E-mail : Quickwashthailand@gmail.com Tel : 092-281-2771

รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน? จ่ายค่าไฟเท่าไหร่?

ยังคงมีกระแสแรงอย่างต่อเนื่องกับ รถไฟฟ้า EV” ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุปัน เพราะเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจึงทำให้ค่าใช้ง่ายในเรื่องพลังงานเชื้อเพลิงถูกลงเป็นอย่างมาก และแถมรถ EV ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ข้อดีเยอะขนาดนี้แล้ว ใครที่ยังลังเลอยู่วันนี้เรานำข้อมูลเรื่อง รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน? จ่ายค่าไฟเท่าไหร่?” มาให้ทุกคนได้อ่านเพื่อเพิ่มความรู้ และเหตุผลที่อาจจะช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมากฝากกันค่ะ

สามารถทำความรู้จักรถประเภทรถ EV และข้อดี-ข้อเสียได้ผ่านบทความนี้เลยค่ะ

 

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน

ก่อนอื่นเลยสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคนที่กำลังจะซื้อรถไฟฟ้านั่นคือการศึกษาทำความเข้าใจระบบไฟฟ้าในบ้านของตัวเองก่อน มิเช่นนั้นระบบไฟฟ้าภายในบ้านอาจจะมีปัญหาได้ โดยมี 5 ขั้นตอนการติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านมาฝากทุกคนกันค่ะ

1.ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า คือ สำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าของตัวเอง โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน ทางการไฟฟ้าแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป

**สำหรับคนที่คิดว่าต้องเปลี่ยนระบบไฟเป็น 3 เฟสรึเปล่า? คำตอบคือ “ไม่จำเป็น” เนื่องจากถ้าบ้านไม่มีการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไป การใช้ไฟ 1 เฟสก็เพียงพอ

2.เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) คือ สำหรับสาย Main ของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่แต่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน

3.ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) คือ ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีส่วนตัว แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ควรเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด

4.เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) คือ เป็นเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม

5.เต้ารับ (EV Socket) คือ สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A)

*แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น

 

New call-to-action

 

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ? ใช้เวลานานเท่าไหร?

สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลักๆ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge) คือ การชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30(100)A และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ที่ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม.

การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge) คือ เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม.

การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge) คือ เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ตรงเข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที นิยมใช้ตามสถานีบริการนอกบ้าน ที่ต้องการความรวดเร็วในการชาร์จ แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ตัวแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น ได้แก่ CHAdeMo, GB/T และ CCS เป็นต้น

 

 

หัวชาร์จสำหรับรถแต่ละรุ่นแบบด่วน (Quick Charge)

DC CHAdeMo ย่อมาจากคำว่า CHArge de Move แปลได้ว่า ชาร์จไฟแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น จ่ายกระแสไฟฟ้าขนาด 50 kW

DC CCS2 ย่อมาจาก Combined Charging System เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป จ่ายกระแสไฟฟ้าขนาด 50 kW

 

เทคนิคการเลือกเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger

ความเร็วในการชาร์จไฟรถยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับไฟ (On Board Charger) ของรถยนต์แต่ละรุ่น หรือก็คือตัวควบคุมการดึงพลังงานไฟฟ้าจากตัวรถ สั่งการไปยังเครื่อง EV Charger โดยทั่วไปขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ซึ่งทำให้ตัวเครื่องชาร์จออกแบบมาให้มีทั้งหมด 4 ขนาด คือ 3.7 kW, 7.4 kW, 11 kW, 22 kW (มาตรฐาน) ราคาเครื่องชาร์จหลากหลายมีตั้งแต่ 15,000-100,000 กว่าบาท(แล้วแต่ยี่ห้อ)

 

การเลือกจุดติดตั้งเครื่องชาร์จ บริเวณพื้นที่จอดรถ

1.ระยะทางไม่เกิน 5 เมตร จากตัวเครื่องชาร์จจนถึงจุดที่เสียบชาร์จกับตัวรถ ไม่ควรวางห่างกันเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายเครื่องชาร์จ EV Charger โดยทั่วไปอยู่ที่ 5-7 เมตรเท่านั้น

2.วางใกล้ตู้ MDB เลือกทำเลใกล้ตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

3.หลังคาปกคลุม เลือกจุดที่อยู่ด้านในใต้หลังคา เพื่อป้องกันละอองฝน และเป็นการรักษาให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น

 

คำนวณค่าไฟในการชาร์จรถไฟเต็ม 1 รอบการใช้งาน

ยกตัวอย่าง : รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 7.4 kW แบตเตอรี่จุได้ 60 kW หรือระยะทางขับขี่ประมาณ 350 กิโลเมตร พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเวลา 1 ชม. เก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 7.4 kW โดยถ้าต้องจุให้เต็ม 60 kW ต้องใช้เวลาถึง 7-8 ชั่วโมง

 

สมมุติว่าไฟฟ้า 1 หน่วย = 1 kW สมมุติที่ 4 บาท/หน่วย

– ชาร์จไฟ 1 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 1 = 29.6 บาท

– ชาร์จไฟ 2 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 2 = 59.2 บาท

– ชาร์จไฟ 8 ชม คิดค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 8 = 236.8 บาท

สรุป ถ้าเราชาร์จแบตเตอรี่เต็มใช้เงินประมาณ 236.8 บาท ขับรถยนต์ได้ 350 กิโลเมตร หรือตก 1.4 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง อยู่ที่ประมาณ 3-5 บาท/กิโลเมตร เรียกได้ว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายเท่าตัวเลย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับข้อมูลที่เรานำมาเสนอกับข้อมูลความรู้ที่เรานำมาเสนอ หากใครที่กำลังตัดสินซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Ev เรื่องการชาร์จไฟเป็นประเด็นที่สำคัญมาก หวังว่าความรู้นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ

 

New call-to-action

 

Promporn Suw

Promporn Suw

Content Creator

Related posts

มาตรฐานความปลอดภัยในการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้ารถ EV

หลายคนที่กำลังสนใจในรถ Ev (Electric Vehicle) อาจจะยังมีข้อสงสัยและตั้งคำถามในเรื่อง...

Continue Reading

8 เคล็ดลับ คนใช้รถต้องรู้

การดูแลรถยนต์หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก เราจึงนำ 8 เคล็ดลับ คนใช้รถต้องรู้...

Continue Reading

รวม 10 แบรนด์รถยนต์ชื่อดังมูลค่าการตลาดสูงที่สุดของโลก

อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอีกตลาดหนึ่งที่น่าจับตามอง วันนี้รวบรวม 10 รถยนต์ชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดของโลก...

Continue Reading