสารสองทางระหว่างเจ้าของสินค้าและลูกค้า และการทำ CRM หรือการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นยุคที่แบรนด์นั้นกลายเป็นสินทรัพย์ (Asset) เริ่มมีการตีตราเป็นมูลค่าทั้งในสิ่งที่จำต้องได้และจับต้องไม่ได้ Marketing 2.0 จึงเป็นยุคที่เน้นเรื่องทำความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง แทนที่จะอัดทุกอย่างลงในสินค้าเพื่อหวังว่าจะขายทุกคน แต่ทำสินค้าให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่มมายิ่งขึ้น นอกจากนั้นยุคนี้ยังขยับเป้าหมายหลักจากความพึงพอใจของลูกค้า มาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าและการกลับมาซื้อซ้ำนั่นเอง (Retention) บทความนี้อาจช่วยให้เข้าใจมาขึ้นแล้วว่าการตลาดยุค 2.0 เป็นอย่างไร และช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นขนาดไหน อย่าลืม กดติดตาม (Subscribe) บทความนี้ไว้ เพื่อไม่ให้เป็นการพลาดสาระความรู้ดี ๆ แบบนี้อีก