E-mail : Quickwashthailand@gmail.com Tel : 092-281-2771

มาตรฐานความปลอดภัยในการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้ารถ EV

หลายคนที่กำลังสนใจในรถ Ev (Electric Vehicle) อาจจะยังมีข้อสงสัยและตั้งคำถามในเรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ Ev วันนี้เราจึงนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการติดตั้งเครื่องชาร์ตรถ Ev ให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยมานำเสนอให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

สามารถอ่านบทความประกอบความรู้เพิ่มเติมได้ที่ : รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน? จ่ายค่าไฟเท่าไหร่?

โดยการไฟฟ้านครหลวงได้มีข้อกำหนดทั่วไปประกาศไว้ดังนี้

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. วงจรย่อยที่จ่ายไฟให้ EVSE จะต้องมีระบบป้องกันอันตรายต่อบุคคลดังต่อไปนี้ทุกข้อ

ก) สายดิน และ ข) เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ต้องเป็น type B พิกัด I∆n ≤ 30 mA ชนิดตัดกระแสไฟฟ้าสายที่มีกระแสไฟฟ้าทุกเส้นรวมถึงนิวทรัลออกพร้อมกัน และมีขนาดพิกัดกระแสไม่น้อยกว่าพิกัดของเครื่องป้องกันกระแสเกิน

หมายเหตุ

  1. สามารถใช้ RCD type A หรือ F ร่วมกับอุปกรณ์ที่สามารถตัดวงจรจ่ายไฟหากมี

กระแสลัดวงจรลงดินแบบกระแสตรง (d.c. fault current) เกิน 6 mA (RDC-DD) แทน RCD type B ได้

  1. ตำแหน่งการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วสามารถติดตั้งได้ที่แผงวงจร ตำแหน่งก่อนเข้า EVSE หรือภายใน EVSE ได้ทั้งนี้กรณีโหมด 2 แนะนำให้ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วที่บริเวณแผงวงจร หรือก่อนเข้าเต้ารับ หากไม่มั่นใจว่า IC-CPD มีเครื่องตัดไฟรั่วที่เหมาะสมแล้วหรือไม่
  2. RCD type B ต้องไม่ติดตั้งภายใต้วงจรที่มีRCD type อื่นอยู่ที่เมนของวงจรนั้น ๆ

ข้อยกเว้น

สามารถละเว้นการติดตั้ง RCD ได้ในกรณีที่ EVSE มีการแยกจากกันทางไฟฟ้า (Electrical separation) เช่น ใช้หม้อแปลงแยกวงจรหรือหม้อแปลงแยกขดลวด (Isolating transformer)

 

2. วงจรย่อยที่จ่ายไฟให้ EVSE ต้องแยกต่างหากจากการจ่ายไฟให้กับโหลดอื่น ๆ
3. วงจรย่อยแต่ละวงจรสามารถจ่ายไฟให้EVSE ได้ 1 ชุดเท่านั้น
4. สายไฟฟ้าของวงจรย่อยที่จ่ายไฟให้ EVSE ต้องมีขนาดพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่า 1.25 เท่าของกระแสด้านไฟเข้า (Input) ของ EVSE และไม่ต่ำกว่าพิกัดกระแสของเครื่องป้องกันกระแสเกิน
5. กำหนดให้ใช้ค่า Demand factor เท่ากับ 1 สำหรับโหลด EVSE ในการคำนวณหาขนาดสายป้อนและสายเมน ยกเว้นมีระบบควบคุม Demand แต่ทั้งนี้วงจรย่อยที่จ่ายไฟให้ EVSE ต้องมี Demand Factor เท่ากับ 1
6. แต่ละ EVSE ต้องมีเครื่องป้องกันกระแสเกินพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่าพิกัดกระแสด้านไฟเข้า (Input) ของ EVSE และหากเป็นการอัดประจุไฟฟ้าโหมด 2 เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องมีพิกัดกระแสไม่เกินขนาดพิกัดกระแสของเต้ารับ MPESTD-001:2563
7. ตำแหน่งติดตั้งเต้ารับโหมด 2 หรือโหมด 3 (กรณีมีเต้ารับ) แนะนำให้อยู่สูงจากพื้นผิวการจอดของยานยนต์ (Parking surface) ไม่น้อยกว่า 0.75 เมตร แต่ไม่เกิน 1.2 เมตร
8. กรณีติดตั้ง EVSE ภายนอกอาคาร วิธีการเดินสายไฟฟ้าวงจรย่อยกำหนดให้ใช้วิธีร้อยท่อฝังดิน หรือร้อยท่อเกาะผนังเท่านั้น
9. การใช้ตัวคูณปรับค่าขนาดกระแสสำหรับคำนวณพิกัดกระแส

9.1 กรณีเดินสายไฟฟ้าในช่องเดินสาย ให้ใช้ตัวคูณปรับค่าขนาดกระแสตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ตารางที่ 5-8 ทุกกรณีรวมทั้งรางเดินสาย (Wireway)

           9.2 กรณีเดินสายเกาะผนัง ให้คำนวณพิกัดกระแสโดยใช้ตัวคูณปรับค่าขนาดกระแสตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ตัวคูณปรับค่าขนาดกระแสกรณีเดินสายเกาะผนัง

จำนวนวงจร

2

3

4

5

6

7

8

9-20

ตัวคูณปรับค่า

0.85

0.79

0.75

0.73

0.72

0.72

0.71

0.70

 

10. ในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน และในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ าท่วมถึง ควรมีมาตรการหรือระบบป้องกันน้ำท่วม
11. เครื่องตัดไฟรั่ว ต้องมีปุ่มทดสอบการทำงาน (Test button) และกำหนดให้มีระยะเวลาการตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่วทุกระยะ 6 เดือน

4 EVChargerMainFiber2

มาตรฐานการติดตั้งสายเมนวงจรที่สอง สำหรับ EV Charger เป็นรูปแบบทางเลือก

  • ป้ายบริเวณ Main CB 1.ป้ายที่ติดตั้งบริเวณ Main CB วงจร EVอาคารนี้มีสายเมน 2 วงจร Main CB วงจรโหลดทั่วไปอยู่ที่ชั้น 2 และ 2.ป้ายที่ติดตั้งบริเวณ Main CB วงจรโหลดทั่วไป อาคารนี้มีสายเมน 2 วงจร Main CB วงจร EV อยู่ที่โรงจอดรถ
  • อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (RCD) ต้องเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า พิกัด lΔn < 30 mA (หากเครื่องชาร์จติดตั้ง RCD แบบ type B หรือเทียบเท่าอยู่ภายในแล้ว ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม)
  • มิเตอร์ที่ขอเพิ่มขนาดจากการไฟฟ้านครหลวง

และมีข้อกำหนด ดังนี้

  1. เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จึงอนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเดิมที่มีการขอติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิมและมีการขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ สามารถติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะได้
  2. พิกัดกระแสไฟฟ้าของ Main CB รวมทั้งสองวงจร ต้องไม่เกินพิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินตามขนาดมิเตอร์ที่ระบุในตารางที่ 3-4 ของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย เช่น มิเตอร์ที่ขอเพิ่มขนาดเป็น 30 (100) A ค่าพิกัดกระแสของ Main CB รวมทั้งสองวงจรต้องไม่เกิน 100 A
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องมีการติดตั้งป้ายถาวรบริเวณ Main CB ของทั้งสองวงจรเมน เพื่อระบุตำแหน่งของ Main CB ของอีกวงจรเมนหนึ่ง
  4. ห้ามต่อสายเฟส หรือสายนิวทรัลข้ามระหว่าง 2 วงจรในส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า

1_1 EVHome

มาตรฐานการติดตั้งเต้ารับสำหรับสายชาร์จแบบพกพา (EV- Socket-Outlet) มีข้อกำหนด ดังนี้

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) ต้องเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า พิกัด lΔn < 30 mA (หากสายชาร์จแบบพกพา (IC-CPD) ติดตั้ง RCD แบบ type B หรือเทียบเท่าอยู่ภายในแล้ว ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม)
  • เต้ารับ (EV Socket-Outlet) สำหรับเสียบสายชาร์จเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อลงดิน) ต้องทนต่อกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง ไม่ร้อยกว่า 16 A ตาม มอก.166-2549 (หรืออาจเป็นเต้าสำหรับอุตสาหกรรม)
  • การต่อสายต่อหลักดินวงจรชาร์จ EV ติดตั้งสายต่อหลักดินเป็นแบบแยกจากหลักดินของบ้าน (TT) หลักดินมาตรฐาน ขนาด Ø16 มม. ยาว 2.40 เมตร การต่อสายหลักดินเข้ากับหลักดิน ต้องต่อเชื่อมด้วยความร้อน
  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ภายในตู้ จะต้องมีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker, 1P ขนาด 16 A
  • Main Circuit Breaker (MCB) มีขนาดสูงสุด ไม่เกิน 100 A สำหรับมิเตอร์ขนาด 30(100)A

ข้อควรระวังสำหรับการชาร์จรถยนไฟฟ้าด้วยสายชาร์จแบบพกพา

ห้ามนำสายชาร์จแบบพกพา ไปต่อกับเต้ารับเดิมที่มีอยู่แล้วในบ้าน เนื่องจากระบบไฟฟ้าเดิมไม่ได้ออกแบบมารองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ต้องเดินวงจรไฟฟ้า สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแยกต่างหากโดยช่างผู้ชำนาญ

1_2 EVHome

มาตรฐานการติดตั้งเครื่องชาร์จแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) มีข้อกำหนด ดังนี้

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) ต้องเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า พิกัด lΔn < 30 mA (หากเครื่องชาร์จติดตั้ง RCD แบบ type B หรือเทียบเท่าอยู่ภายในแล้ว ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม)
  • เครื่องชาร์จแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) เครื่องชาร์จควรเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.61851 หรือ IEC 61851
  • การต่อสายต่อหลักดินวงจรชาร์จ EV ติดตั้งสายต่อหลักดินเป็นแบบแยกจากหลักดินของบ้าน (TT) หลักดินมาตรฐาน ขนาด Ø16 มม. ยาว 2.40 เมตร การต่อสายหลักดินเข้ากับหลักดิน ต้องต่อเชื่อมด้วยความร้อน
  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ภายในตู้ จะต้องมีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker, 1P มีขนาดตามพิกัดกระแสไฟฟ้าของเครื่องชาร์จ
  • Main Circuit Breaker (MCB) มีขนาดสูงสุด ไม่เกิน 100 A สำหรับมิเตอร์ขนาด 30(100)A

 

ข้อควรระวัง สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเครื่องชาร์จ

เนื่องจากเครื่องชาร์จเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีพิกัดกระแสไฟฟ้าสูง ดังนั้นก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จให้พิจารณาโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิมของบ้านและเครื่องชาร์จ หากรวมกันแล้วเกินกว่าพิกัดกระแสไฟฟ้าของ MCB และขนาดมิเตอร์ ให้ทำการปรับปรุงระบบไฟฟ้าและติดต่อ การไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอเพิ่มขนาดมิเตอร์

ต้องเดินวงจรไฟฟ้าสำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแยกต่างหากโดยช่างผู้ชำนาญ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : การไฟฟ้านครหลวง

Promporn Suw

Promporn Suw

Content Creator

Related posts

รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน? จ่ายค่าไฟเท่าไหร่?

ยังคงมีกระแสแรงอย่างต่อเนื่องกับ รถไฟฟ้า EV” ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุปัน...

Continue Reading

รวมพิกัดสถานีชาร์จรถ EV ในประเทศไทย

          กระแสรถรถไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) แรงดีไม่มีตก...

Continue Reading

ทำความรู้จักประเภทของรถ Ev พร้อมข้อดี-ข้อเสีย

             รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV) ได้รับกระแสความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน...

Continue Reading