E-mail : Quickwashthailand@gmail.com Tel : 092-281-2771

5 ระดับมาตรฐาน การขับเคลื่อนอัตโนมัติ ของรถแห่งอนาคต

หากพูดถึงความสามารถในการขับเคลื่อนของรถยนต์อัตโนมัติ หรือ ยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous vehicle) อาจเกิดข้อถกเถียงว่ารถยนต์แบรนด์ไหนจะสามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติ 100% เราจึงมาสรุปให้หายสงสัยว่าความจริงแล้วระดับความสามารถในการขับเคลื่อนแบ่งเป็นกี่ระดับกันแน่ แล้วแต่ระดับนั้นต่างกันอย่างไร มาดูกัน

 

ระดับของการขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติ

Society of Automotive Engineers หรือ SAE International อาจจะเป็นชื่อหน่วยงานคนใช้รถคุ้นตา เพราะเป็นหน่วยงานเดียวกันกับหน่วยงานที่แบ่งเกรดน้ำมันเครื่อง ที่เรามักจะเห็นโลโก้กันเป็นประจำอยู่ด้านข้างกระป๋อง โดยหน่วยงานนี้ยังเข้ามามีบทบาท ทำหน้าที่ในการแบ่งระดับของการทำงานของระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยเช่นกัน แบ่งเอาไว้ทั้งหมด 6 ระดับ ดังนี้

New call-to-action

SAE Automation Levels 0: No Automation

ระดับ 0 : รถจะไม่มีระบบอัตโนมัติอยู่เลย ผู้ขับขี่ที่เป็นมนุษย์จะทำหน้าที่ในการควบคุมเองทุกอย่าง ทั้งพวงมาลัย, เบรก คันเร่ง สรุปง่ายๆ ว่าระดับนี้คือ ระดับรถยนต์ส่วนใหญ่ที่วางจำหน่ายอยู่ในขณะนี้

 

SAE Automation Levels 1: Driver Assistance (Hands on)

ระดับ 1 : ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติจะเริ่มเข้ามาช่วยเหลือผู้ขับขี่ในบางฟังก์ชั่น เช่น ระบบ Adaptive Cruise Control ที่ควบคุมคันเร่งได้อัตโนมัติ, Lane Keeping ที่ควบคุมพวงมาลัยให้อยู่ในเส้นทางเดินรถโดยอัตโนมัติ เป็นต้น โดยการทำงานของระบบอัตโนมัติจะไม่ทำงานพร้อมกัน อีกทั้งคนขับยังจำเป็นเป็นคนมองเส้นทางอยู่ และพร้อมที่จะกลับเข้าไปควบคุมได้ตลอดเวลา

 

SAE Automation Levels 2: Partial Automation (Hands Off)

แฟรนไชส์ ร้านล้างรถ ควิกวอช

ระดับนี้ จะคล้ายกับ Level 1 เพียงแต่ว่า ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติจะทำงานพร้อมกันตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป อย่างเช่นระบบ Pilot Assist ของ Volvo ที่เมื่อตั้งระบบ Adaptive Cruise Control ให้ทำงาน ระบบจะทำการปรับระดับความเร็วให้อัตโนมัติ ตามที่เราตั้งค่าเอาไว้ และปรับความเร็วไปตามความเร็วรถข้างหน้าได้ พร้อมกันนี้ ระบบก็จะเข้ามาควบคุมพวงมาลัย และเบรกด้วย ทาง SAE จึงนิยามในระดับนี้ว่า Hands Off หรือปล่อยมือได้ แต่ผู้ขับขี่ก็ยังคงต้องตรวจสอบเส้นทางด้วยสายตาตัวเองอยุ่ตลอดเวลา และพร้อมกลับเข้าไปควบคุมตัวรถเองได้ทุกวินาทีเช่นเดิม

 

SAE Automation Levels 3 : Conditional Driving Automation

ในระดับนี้จะมีความสามารถในการตรวจจับสภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้อย่างเต็มที่และอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติได้ในพื้นที่ที่มีการจำกัดโซนเอาไว้ เช่น ฟรีเวย์, ไฮเวย์ โดยผู้ขับขี่สามารถละการควบคุมรถไปทำกิจกรรมอย่างอื่นในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการละสายตาจากถนนไปหยิบสิ่งของ หรืออ่านข้อความสั้นๆ ในโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ผู้ขับขี่ยังคงต้องตื่นตัว เตรียมตัว และพร้อมในการเข้าควบคุมรถเองในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ตลอดเวลา อธิบายง่ายๆ คือ สามารถละสายตาได้ชั่วขณะ แต่ไม่สามารถละสายตาจนอ่านหนังสือจบเล่มได้ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เงื่อนไขการทำงานในระบบผิดพลาด รถจะมีฟังก์ชั่นขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วย โดยรถยนต์จากผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ ยังคงพัฒนาอยู่ในแค่ระดับนี้ แม้กระทั่ง Tesla เองก็ตาม

 

SAE Automation Levels 4 : High Driving Automation

ระดับ 4 เป็นระบบอัตโนมัติระดับสูง ยานพาหนะนั้นจะสามารถบังคับขับเคลื่อนและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใต้สภาวะที่เกิดขึ้นใน ณ ขณะที่ยานหานะเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นหลบหลีกสิ่งกีดขวาง มีรถเลี้ยวออกมาจากซอย อีกทั้งเตือนถึงความเร็วที่มากจนเกินไปในขณะขับขี่ โดยที่มนุษย์นั้นมีส่วนในการบังคับควบคุมนั้นน้อยมาก ๆ หรือแทบจะไม่ต้องบังคับเลย แต่มนุษย์ยังคงสามารถควบคุมตัวรถได้ หากเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ในระดับ 4 นี้ ระบบสามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองอย่างสมบูรณ์ แต่ฟังก์ชันนี้มีข้อจำกัดว่าไว้เฉพาะขอบเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงและสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอื่นๆ อาจต้องเป็นเส้นทางที่ตั้งไว้ หรือ เป็นเส้นทางประจำ ไม่มีการออกนอกเส้นทางเด็ดขาด เช่น ในเมือง หรือ ชนบท ซึ่งทำให้การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับระดับ 4 ส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นรถรับส่งสาธารณะ ที่วิ่งด้วยความเร็วไม่สูงมาก และมีเส้นทางที่ระบุชัดเจน

New call-to-action

SAE Automation Levels 5 : Full Driving Automation (No driver!)

ระดับนี้ไม่ต้องการมนุษย์มาช่วยขับอีกต่อไป เพราะระบบจะทำงาน Dynamic Driving Task เต็มประสิทธิภาพ เป็นระดับสูงสุดที่ SAE ตั้งข้อกำหนดเอาไว้ ตัวระบบไม่ต้องการการควบคุมใดๆ จากผู้ขับเลยในทุกกรณี ผู้ขับเพียงแต่สตาร์ทเครื่องและระบุจุดหมายปลายทางบนเนวิเกเตอร์เท่านั้น หรืออาจใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น สมาร์ทโฟน ดังนั้นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในคลาสนี้ต้องมีความสามารถในการขับเคลื่อนตัวรถเองในทุกสถานการณ์โดยไม่ละเมิดกฏหมายใดๆ และสามารถตัดสินใจประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ด้วยตัวเอง ส่วนผู้ขับสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ตามความต้องการ เป็นรถยนต์ในฝันแห่งโลกอนาคตที่พาคุณไปได้ทุกที่ตามใจต้องการ

 

จากระดับการขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติที่กล่าวไป อาจทำให้หลายคนเข้าใจรถยนต์อัตโนมัติ หรือยานยนต์ไร้คนขับมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีแบรนด์ใดพัฒนาไปได้ถึงจุดระดับ Full Driving Automation แม้แต่ระบบขับเคลื่อนกึ่งเคลื่อนอัตโนมัติจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Tesla Model S ที่มีชื่อทางการค้าว่า AutoPilot ก็ยังไม่ถึงขั้นอัตโนมัติ 100% และยังเป็นเพียงรถในระดับ Level 3 เท่านั้น แต่หลังจากนี้เรามารอติดตามกันดีกว่าว่า วงการยานยนต์จะสร้างความเซอร์ไพรส์ หรือบริษัทไหนจะสามารถพัฒนาระบบจนสามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติ 100% ได้ก่อนกัน เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารและสาระสำคัญ กดติดตาม (Subscribe) บทความของเราไว้ได้เลย รับรองว่าจะอัพเดทให้ทันทุกเทรนด์ยานยนตแน่นอน

 

New call-to-action

 

Panida Nue

Panida Nue

Content Creator

Related posts

5 บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการ ยานยนต์ไร้คนขับ

รถยนต์อัตโนมัติ หรือ ยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous vehicle)...

Continue Reading

Autonomous Vehicle คืออะไร? รถยนต์ไร้คนขับได้จริงหรือ?

Autonomous vehicle อาจจะเป็นคำที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นชิน แต่ถ้าในวงการรถและยานยนต์นั้น...

Continue Reading

Flash Express ผู้ให้บริการด้าน E-Commerce แบบครบวงจร

          หลายปีมานี้นอกจากธุรกิจ Food Delivery จะเติบโตเป็นอย่างมากแล้ว ธุรกิจการขนส่งได้รับความนิยม...

Continue Reading