การลงทุนก่อนชีวิตวัยเกษียณหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่ความจริงแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะในช่วงวัยเกษียณเป็นช่วงที่คุณไม่สามารถทำงานเพื่อหาเงินมาเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองได้ในขณะ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องแผนการลงทุนเพื่อใช้ชีวิตวัยเกษียณ วันนี้เราจึงอยากนำเสนอบทความ “8 สิ่งต้องรู้ เตรียมลงทุนก่ออนเกษียณ” เพื่อเป็นแนวทางในการเริ่มต้นการลงทุนเพื่อชีวิตในวัยเกษียณของทุกคนกันค่ะ
1.กำหนดอายุเกษียณของตัวเอง
ข้อแรกเลยคือการกำหนดว่าตัวเองจะเกษียณอายุในช่วงอายุเท่าไหร่ ซึ่งโดยปกติคนส่วนใหญ่ช่วงวัยที่เกษียณอายุจะอยู่ในช่วง 55 - 60 ปี และหลังจากเกษียณอายุมนุษย์มักมีอายุอยู่ได้ประมาณ 80 ปี แต่หากมากกว่านั้นก็จะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 90 ปี ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าช่วงเกษียณอายุของคุณจะอยู่ที่ประมาณ 25 ปีนั่นเอง หมายความว่าเราจะต้องวางแผนการลงทุนเพื่อทำให้ 25 ปีนี้เรามีเงินเพื่อใช้จ่าย
2.กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการหลังเกษียณ
การกำหนดจำนวนค่าใช้จ่ายหลังการเกษียณสามารถอิงได้จากค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากว่าในปัจจุบันมีรายจ่ายที่ออกไปในแต่ละเดือนเท่าไหร่ โดยหักเงินลงทุนในวัยเกษียณส่วนนี้ออกไป เช่น หากคุณอายุ 30 ปี แต่คุณต้องผ่อนรถเดือนละ 6000 เป็นเวลาแปดปี ให้คุณไม่ต้องคิด 6000 บาทส่วนนี้ เพราะเป็นส่วนเงินที่ต้องหมดก่อนหลังการเกษียณ โดยให้คุณคำนวณจากค่ากินค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภค หรือจะเรียกได้ว่าค่าปัจจัยสี่ทั้งหลายในชีวิต ยกตัวอย่างเช่นในแต่ละเดือนคุณใช้เงินอยู่ที่ราว ๆ 20,000 บาท
ทั้งนี้จะต้องคำนวณอัตราเงินเฟ้อด้วย เพราะในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้ต้องนำข้อมูลในส่วนตรงนี้มาคำนวณเงินในช่วงวัยเกษียณด้วยเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน โดยอัตราเงินเฟ้อปริมาณของประเทศไทยประมาณ 2 ถึง 3% ต่อปี โดย 20 ปีข้างหน้าหากคุณเกษียณ เงิน 20,000 บาทจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า สูงสุดถึง 40,000 บาท หากจะคำนวณเป็นเลขกลม ๆ ก็จะเท่ากับเดือนละ 40,000 x 12 = 480,000 บาทต่อปี โดยอายุหลังการเกษียณคิดเป็น 20 ปี ดังนั้นคุณควรจะมีเงินหลังการเกษียณทั้งหมด 9,600,000 บาท โดยประมาณนั่นเองค่ะ
3.ประมาณค่าใช้จ่ายและรายได้หลังการเกษียณ
เมื่อถึงเวลาในช่วงวัยเกษียณ คุณจะต้องประมาณการณ์ว่าในช่วงนั้นคุณจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง โดยจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในปัจจุบันด้วย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าครองชีพต่างๆ และนอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงรายได้หลังการเกษียณ เช่น เงินบำนาญ ซึ่งบางท่านเองก็อาจจะไม่มีรายได้ในส่วนตรงนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลอีกเช่นเดียวกัน
4.คำนวณค่าใช้จ่ายและเงินออมที่มีอยู่
โดยให้คุณคำนวณจากค่าใช้จ่ายในปัจจุบันว่าคุณมีเงินออมเท่าไหร่ มีเงินประกันหรือว่าเงินกองทุนต่างๆ สำรองไว้หรือไม่ ซึ่งเราจะนำเงินในส่วนตรงนี้ที่เรามี มาคำนวณเงินในช่วงวัยเกษียณว่าจะต้องเก็บออมหรือหาเพิ่มเติมอีกเท่าไหร่ จึงจะสามารถใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้โดยที่ไม่ลำบาก
5.วางแผนการออมในปัจจุบันให้ดี
ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดด้วยการวางแผนการออมเงินให้ดี โดยตัวคุณเองจะต้องมีระเบียบวินัยในการออมเงิน โดยคุณสามารถออมเงินได้หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินเข้าบัญชี หรือจะเป็นการลงทุนกับกองทุนรวมต่าง ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกการออมเงินในรูปแบบไหน
6.วางแผนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อที่ดินในการเก็งกำไรในอนาคต หรือจะเป็นการซื้อคอนโดไว้ปล่อยเช่าก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการวางแผนลงทุนประเภทใช้สินทรัพย์แทนการออมเงิน โดยการลงทุนประเภทนี้จะมีราคาที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เสมือนกับดอกเบี้ย แต่การลงทุนหลังเกษียณก็อาจมีความเสี่ยงอยู่ไม่มากก็น้อย ดังนั้น ควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุนหลาย ๆ ประเภท เช่น ลงทุนกับตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้ต่างประเทศ หุ้น ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนและอาจช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนได้
7.วางแผนการเงินก่อนเกษียณเพิ่มขึ้น
เมื่อคุณมีเป้าหมายในการลงทุนแล้ว คุณก็จะเห็นถึงทิศทางในการลงทุนเองว่าจะต้องวางแผนเก็บหลังเกษียณอย่างไร ให้คุณออมเงินอย่างสม่ำเสมอและมีระเบียบวินัยกับตัวเองมากที่สุด เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของเงินออมที่คุณได้ตั้งไว้นั่นเอง
8.ติดตามและตรวจสอบแผนเกษียณอยู่เสมอ
ข้อสุดท้ายของการวางแผนเกษียณสไตล์มนุษย์เงินเดือน หากคุณวางแผนเก็บเงินออกมาสักระยะ ให้คุณคอยติดตามเงินที่คุณออมเอาไว้ว่าตอนนี้มีเท่าไหร่แล้ว หรือยังขาดอีกเท่าไหร่ โดยเป็นการติดตามและรายงานผลให้กับตัวคุณเอง เพื่อการออมเงินอย่างเป็นระบบที่มากขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับบทความที่เรานำมานำเสนอ “8 สิ่งต้องรู้ เตรียมลงทุนก่ออนเกษียณ” หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนเตรียมตัวและวางแผนการเงินเพื่อลงทุนใช้ในวัยเกษียณอายุของตัวเองกันง่ายขึ้นกันนะคะ
ที่มา : https://online.scbprotect.co.th/content/retirement-plans-for-salaryman