E-mail : Quickwashthailand@gmail.com Tel : 092-281-2771

4 แหล่งเงินทุนที่ชาว Start up ต้องรู้!

เราทุกคนรู้ดีว่าการเริ่มทำธุรกิจ เพื่อสร้างตัวและเป็นเจ้านายตัวเองนั้น มีปัจจัยสำคัญอยู่หนึ่งอย่างที่ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้ว เราจะไม่สามารถสร้างธุรกิจใดได้เลย สิ่งนั้นก็คือ “เงินทุน” ซึ่งไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ เงินทุนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะช่วยต่อยอดไอเดียต่าง ๆ ให้เป็นรูปเป็นร่างและสามารถดำเนินธุรกิจนั้นต่อไปได้อย่างไม่สะดุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากว่าธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-Up) คุณยิ่งจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนบ่อใหญ่เพื่อใช้สำหรับขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ในอนาคตต่อไป แต่จะมีแหล่งเงินทุนไหนบ้างที่คุณศึกษาไว้บ้าง ควิกวอชจะพามารู้จักแหล่งเงินทุนสำหรับชาว Start Up ไปพร้อมกัน

 

แหล่งเงินทุนที่ 1 : ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital)

เงินทุนแหล่งแรกที่ชาวสตาร์ทอัพต้องทำความรู้จักก็คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) หรือที่คนในวงการธุรกิจส่วนใหญ่เรียกด้วยตัวย่อว่า “VC” นักลงทุนในรูปแบบขององค์กรระดมทุน ที่มักจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นส่วน (Partners), นักค้นคว้าและวิจัยข้อมูล (Researchers), และ นักวิเคราะห์ (Analyst) เพื่อคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพที่เหมาะสมที่สุดในการร่วมลงทุนด้วย และยังคอยให้คำปรึกษา แนะนำแนวทาง รวมถึงให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3-5 ปี โดยจะเริ่มลงทุนตั้งแต่ระยะแรกกับบริษัทที่มองเห็นว่ามีศักยภาพและโอกาสในการเติบโต (High Growth) ระยะยาวต่อไปได้ ซึ่งการลงทุนมักจะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “High Risk, High Return” หรือ “เสี่ยงมาก-ผลตอบแทนมาก” ซึ่งผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ มักจะได้ Ownership ในหุ้นของบริษัท และได้ที่นั่งในบอร์ดบริหารอีกด้วย

แหล่งเงินทุนแบบ VC มักจะสนับสนุนธุรกิจหรือบริษัทที่มี 3 ลักษณะดังนี้

  1. ธุรกิจที่กำลังเริ่มก่อตั้งในช่วงระยะเริ่มต้น
  2. ธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการ หรือต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่
  3. บริษัทที่ต้องการเข้าซื้อหุ้นของกิจการหนึ่งๆโดยใช้เงินที่กู้ยืมเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ
    (Leveraged Buyout หรือ Management Buyout)

แหล่งเงินทุนที่ 2 : นักลงทุนอิสระ (Angel Investor)

นักลงทุนอิสระมักจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “ผู้มีความมั่งคั่งพิเศษ (High Net Worth Investors)” โดยนักลงทุนกลุ่มนี้จะใช้เงินของตัวเองในการลงทุน ซึ่งแตกต่างจาก VC ทำให้เงินทุนที่มีไม่สูงมากนัก เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้เงินลงทุนไม่กี่ล้านบาท มักจะช่วยลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะเริ่มต้น ไม่ได้หวังเพียงแค่เงินเป็นค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่จะคอยช่วยเหลือ และใช้ประสบการณ์ในด้านการบริหารช่วยโอบอุ้มธุรกิจให้อยู่รอด พัฒนาได้ด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จ สามารถเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นนักลงทุน Angle กลุ่มนี้จึงมักจะได้ที่นั่งในการเป็นผู้บริหารขององค์กร หรือบริษัทสตาร์ทอัพนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย

QW nurturing มีพื้นที่

แหล่งเงินทุนที่ 3 : เงินทุนสนับสนุนจากโครงการภาครัฐ (Government Grant)

ภาคธุรกิจของประเทศยังคงขับเคลื่อนและก้าวต่อไปส่วนหนึ่งนั้นได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยภาครัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจในด้านของแหล่งเงินทุน เพื่อที่จะให้นักธุรกิจหน้าใหม่ หรือเหล่าชาวสตาร์ทอัพได้เติบโตต่อไปได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1.ช่วงต้นของการทำธุรกิจ

ภาครัฐมีโครงการลักษณะอบรมจัดทำแผนธุรกิจ (BMC) และ Pitching เพื่อชิงเงินทุนพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และทดลองผลิตเชิงพาณิชย์ออกสู่ตลาด

2.ช่วงกลางของการทำธุรกิจ

เมื่อเริ่มวางขายแล้ว จะมีอีกหลายโครงการเข้ามาสนับสนุน เช่น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) หรือขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก OTOP สมัครสมาชิกของ สสว. เพื่อรับสิทธิพิเศษในการช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การอบรม ออกงานแสดงสินค้า ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินทุนในหลายๆ ด้านได้เป็นอย่างดี

3.ช่วงติดปีกของการทำธุรกิจ

หากมีผลิตภัณฑ์พร้อมต่อยอด พร้อมขยายธุรกิจ ก็มีอีกหลายหน่วยงานของภาครัฐที่จะมาช่วยเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) แหล่งเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นต้น

แหล่งเงินทุนที่ 4 : การระดมทุน (Crowdfunding)

แหล่งเงินทุนสุดท้ายการระดมเงินทุนจากคนจำนวนมากทั่วโลกผ่านแพลตฟอร์มบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า “Funding Portal” ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของเหล่าผู้ประกอบการนั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จำนวนมาก โดย Crowdfunding นั้นมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

1.Donation Crowdfunding

เป็นการระดมทุนและให้การสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่มักได้รับการร่วมระดมทุนคือ ธุรกิจที่เน้นช่วยเหลือสังคม หรือที่เรามันจะคุ้นเคยในนาม “องค์กรการกุศล”

2.Reward Crowdfunding

เป็นการสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยผลตอบแทน เปรียบเสมือนการพรีออเดอร์ (Pre-Order) ที่จะทำการระดมเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจนำเงินไปสร้างสินค้าและบริการก่อน โดยผู้ระดมทุนจะได้รับสินค้าและบริการที่ผลิต หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสินค้านั้นตอบแทนในอนาคต

3.Equity Crowdfunding

นักลงทุนจะมีสิทธิในหุ้นของกิจการที่นักลงทุนให้เงินลงทุนไป โดยนักลงทุนจะได้รับหุ้นแลกกับเงินทุน พร้อมโอกาสในการได้รับเงินปันผลจากธุรกิจในอนาคต

4.Peer to Peer Lending (P2P Lending)

เป็นรูปแบบที่คล้ายกับสินเชื่อส่วนบุคคล เสมือนเป็นการขอสินเชื่อที่ผู้กู้มาขอระดมทุนจากนักลงทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า โดยระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะมีสัญญากู้ยืม และทำการชำระคืนเป็นงวด ๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา

และทั้งหมดนี้คือ 4 แหล่งเงินทุนดี ๆ ที่ควิกวอชอยากแนะนำให้ชาว Start Up ได้รู้จักกัน ซึ่งการลงทุนในยุคสมัยนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดผันผวนได้ง่าย ส่งผลให้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านมีแนวโน้มที่จะมาลงทุนในธุรกิจ Startup มากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นคงกว่าธุรกิจอื่น แหล่งเงินทุนใหม่ ๆ จึงเกิดขึ้นได้ทุกวัน เหล่านักธุจกิจมือใหม่อย่างเราอย่าเพิ่งหมดหวัง ควิกวอชจะเฟ้นหาสาระดี ๆ แบบนี้มาฝาก พร้อมเป็นกำลังใจให้ทุกคนอีกแน่นอน

ส่วนใครที่กำลังมองหาธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก ลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท แต่คืนทุนไวภายใน 2 ปี เราขอแนะนำให้คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความฝันของการเป็นร้านล้างรถอัตโนมัติอันดับหนึ่งในใจคนไทย ด้วยการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Quickwash และเติบโตด้วยกันไปอย่างยั่งยืน สนใจร่วมลงทุนกับเราคลิกด้านล่างได้เลยQW nurturing Franchise

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก disruptignite.com, truedigitalpark.com, smethailandclub.com

Panida Nue

Panida Nue

Content Creator

Related posts

"ควิกวอช" ธุรกิจ แฟรนไชส์ล้างรถอัตโนมัติมาแรง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่

ในปัจจุบันหากพูดถึงแฟรนไชน์ที่มาแรงในช่วงนี้ ร้านล้างรถอัตโนมัติ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ แฟรนไชส์ล้างรถ...

Continue Reading

การลงทุนแบบ Passive Income Vs Active Income

หากใครที่กำลังสนใจวางแผนในการลงทุนแล้วหล่ะก็ แน่นอนว่าจะต้องเคยได้ยินสองคำนี้มาก่อนอย่างแน่นอน ...

Continue Reading

12 ธุรกิจ SME ยอดฮิตในปัจจุบัน บริหารง่ายไม่ต้องปวดหัว

ในยุคที่เทคโนโลยีทำให้เราสามารถสร้างธุรกิจได้ง่ายขึ้น...

Continue Reading