“การลงทุน” เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินชีวิตทุกวันนี้ เพราะการลงทุนเป็นเหมือนการวางแผนด้านการเงินเพื่อตัวเองในอนาคตหรือหลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Passive Income คือ รายได้มาจากการที่เราลงแรงไปในตอนแรก แต่ยังคงได้รายได้นั้นกลับมาอย่างต่อเนื่องแม้งานจะเสร็จสิ้นไปแล้วก็ตาม ซึ่งก็จะเป็นผลดีในระยะยาวต่อตัวผู้ลงทุนเอง ยิ่งเริ่มต้นเก็บออมหรือเริ่มลงทุนได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตในวัยเกษียณมากเท่านั้น แล้วจุดเริ่มต้นของการลงทุนคืออะไรล่ะ เรามาลองอ่านจากบทความนี้กันค่ะ Checklist ก่อนลงทุน ก่อนการลงทุนจะต้องเริ่มต้นจากการประเมินความพร้อมของตัวเองก่อนว่าสามารถลงทุนได้จริงหรือไม่ และเงินที่ใช้สำหรับการลงทุนจะต้องเป็น เงินเย็น หรือเงินที่ไม่มีต้นทุน เงินที่เราไม่ได้จำเป็นต้องใช้ทำอะไร หรือเงินที่ไม่มีภาระ หากมีเงินในส่วนตรงนี้แล้ว ซึ่งเงินเย็นสามารถพิจารณาได้จาก 3 สิ่งคือ เรามีเงินก้อนเผื่อสำรองฉุกเฉินหรือยัง ในส่วนนี้เราอาจจะลองสำรวจหากเราฉุกเฉินป่วย หรือเกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้เงิน เรามีเงินส่วนอื่นเตรียมพร้อมไว้หรือเปล่า โดยเงินส่วนนั้นไม่เกี่ยวโยงกับเงินส่วนที่จำเป็นจะต้องใช้นี้นั่นเอง มีเงินเพียงพอชำระหนี้แล้วหรือยัง เราอาจจะต้องลองสำรวจว่าเรามีเงินที่เราจะชำระหนี้สินต่าง ๆ หรือยัง เช่นค่างวดบ้าน งวดรถ ที่ไม่ได้กระทบกับเงินส่วนนี้ ทำรายรับรายจ่ายให้แน่นอน หากเราทำรายรับ รายจ่ายที่แน่นอนแล้ว เงินส่วนนี้ยังไม่ได้ถูกหยิบไปบันทึกใด ๆ ก็เท่ากับว่าเรามีเงินเย็นอยู่กับตัวแล้วนั่นเอง ก็สามารถเตรียมพิจารณาเรื่องการลงทุนต่อไป รู้การเดินทางของเงิน จะต้องรู้ว่าเมื่อมีรายรับเข้ามา จะต้องจ่ายอะไรออกไปบ้าง ซึ่งสิ่งที่จะช่วยทำให้ง่ายขึ้นนั่นก็คือการทำบัญชีรายรับรายจ่าย และคอยสังเกตพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร พอต่อการใช้ชีวิตในแต่ละเดือนไหม หรือพอแล้วเหลือเงินเท่าไหร่ เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน ในการลงทุนนี้ สิ่งที่สำคัญมากอีกหนึ่งสิ่งนั้นก็คือ การเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อสำรองเงินในส่วนนี้หากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันต้องใช้เงินจริงๆ เช่น ขาดรายได้ชั่วคราว โดยควรมีเงินในส่วนนี้คิดเป็น 3-6 เท่า ของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เรียนรู้หนี้ เริ่มจากการเรียนรู้และบริการจัดการหนี้ เนื่องจาก ในช่วงวัยเริ่มต้นทำงานมักเริ่มมีการใช้บัตรเครดิต สิ่งนี้จะทำให้เกิดหนี้ได้ง่าย เนื่องจากใช้งานง่ายสะดวกแต่ก็มีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเช่นกันหากบริการจัดการเงินในส่วนนี้ไม่ดี และอาจสร้างความเดือดร้อนได้ แต่หากใช้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธี มีวินัย ก็จะช่วยให้เกิดประโยชน์ในด้านการบริหารการเงินได้เป็นอย่างดี เมื่อตรวจสอบทุกอย่างและพบว่าพร้อมลงทุน ก็เข้าสู่ขั้นตอนการลงทุน ดังนี้ 1.ตั้งเป้าหมายในการลงทุนให้ชัดเจน การในการลงทุนเราจะต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าเราจะลงทุนไปเพื่ออะไร เช่น ลงทุนเพื่อใช้เงินในวัยเกษียณอายุ เพื่อบุตร หรือเพื่อซื้อบ้าน เป็นต้น และควรระบุรายละเอียดด้วยว่าเป้าหมายดังกล่าวมีมูลค่าเท่าไร ใช้ระยะเวลากี่ปีในการเก็บเงิน ซึ่งหากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วก็จะทำให้เราเห็นทางที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นได้ 2.รู้ระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ เพราะความสามารถและความเต็มใจในการรับความเสี่ยงของแต่ละคนไม่เท่ากัน จะต้องประเมินตัวเองก่อนว่ายอมรับความเสี่ยงได้ระดับใด ซึ่งระดับความเสี่ยงนั้นมี ความเสี่ยงได้ต่ำ ปานกลาง หรือสูง และเมื่อได้รู้ระดับความเสี่ยงแล้วก็จะได้รู้สัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทและผลตอบแทนคาดการณ์ของพอร์ตลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงนั้น 3.กระจายความเสี่ยง เมื่อรู้ระดับความเสี่ยงในการลงทุนของตัวเองแล้ว นักลงทุนจะต้องพยายามลดความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนให้อยู่ในระดับต่ำสุดเท่าที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งวิธีนั้นก็คือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน หรือบริหารจัดการพอร์ต (Portfolio) การลงทุนของตัวเองให้มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดและมีความเสี่ยงหรือความผันผวนในผลตอบแทนต่ำที่สุด 4.อย่ามองข้ามผลประโยชน์ทางภาษี แม้บางคนอาจจะยังไม่ต้องเสียภาษี หรือเลือกใช้วิธีการประหยัดภาษีด้วยวิธีอื่นแทน แต่การเลือกเครื่องมือลงทุนที่ได้ประโยชน์ทางภาษีก็เป็นข้อได้เปรียบด้วย หากเป็นพนักงานประจำ คือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่หากประกอบอาชีพอิสระหรือที่ทำงานไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่หากประกอบอาชีพอิสระสามารถลงทุนในกองทุนรวมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) 5.การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการลงทุนแบบหนึ่งที่เหมาะวัยหนุ่มสาวที่ต้องการลงทุนในระยะยาว คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน DCA (Dollar-Cost Averaging) คือ การลงทุนแบบทยอยลงทุนเป็นงวดๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุน หรือสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อคาดหวังว่ามูลค่าของสินทรัพย์ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องการ โดยไม่สนใจความผันผวนของมูลค่าระหว่างทาง ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกไม่ยุ่งยากซับซ้อนและเห็นผลได้จริง ข้อควรรู้ นอกจากต้องศึกษาทำความเข้าใจเครื่องมือการลงทุนแต่ละประเภท หมั่นหาความรู้รอบตัวเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ยังต้องเพิ่มความระมัดระวัง ตรวจสอบแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือก่อนลงทุนด้วย โดยเลือกติดต่อกับผู้ให้บริการที่มีใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยตรง หรือตรวจสอบก่อนว่าเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ผ่านแอปพลิเคชัน SEC Check First เป็นต้น เพียงสละเวลา ตั้งข้อสังเกตและตรวจสอบ อย่ามองแต่โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูงเพียงอย่างเดียว พิจารณาถึงความเป็นไปได้ก็จะช่วยให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี และลงทุนได้อย่างสบายใจ ที่มา : https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/87-tsi-5-tips-to-invest-since-young
ความฝันของมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ต้องมีสักแว๊บหนึ่งที่เรานึกถึง การลาออกจากงานประจำไปเป็นเริ่มธุรกิจที่ใฝ่ฝันแล้วได้เป็นนายตัวเอง อิสระทางการทำงานที่เรากำหนดได้ แต่การจะเริ่มทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ ที่ไม่ว่าใครก็อยากมีธุรกิจหรือแบรนด์เป็นของตัวเองจึงไม่ใช่เรื่องง่าย คุณควรตั้งสติ คิดให้รอบคอบ และมองให้รอบด้านก่อนที่ตัดสินใจยื่นใบลาออก ควิกวอชเลยจะพาคุณมาสำรวจความพร้อม และข้อควรรู้ก่อนเริ่มธุรกิจว่าต้องรู้อะไรบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกันเลย 1.สำรวจความพร้อมด้านการเงิน เมื่อคุณตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อเริ่มทำธุรกิจ สิ่งที่คุณต้องเตรียมใจคือ คุณจะขาดรายได้หลัก ที่จะได้รับเป็นเงินก้อนทุกเดือน หรือเงินเดือนนั่นเอง คุณต้องเช็กก่อนเลยว่า คุณมีเงินเก็บส่วนตัวเท่าไหร่? รายจ่ายที่คุณต้องเสียในแต่ละเดือนเท่าไหร่บ้าง? อย่างเช่น ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้านหรือคอนโด รวมถึงหนี้สินจากบัตรเครดิตต่าง ๆ คุณควรเตรียมความพร้อมด้านการเงินโดยการเคลียร์หนี้สินให้ได้มากที่สุดก่อนตัดสินใจลาออก เพื่อลดค่าใช้จ่ายขณะสร้างธุรกิจ คำนวณค่าใช่จ่ายทั้งหมดว่าคุณควรหาเงินต่อเดือนเท่าไหร่ เพื่อให้ธุรกิจที่คุณจะเริ่มทำ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด เมื่อสามารถวางใจเรื่องหนี้สินได้แล้ว สิ่งที่คุณต้องเตรียมให้พร้อมต่อมาคือ เงินลงทุน แน่นอนว่าไม่ว่าจะเริ่มธุรกิจไหน ก็ต้องใช้เงินสักก้อนแน่นอน คุณควรสำรวจเงินทุนส่วนตัวว่ามีมากน้อยแค่ไหน? เหมาะสมกับธุรกิจที่อยากทำหรือไม่? และเงินนั้นมากพอในการขยายธุรกิจระยะยาวไหม? ต้องใช้เงินทุนอีกเท่าไหร่? ศึกษาหรือมองหาแหล่งเงินทุนอื่นไว้บ้างหรือยัง? และที่สำคัญที่สุดคือ การลงทุนมีความเสี่ยง คุณควรมีเงินเก็บฉุกเฉินไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากเริ่มสร้างธุรกิจไปแล้ว เพราะมีปัจจัยมากมายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อธุรกิจของเราได้ คุณจึงควรสำรองเงินส่วนนี้ไว้ และควรมองหาแหล่งเงินทุนที่เราสามารถหยิบยืม หรือกู้มาเพื่อประคองธุรกิจของเราได้ ในกรณีที่เกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น 2.สำรวจความชอบของตัวเอง เงินพร้อม ใจต้องพร้อมด้วย หากคิดจะทำธุรกิจให้ยั่งยืน ส่วนที่สำคัญอันดับต้น ๆ นั่นก็คือ แพสชั่น (Passion) หรือความหลงไหลในบางสิ่งบางอย่าง ถ้าเราได้ทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราชอบ อาจทำให้ธุรกิจของเราไปได้ไกลและอยู่ยาวมากยิ่งขึ้น โดยไม่รู้สึกทดท้อ หมดแรงไปเสียก่อน ซึ่งสิ่งที่ชอบนั้นควรทำเงินให้คุณได้ด้วย แต่ถ้าความชอบของคุณมีมากมายจนไม่รู้จะเลือกทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร ก็สามารถหยิบจับความถนัด หรือสามารถพิเศษที่คุณมีมาต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ เช่น คุณเป็นคนชอบทำอาหาร ก็เริ่มจากการทำธุรกิจร้านอาหารจัดส่งพื้นที่ใกล้บ้าน ส่งเดริเวอรี่ในแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ หรือถ้าหากคุณชอบดูแลรถยนต์ ก็เริ่มจากการทำธุรกิจคาร์แคร์ แต่งรถ หรือธุรกิจร้านล้างรถเล็ก ๆ หากธุรกิจเริ่มเข้าที่ และมีแนวโน้มที่จะขยายธุรกิจต่อไปได้ ถึงตอนนั้น คุณค่อยเริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ และพัฒนาทักษะในการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตต่อไป แต่ถ้าสุดท้ายแล้วคุณตัดสินใจไม่ได้ว่าจะลงทุนทำธุรกิจอะไร และความถนัดของตัวเองก็หลากหลาก การหยิบยกธุรกิจของครอบครัวที่เคยทำมาแล้วแต่เลิกทำไป หรือธุรกิจกงสีของครอบครัว มาปรับและต่อยอดด้วยวิธีใหม่ ๆ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย เพราะคุณจะได้ผู้มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำตลอดเส้นทางการสร้างธุรกิจของคุณ ให้สามารถวางแผนธุรกิจได้รอบคอบมากขึ้น และไม่ผิดพลาดซ้ำรอยเดิม 3.ทำความรู้จักธุรกิจแต่ละประเภท ก่อนที่เราจะเริ่มลงทุน ไม่ว่ากับธุรกิจไหนก็ตาม เราควรศึกษาความแตกต่าง จุดคุ้มทุน และข้อดีข้อเสียของธุรกิจแต่ละประเภทนั้นก่อน เปรียบเทียบว่าธุรกิจไหนบ้างที่เป็นธุรกิจน่าลงทุน มองเห็นอนาคตที่ยั่งยืนจากธุรกิจนั้นหรือไม่ อย่างเช่น ทำธุรกิจอะไรดี? กลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร? มีหน้าร้านหรือทำเป็นออนไลน์ดีกว่ากัน? ถ้าอยากเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-Up) ต้องทำอย่างไรบ้าง? สร้างความเติบโตอย่างรวดเร็วได้อย่างไรบ้าง? มีความแตกต่างจากการลงทุนกับ ธุรกิจSME (Small and Medium Enterprises) อย่างไร? ธุรกิจSMEยอดฮิตมีอะไรบ้าง? ถ้าการเริ่มนับหนึ่งในการสร้างธุรกิจมันยาก ใครที่สามารถช่วยเราได้บ้าง? ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร? แบรนด์ที่เราสนใจจะลงทุนด้วยเป็นอย่างไร? ซื้อแฟรนไชส์จะสำเร็จเร็วกว่าการสร้างธุรกิจเองจริงไหม? ถ้าซื้อแฟรนไชส์มาทำจะไปรอดไหม จุดคุ้มทุนอยู่ที่ปี? โอกาสและอุปสรรคที่จะขัดขวางธุรกิจมีอะไรบ้าง? ถ้าคุณศึกษาข้อมูลมากพอ และสามารถตอบคำถามได้ครบทุกข้อ การเริ่มธุรกิจก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แถมยังสามารถวางแผนธุรกิจในระยะยาวได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 4.สำรวจเทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจ เทรนด์ธุรกิจในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณต้องศึกษาและตามเทรนด์ที่ตลาดต้องการให้ทัน พยายามสำรวจว่าอะไรที่กำลังเป็นกระแส และอันไหนที่สามารถหยิบจับมาต่อยอดกับธุรกิจของตัวเองได้บ้าง ยิ่งถ้าคุณยังไม่รู้ว่าจำเริ่มทำธุรกิจหรือลงทุนอะไรดี การเลือกสิ่งที่กำลังเป็นกระแสมาทำธุรกิจก็จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้นได้เช่นกัน อาจจะเริ่มจากธุรกิจออนไลน์ แล้วจึงขยายให้เติบโตมากยิ่งขึ้น แต่การสร้างธุรกิจจากกระแสความนิยมของคนส่วนใหญ่อาจไม่ยั่งยืนนัก เพราะเมื่อความนิยมหรือเทรนด์เปลี่ยนไป หรือเจอคู่แข่งในสายธุรกิจเดียวกันที่มาแรงกว่า อาจทำให้ธุรกิจของเราเจอกับทางตันได้ ดังนั้นเราควรมีแผนสำรองไว้เพื่อปรับตัวให้ธุรกิจไปต่อได้ และที่สำคัญคุณควรสร้างความแตกต่าง จุดเด่น และมองหาความ Unique ของธุรกิจของคุณให้เจอ เพื่อวางจุดยืนของธุรกิจให้มั่นคง หมดกังวลเรื่องตกเทรนด์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 5.ศึกษาการวางแผนและบริหารจัดการธุรกิจ สิ่งสุดท้ายที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มสร้างธุรกิจคือ การวางแผนธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะเลือกลงทุนกับธุรกิจอะไร การเขียนแผนธุรกิจและวางเป้าหมายนั้นสำคัญมาก เพราะเงินทุนก้อนนี้คุณไม่ได้เอามาทำอะไรเล่น ๆ แล้วทิ้งให้มันเสียหาย หรือปล่อยให้เจ๊งไปง่าย ๆ การเขียนแผนธุรกิจจะทำให้เราสามารถดำเนินธุรกิจไปอย่างมีแบบแผนขั้นตอน และสามารถสร้างการเติบโตของกำไรให้กับธุรกิจได้ด้วย นอกจากวางแผนแล้ว การทำให้เป็นไปตามแผนก็สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อธุรกิจนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการบริหารจัดการของคุณแล้ว คุณจำเป็นต้องเพิ่มทักษะด้านการบริหารจัดการธุรกิจให้กับตัวเอง และถ้าหากคุณไม่ได้จบการศึกษาหรือมีประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารงานมา ยิ่งควรเร่งศึกษาและพัฒนาทักษะในด้านนี้ให้มั่นใจก่อนเริ่มธุรกิจ เพราะเมื่อเริ่มธุรกิจไปแล้วอาจจะมีปัญหามากมายให้คุณต้องจัดการ อย่างเช่น การบริหารจัดการคน แรงงานในการสร้างธุรกิจ การบริหารเงินทุน วิธีจัดการหาพันธมิตรทางการค้าหรือ Supplier การบริหารเวลา หรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทักษะการบริหารหรือเคล็ดลับการลงทุนเหล่านี้ คุณสามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นด้วยตัวเองได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต คลิปวิดีโอถอดรหัสธุรกิจเจ้าของธุรกิจชื่อดังแบรนด์ต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ หรือสามารถสมัครคอร์สเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อเรียนรู้ให้อย่างละเอียด และปรับใช้ได้จริงก็ได้เช่นกัน เห็นไหมว่า การเริ่มธุรกิจและเป็นเจ้านายตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่คิดจะทำก็ทำได้เลย แต่ก็เป็นไปได้ไม่ยากนัก หากเราศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดมากพอ เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่คิดจะเริ่มธุรกิจเป็นตัวเองสามารถทำตามความฝันได้สำเร็จ สำหรับใครที่มีความพร้อมด้านการเงิน และอยากลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่าง แต่เลือกไม่ถูกว่าจะทำธุรกิจอะไร ลองศึกษาธุรกิจพาร์ทเนอร์และแฟรนไชส์ของ Quickwash ดูก่อนได้ ธุรกิจล้างรถอัตโนมัติของเราเป็นธุรกิจที่เตรียมความพร้อมไว้ให้คุณแล้ว บริหารจัดการง่าย คืนทุนไว ใช้คนน้อย ไม่ต้องปวดหัวเรื่องการบริหารจัดการคน เราพร้อมซัพพอร์ตและคอยช่วยเหลือธุรกิจของคุณตลอดอายุสัญญา ในครั้งหน้าเราจะเอาเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจเรื่องไหนมาฝากอีก กดติดตามไว้ได้เลย
เราทุกคนรู้ดีว่าการเริ่มทำธุรกิจ เพื่อสร้างตัวและเป็นเจ้านายตัวเองนั้น มีปัจจัยสำคัญอยู่หนึ่งอย่างที่ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้ว เราจะไม่สามารถสร้างธุรกิจใดได้เลย สิ่งนั้นก็คือ “เงินทุน” ซึ่งไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ เงินทุนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะช่วยต่อยอดไอเดียต่าง ๆ ให้เป็นรูปเป็นร่างและสามารถดำเนินธุรกิจนั้นต่อไปได้อย่างไม่สะดุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากว่าธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-Up) คุณยิ่งจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนบ่อใหญ่เพื่อใช้สำหรับขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ในอนาคตต่อไป แต่จะมีแหล่งเงินทุนไหนบ้างที่คุณศึกษาไว้บ้าง ควิกวอชจะพามารู้จักแหล่งเงินทุนสำหรับชาว Start Up ไปพร้อมกัน แหล่งเงินทุนที่ 1 : ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เงินทุนแหล่งแรกที่ชาวสตาร์ทอัพต้องทำความรู้จักก็คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) หรือที่คนในวงการธุรกิจส่วนใหญ่เรียกด้วยตัวย่อว่า “VC” นักลงทุนในรูปแบบขององค์กรระดมทุน ที่มักจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นส่วน (Partners), นักค้นคว้าและวิจัยข้อมูล (Researchers), และ นักวิเคราะห์ (Analyst) เพื่อคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพที่เหมาะสมที่สุดในการร่วมลงทุนด้วย และยังคอยให้คำปรึกษา แนะนำแนวทาง รวมถึงให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3-5 ปี โดยจะเริ่มลงทุนตั้งแต่ระยะแรกกับบริษัทที่มองเห็นว่ามีศักยภาพและโอกาสในการเติบโต (High Growth) ระยะยาวต่อไปได้ ซึ่งการลงทุนมักจะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “High Risk, High Return” หรือ “เสี่ยงมาก-ผลตอบแทนมาก” ซึ่งผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ มักจะได้ Ownership ในหุ้นของบริษัท และได้ที่นั่งในบอร์ดบริหารอีกด้วย แหล่งเงินทุนแบบ VC มักจะสนับสนุนธุรกิจหรือบริษัทที่มี 3 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจที่กำลังเริ่มก่อตั้งในช่วงระยะเริ่มต้น ธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการ หรือต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่ บริษัทที่ต้องการเข้าซื้อหุ้นของกิจการหนึ่งๆโดยใช้เงินที่กู้ยืมเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ (Leveraged Buyout หรือ Management Buyout) แหล่งเงินทุนที่ 2 : นักลงทุนอิสระ (Angel Investor) นักลงทุนอิสระมักจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “ผู้มีความมั่งคั่งพิเศษ (High Net Worth Investors)” โดยนักลงทุนกลุ่มนี้จะใช้เงินของตัวเองในการลงทุน ซึ่งแตกต่างจาก VC ทำให้เงินทุนที่มีไม่สูงมากนัก เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้เงินลงทุนไม่กี่ล้านบาท มักจะช่วยลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะเริ่มต้น ไม่ได้หวังเพียงแค่เงินเป็นค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่จะคอยช่วยเหลือ และใช้ประสบการณ์ในด้านการบริหารช่วยโอบอุ้มธุรกิจให้อยู่รอด พัฒนาได้ด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จ สามารถเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นนักลงทุน Angle กลุ่มนี้จึงมักจะได้ที่นั่งในการเป็นผู้บริหารขององค์กร หรือบริษัทสตาร์ทอัพนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย แหล่งเงินทุนที่ 3 : เงินทุนสนับสนุนจากโครงการภาครัฐ (Government Grant) ภาคธุรกิจของประเทศยังคงขับเคลื่อนและก้าวต่อไปส่วนหนึ่งนั้นได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยภาครัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจในด้านของแหล่งเงินทุน เพื่อที่จะให้นักธุรกิจหน้าใหม่ หรือเหล่าชาวสตาร์ทอัพได้เติบโตต่อไปได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ช่วงต้นของการทำธุรกิจ ภาครัฐมีโครงการลักษณะอบรมจัดทำแผนธุรกิจ (BMC) และ Pitching เพื่อชิงเงินทุนพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และทดลองผลิตเชิงพาณิชย์ออกสู่ตลาด 2.ช่วงกลางของการทำธุรกิจ เมื่อเริ่มวางขายแล้ว จะมีอีกหลายโครงการเข้ามาสนับสนุน เช่น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) หรือขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก OTOP สมัครสมาชิกของ สสว. เพื่อรับสิทธิพิเศษในการช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การอบรม ออกงานแสดงสินค้า ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินทุนในหลายๆ ด้านได้เป็นอย่างดี 3.ช่วงติดปีกของการทำธุรกิจ หากมีผลิตภัณฑ์พร้อมต่อยอด พร้อมขยายธุรกิจ ก็มีอีกหลายหน่วยงานของภาครัฐที่จะมาช่วยเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) แหล่งเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นต้น แหล่งเงินทุนที่ 4 : การระดมทุน (Crowdfunding) แหล่งเงินทุนสุดท้ายการระดมเงินทุนจากคนจำนวนมากทั่วโลกผ่านแพลตฟอร์มบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า “Funding Portal” ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของเหล่าผู้ประกอบการนั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จำนวนมาก โดย Crowdfunding นั้นมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1.Donation Crowdfunding เป็นการระดมทุนและให้การสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่มักได้รับการร่วมระดมทุนคือ ธุรกิจที่เน้นช่วยเหลือสังคม หรือที่เรามันจะคุ้นเคยในนาม “องค์กรการกุศล” 2.Reward Crowdfunding เป็นการสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยผลตอบแทน เปรียบเสมือนการพรีออเดอร์ (Pre-Order) ที่จะทำการระดมเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจนำเงินไปสร้างสินค้าและบริการก่อน โดยผู้ระดมทุนจะได้รับสินค้าและบริการที่ผลิต หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสินค้านั้นตอบแทนในอนาคต 3.Equity Crowdfunding นักลงทุนจะมีสิทธิในหุ้นของกิจการที่นักลงทุนให้เงินลงทุนไป โดยนักลงทุนจะได้รับหุ้นแลกกับเงินทุน พร้อมโอกาสในการได้รับเงินปันผลจากธุรกิจในอนาคต 4.Peer to Peer Lending (P2P Lending) เป็นรูปแบบที่คล้ายกับสินเชื่อส่วนบุคคล เสมือนเป็นการขอสินเชื่อที่ผู้กู้มาขอระดมทุนจากนักลงทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า โดยระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะมีสัญญากู้ยืม และทำการชำระคืนเป็นงวด ๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา และทั้งหมดนี้คือ 4 แหล่งเงินทุนดี ๆ ที่ควิกวอชอยากแนะนำให้ชาว Start Up ได้รู้จักกัน ซึ่งการลงทุนในยุคสมัยนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดผันผวนได้ง่าย ส่งผลให้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านมีแนวโน้มที่จะมาลงทุนในธุรกิจ Startup มากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นคงกว่าธุรกิจอื่น แหล่งเงินทุนใหม่ ๆ จึงเกิดขึ้นได้ทุกวัน เหล่านักธุจกิจมือใหม่อย่างเราอย่าเพิ่งหมดหวัง ควิกวอชจะเฟ้นหาสาระดี ๆ แบบนี้มาฝาก พร้อมเป็นกำลังใจให้ทุกคนอีกแน่นอน ส่วนใครที่กำลังมองหาธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก ลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท แต่คืนทุนไวภายใน 2 ปี เราขอแนะนำให้คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความฝันของการเป็นร้านล้างรถอัตโนมัติอันดับหนึ่งในใจคนไทย ด้วยการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Quickwash และเติบโตด้วยกันไปอย่างยั่งยืน สนใจร่วมลงทุนกับเราคลิกด้านล่างได้เลย ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก disruptignite.com, truedigitalpark.com, smethailandclub.com
ในยุคที่เทคโนโลยีทำให้เราสามารถสร้างธุรกิจได้ง่ายขึ้น บวกกับโซเชียลมีเดียที่มีคอนเทนต์สอนวิธีสร้างอาชีพและรายได้ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้สบาย ๆ ทำให้ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนทำธุรกิจ และเริ่มอยากเป็นเจ้านายตัวเองกันมากขึ้น ธุรกิจ SME จึงเป็นรูปแบบธุรกิจที่มาแรง ถูกค้นหาและศึกษากันมากขึ้นเช่นเดียวกัน แล้วธุรกิจ SME เป็นธุรกิจแบบไหน คนส่วนใหญ่นิยมลงทุนธุรกิจ SME ประเภทไหนกันบ้าง ควิกวอชเลยจัดมาให้ถึง 12 ธุรกิจ SME สุดฮิต บริหารง่ายไม่ต้องปวดหัว จะมีธุรกิจอะไรบ้างที่น่าสนใจและน่าลงทุนบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกันเลย ธุรกิจ SME คืออะไร? ธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี) ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises ซึ่งหมายถึง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีลักษณะการบริหารอย่างอิสระ ไม่อยู่ใต้การควบคุมของธุรกิจหรือบุคคลอื่นบุคคลใด หรือผู้บริหารเป็นเจ้าของกิจการตัวเองนั่นเอง อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนในการลงทุนต่ำ และมีพนักงานจำนวนน้อย ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบไปด้วย คณะบุคคล บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศไทยมีลักษณะดังนี้ ประเภทของธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง? ประเภทของธุรกิจ SME หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กิจการด้านการผลิตสินค้า (Manufacturing Sector) เป็นกลุ่มกิจการที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งครอบคลุมถึงการผลิตที่เป็นลักษณะของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเหมืองแร่ จัดว่าเป็นกลุ่มกิจการที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะมีส่วนช่วยในด้านพัฒนาธุรกิจ การจ้างงาน และกำลังคนได้เป็นอย่างดี กิจการด้านการค้าส่ง (Wholesale Sector) และค้าปลีก (Retail Sector) เป็นกลุ่มกิจการที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง ดำเนินกิจการโดยการซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาเพื่อจัดจำหน่าย โดยรวมทั้งกิจการค้าส่ง และค้าปลีก เช่น ร้ายขายของชำ ร้านทอง เป็นต้น และยังมีความหมายรวมถึงการเป็นนายหน้า หรือตัวแทนการซื้อขาย สถานีบริการน้ำมัน และสหกรณ์ผู้บริโภคอีกด้วย กิจการด้านการให้บริการ (Service Sector) เป็นกลุ่มกิจการที่ไม่ได้เน้นจัดจำหน่ายสินค้าที่จับต้องได้ แต่ให้บริการหรือขายบริการ โดยมีผู้ให้บริการเป็นพนักงานของกิจการเอง ครอบคลุมถึงกิจการด้านการศึกษา สุขภาพ การขนส่ง ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ธุรกิจโรงแรม กิจการประกันภัย ร้านเสริมสวย หรือร้านล้างรถ เป็นต้น แนะนำ 12 ธุรกิจ SME น่าลงทุนในปัจจุบัน สำหรับใครอยากเริ่มทำธุรกิจในยุคนี้ ควิกวอชขอแนะนำธุรกิจ SME ที่น่าลงทุน เป็นไอเดียแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ฝันอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง เราคัดมาฝากแบบเน้น ๆ เปิดหมดไม่หมกเม็ด ยึดข้อมูลจากผลสำรวจยอดขายรายไตรมาส ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับฐานข้อมูล SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รับประกันความน่าเชื่อถือ จะมีธุรกิจน่าลงทุนกลุ่มไหนที่ตรงกับความรู้ความสามารถของคุณบ้าง มาดูกันเลย ธุรกิจขายของออนไลน์ อันดับหนึ่งของธุรกิจ SME ยอดฮิตจะเป็นธุรกิจอะไรไม่ได้ นอกจาก ธุรกิจขายของออนไลน์ เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องลงทุนเยอะ ไม่ต้องเช่าหน้าร้าน อีกทั้งยังมีช่องทางขายหลายแพลตฟอร์มให้เลือกใช้ และผลสำรวจหลายแห่งยืนยันว่าตลาดขายของออนไลน์ในเมืองไทยยังสามารถเติบโตต่อได้อีก ใครที่กำลังสนใจขายของออนไลน์ ไม่ผิดหวังแน่นอน ธุรกิจร้านโชห่วย ปฏิเสธไม่ได้ว่ากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ร้านโชห่วย เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการรุกคืบเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาบรรดาทุนใหญ่แห่งวงการค้าปลีกไทยเริ่มขยับตัวเปิดมิติใหม่ให้กับร้านโชห่วยเล็ก ๆ ในชุมชนด้วยการเป็นพาร์ทเนอร์ ปรับภาพลักษณ์โชห่วยให้ดูทันสมัยขึ้น โดยร้านโชห่วยจะต้องรับสินค้าส่วนใหญ่จากบริษัทค้าปลีก เป็นตัวช่วยในการกระจายสินค้า เป็นการเติบโตไปแบบเอื้อเฟื้อกันมากขึ้น ธุรกิจจัดงานแข่งขันหรืออีเวนต์กีฬา หลังจากที่ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ คาดว่า งานวิ่ง งานแข่งจักรยาน มวย ที่เติบโตอย่างมากภายหลัง จะสามารถสร้างรายได้ให้ธุรกิจ SME กลุ่มนี้มากถึง 1,504 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้การจัดงานอีเวนท์เหล่านี้ยังช่วยกระจายรายได้ไปทั่วประเทศ เนื่องจากการเดินทางไปร่วมกิจกรรมและการท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเกม ภาพรวมรายได้ของธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 10.5% ต่อปี ตามทิศทางของภาคธุรกิจที่เน้นการใช้กลยุทธ์ Digital transformation เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคแบบเฉพาะเจาะจง รวมทั้งวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ (New normal) ที่คาดว่าจะต้องพึ่งพาการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจเกมยังสามารถขยายขอบเขตการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ VR และก้าวเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สและสื่อโฆษณาดิจิทัลอื่นๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย ธุรกิจบริการจัดเลี้ยงและให้เช่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มฟื้นตัว ธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เคเทอริ่ง” (Catering) เป็นธุรกิจที่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ซึ่งธุรกิจนี้เป็นช่องทางการตลาดใหม่ของบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหาร, ธุรกิจ SME และแฟรนไชส์อีกด้วย ผลสำรวจหลายแห่งพบว่าหลังสถานการณ์โควิดเริ่มฟื้นตัว ทำให้ธุรกิจนี้มีอัตราเติบโตสูงถึง 20% เมื่อเทียบกับในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจขายของมือสอง หนึ่งในธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนต่ำที่สุด หรือแทบจะไม่ต้องใช้เงินลงทุนเลยนั่นก็คือ ธุรกิจขายของมือสอง ธุรกิจที่มองหาสินค้าได้จากรอบ ๆ ตัว มีของหลายอย่างที่เราไม่ได้ใช้แล้วแต่สามารถเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เป็นเงินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ที่กระแส Y2K กำลังกลับมา ทำให้ของเก่ายิ่งมีมูลค่ามากขึ้น ทำให้ธุรกิจนี้น่าสนใจไม่น้อยเลย ธุรกิจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกิจขนาดเล็กทั้งหมด ซึ่งในปีที่ผ่านมาถึงแม้ธุรกิจจะมีรายได้ที่ลดลงแต่ยังคงมีกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยในรอบ 5 ปี เท่ากับ 6% และคาดว่าจะยังคงรักษาระดับการทำกำไรได้ต่อไปในอนาคต ธุรกิจโหราศาสตร์และความเชื่อ หรือธุรกิจสายมู หนึ่งในกลุ่มธุรกิจกลับมาฟื้นตัวและมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง คือ ธุรกิจโหราศาสตร์และความเชื่อหรือธุรกิจสายมู ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่พยายามใช้กระแสความปังจากวงการมูเตลูเป็นไอเดียในการต่อยอดกับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เค้กลายมูเตลู วอลล์เปเปอร์มือถือเสริมดวง สร้อยข้อมือเสริมมงคล น้ำหอมสายมู กระเป๋าสตางค์เรียกทรัพย์ หรืออื่นๆ อีกมากมาย ธุรกิจการท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมชนบท การจัดการท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมชนบทได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาภาคเอกชน เข้ามาสนับสนุนด้านการฝึกฝนอบรมการจัดการด้านต่าง ๆ หรือการนำกลุ่มชาวบ้านออกไปดูงานตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น และทำให้การท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมชนบทกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ฟื้นตัว ธุรกิจด้านบันเทิง ผู้คนทั่วโลกต่างใช้เวลา และเงินในกระเป๋าไปกับสื่อบันเทิงที่สามารถเข้าถึงได้เองผ่านสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้นในช่วงวิกฤตโรคระบาด มี Tiktok เข้าเป็นแพลตฟอร์มใหม่ เปรียบเสมือนดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการธุรกิจบันเทิง ไม่ว่าแบรนด์ไหนต่างปรับตัวสร้างความบันเทิงเพื่อต่อยอดธุรกิจให้สามารถสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น ธุรกิจด้านจัดทำคอนเทนต์ Content Marketing ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ประหยัดงบในการทำการตลาดได้ถึง 62% เมื่อเทียบกับการตลาดแบบดั้งเดิมอย่าง ทีวี หรือหนังสือพิมพ์ ธุรกิจด้านจัดทำคอนเทนต์จึงเป็นธุรกิจ SME ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ธุรกิจแฟรนไชส์ หากคุณมีธุรกิจที่ชื่นชอบอยู่แล้วแต่ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร การซื้อแฟรนไซส์คงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งแฟรนไชส์ในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายหลายประเภท มีฐานของลูกค้าของแบรนด์ของแฟรนไชส์อยู่แล้ว อีกทั้งยังได้คำแนะนําที่จะช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย และทั้งหมดนี่คือธุรกิจ SME ที่น่าสนใจ และน่าลงทุนที่สุดในปี 2023 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจเหล่านี้กำลังมาแรงจริง ๆ ใครที่กำลังมองหาธุรกิจที่น่าลงทุนและถึงจุดคุ้มทุนไว ก็ลองศึกษาธุรกิจเหล่านี้เพิ่มเติมได้เลย หรือถ้าอยากลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ล้างรถอัตโนมัติก็ต้องลงทุนกับ Quickwash เท่านั้น เพราะเป็นธุรกิจล้างรถที่คืนทุนไว บริหารง่าย ไม่ต้องปวดหัวเรื่องคน สนใจลงทุนแฟรนไชส์กับควิกวอชสามารถคลิกด้านล่างได้เลย
“ควิกวอช” ธุรกิจล้างรถอัตโนมัติ วิสัยทัศน์มุ่งมั่นเติบโตอย่างอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ควิกวอช ได้ขยายสาขา เปิดตัวแฟรนไชส์ แรกอย่างเป็นทางการกันที่ ปั๊มปตท.เศรษฐกิจ ซึ่งตั้งอยู่ที่ 174 ม.6 ตำบล บางน้ำจืด อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีการฉลองสาขากันอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการเปิดให้บริการล้างรถฟรีทั้งหมด 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 16 - 18 เมษายน 2566 แฟรนไชส์ล้างรถ อัตโนมัติ มาตรฐาน โดยใน 3 วันที่ผ่านมาได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าในพื้นที่เป็นอย่างดี มีรถเข้ามาร่วมใช้ บริการ ล้างอัตโนมัติ เป็นจำนวนมาก ซึ่งลูกค้าที่มาใช้บริการ นอกจากจะได้รับรถที่สะอาดเหมือนใหม่แล้ว ลูกค้าทุกท่านจะได้รับบริการที่ดีมีมาตรฐานของ ควิกวอช “มาตรฐาน 4 ส” ดังนี้ สปีด = ล้างรถอัตโนมัติ เร็วใน 7 นาที สมาย = ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมให้บริการ สหาย = บริการด้วยความจริงใจ เสมือนคนครอบครัว สะอาด = ดูแลรถลูกค้าเป็นอย่างดี ใส่ใจทุกรายละเอียด อีกทั้งยังมีการอบรมพนักงาน สร้างคติประจำใจ พร้อมสื่อสารถึงลูกค้า ภายใต้สโลแกน “เร็วกว่าที่คิด เป็นมิตรกว่าที่เคย” รับรองว่าประทับใจกลับไปแน่นอน เมื่อได้ใช้บริการที่ ควิกวอช ทุกสาขา รวมทั้ง Quickwash Franchise สาขา ปตท.เศรษฐกิจ ควิกวอช สาขานี้ถือว่าเป็นการเปิดสาขาในรูปแบบ แฟรนไชส์ (Franchise System) สาขาแรก ของ ควิกวอช โดยการลงทุนในรูปแบบนี้ใช้เงิน ลงทุนแฟรนไชส์ 2.7 ล้านบาท ในส่วนนี้ผู้ลงทุนจะเป็นผู้บริหารจัดการร้านควิกวอชเองทั้งหมด ควิกวอชเองจะคอยดูแลให้คำปรึกษาช่วยเหลือในทุกขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ก่อนเปิดร้านไปจนถึงกระบวนการหลังจากเปิดร้านแล้ว มั่นใจได้ว่าเราจะเติบโตไปพร้อมๆ กันอย่างยั่งยืน แฟรนไชส์ในกระแส “ธุรกิจล้างรถ อัตโนมัติ” ควิกวอช ใส่ใจทั้งคู่ค้าและลูกค้า เป็น ธุรกิจล้างรถอัตโนมัติ ที่ตอบโจทย์ในยุคสมัยปัจจุบันเป็นอย่างมาก ฉะนั้นหากคุณกำลังมองหาหรือสนใจ ลงทุนแฟรนไชส์ ล้างรถอัตโนมัติ “ควิกวอช” คาร์แคร์ล้างรถ อัตโนมัติ ก็เป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ ที่น่าสนใจ และตอบโจทย์คนยุคใหม่ เป็นธุรกิจที่มีอนาคตเติบโตอย่างยั่งยืนเช่นกัน “คว้าโอกาสลงทุน ธุรกิจยุคใหม่ไว้ใจควิกวอช” สนใจลงทุนสามารถคลิกได้ที่ https://web.quickwashthailand.com/franchise โทร. 092 - 2812771 หรือ 093 - 1782656
เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา QuickWash (ควิกวอช) ร้านล้างรถอัตโนมัติ ล้างรถเร็วใน 7 นาที ราคาเริ่มต้น 89 บาท ฉลองเปิดสาขาใหม่ที่ ปั๊มปตท.คลอง7 ธัญบุรี ตั้งอยู่ที่ 51 ถนน รังสิต - นครนายก ตำบล ลำผักกูด อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี โดยทางควิกวอช ได้มีการฉลองเปิดสาขาด้วยการให้ลูกค้าล้างรถฟรี 3 วัน เพียงลงทะเบียนรับคูปองและนำคูปองไปแสดงที่หน้าร้าน เพียงเท่านี้ก็ได้ล้างรถฟรีไปเลย โดยใน 3 วันที่ผ่านมาได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างดี เฉลี่ยรถที่เข้ามาใช้บริการเกือบ 100 คันต่อวันกันเลยทีเดียว! พร้อมโปรโมชันการตลาดจัดเต็ม หลังจากล้างฟรี 3 วันแล้ว ได้จัดโปรโมชันต่อเพื่อขอบคุณลูกค้าและตอกย้ำความสำเร็จ ตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์นี้ลูกค้าสามารถเข้ามาใช้บริการ ล้างรถในราคาเพียง 49 บาทเท่านั้น! ทุกขนาดทุกไซส์ ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2566 ไปจนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 สาขาที่เปิดใหม่ล่าสุดนี้ เป็นสาขาแรกที่เปิดในรูปแบบโมเดลหุ้นส่วนเจ้าของที่ดิน (Partner Landlord) ลงทุนร่วมกันระหว่างเจ้าของพื้นที่และควิกวอช โดยควิกวอชจะบริหารจัดการเองทั้งหมด หากใครที่สนใจลงทุนสามารถคลิกได้ที่ : https://web.quickwashthailand.com/franchise สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร พร้อมรายละเอียดโปรโมชัน ได้ที่ Facebook Fanpage: Quickwash Thailand และ Line : @quickwash_th หรือ โทร 092-281-2771 พิกัดสาขาปตท.คลอง7 ธัญบุรี : https://goo.gl/maps/mJD7Ud62vfP224Rc
กระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสิ่งของ ก็ถือได้ว่าการตลาดได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว โดยกระบวนการทางการตลาดนั้นจะถูกพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และความเจริญในแต่ละช่วงเวลา โดย การตลาดยุค 1.0 (Marketing 1.0) เน้นเรื่องสินค้าเป็นหลัก และเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป กระบวนการทางการตลาดก็ปรับเปลี่ยนตามไปด้วย บทความนี้เราจะมาเจาะลึกว่าในยุคถัดมาอย่างการตลาดยุค 2.0 จะมีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง มาดูกันเลย การตลาดยุค 2.0 (Marketing 2.0) การตลาดยุค 2.0 (Marketing 2.0) เป็นยุคที่การแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น ในช่วงประมาณปีค.ศ 1965 – 1975 เริ่มมีการผลิตสินค้าที่คล้ายกันออกมาหลายราย จึงทำให้เกิดการช่วงชิงลูกค้าขึ้นในยุคนี้ เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ลูกค้าจึงกลายมาเป็นที่ตั้งและศูนย์กลางแทน หรือที่เรียกว่า Customer Centric กลยุทธ์ที่คิดจากส่วนประสมการตลาดในยุคแรกอย่าง 4P อาจไม่ตอบโจทย์กระบวนการทางการตลาดที่เริ่มเปลี่ยนไป การคิดกลยุทธ์จึงต้องมุ่งเน้นไปยังลูกค้า ภาคธุรกิจเลิกผลิตสินค้าให้กับผู้คน แล้วหันทำตลาดกับกลุ่มผู้บริโภคแบบเจาะจงมากยิ่งขึ้น เป็นยุคที่นักการตลาดเริ่มรู้แล้วว่า ลูกค้าไม่ใช่ทุกคนบนโลก อีกต่อไป เกิดการพัฒนาแนวคิด 4P มาสู่แนวคิดทางการตลาดที่มองจากมุมมองของผู้บริโภค หรือ 4C ขึ้น กลยุทธ์การตลาด 4C 4C คือ รูปแบบกลยุทธ์การตลาดที่คิดจากมุมมองของลูกค้า เพื่อค้นหาว่าลูกค้าต้องการอะไร คิดอย่างไร นำเสนอคุณค่า และมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้า เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจ ช่วยให้สร้างการตลาดที่มีความหมาย และตอบโจทย์ของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งต่างจาก 4P ที่คิดจากมุมมองของแบรนด์ หรือเจ้าของธุรกิจ ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ลูกค้าสนใจ และซื้อสินค้า หรือบริการของเรา โดย 4C มีปัจจัยในการวิเคราะห์ความต้องการอยู่ทั้งหมด 4 ปัจจัย แบ่งเป็นตัว C ทั้งหมด ดังนี้ C – Customer – ลูกค้า Product —> Consumer (wants and needs) จากตอนยุค 1.0 สนใจสินค้า (Product) พอยุค 2.0 ต้องหันมามองที่ลูกค้า (Customer) มากขึ้น เริ่มศึกษาและทำความเข้าใจลูกค้าถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือมองหา อาจมีการสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลว่า ลูกค้ามีปัญหาหรือ Pain Point อะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา หลังจากนั้นจึงนำเสนอสินค้า หรือบริการที่มารองรับความต้องการในจุดนี้ การขายสินค้าหรือการให้บริการนั้น ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค ไม่ใช่เพื่อตอบสนองแค่ตัวผู้ขายเองว่าอยากขายสินค้า หรือให้บริการตัวนี้เท่านั้น C – Cost – ความคุ้มค่าของลูกค้า Price —> Cost จากตอนยุค 1.0 สนใจราคา (Price) พอยุค 2.0 ต้องหันมาดูที่ความคุ้มค่า (Cost) ลูกค้าเริ่มเกิดการเปรียบเทียบระหว่างราคาและคุณภาพที่ได้รับ ลูกค้าไม่ได้สนใจว่าค่าวัตถุดิบจะมีราคาเท่าไร ค่าขนส่งแพงขึ้นหรือไม่ แต่ลูกค้าจะมองว่า เงินที่พวกเขาจะจ่ายนั้นคุ้มค่ากับสินค้าหรือบริการหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการตั้งราคาให้เหมาะสมกับตัวสินค้าเท่านั้น แต่ยังต้องตั้งตามเวลาการบริการ ความรู้สึก และปัจจัยต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องแลกกับการซื้อสินค้า หรือใช้บริการของเรา การตั้งราคาสินค้าควรตั้งให้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า และความคุ้มค่าที่ลูกค้าได้รับ หากสินค้าราคาสูงมาก และคุณภาพก็ควรจะสูงตามไปด้วยเช่นกัน ลูกค้าจึงจะยอมจ่ายเพราะรู้สึกคุ้มค่า และสมเหตุสมผล C – Convenience – ความสะดวกสบายในการซื้อและใช้บริการของลูกค้า Place —> Convenience จากตอนยุค 1.0 สนใจสถานที่จัดจำหน่าย (Place) มาสู่การอำนวยความสะดวกสบาย (Convenience) ในยุค 2.0 โดยอาจต้องศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าว่ามีการเข้าถึงสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางใดบ้าง รวมไปถึงการชำระเงินช่องทางไหนที่สะดวกสบายที่สุดสำหรับลูกค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและการเข้าถึงให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายให้มากยิ่งขึ้น C – Communication – การสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จากตอนยุค 1.0 สนใจการส่งเสริมการขาย (Promotion) มาเป็นการสื่อสาร (Convenience) ในยุค 2.0 จากเดิมที่ใช้การเชิญชวน กล่อม หรือชี้นำให้ผู้บริโภคสนใจในสินค้าหรือบริการ แต่ในยุคนี้รูปแบบการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไป เริ่มคำนึงถึงการสื่อสารว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ข้อความแบบไหน ผ่านสื่อรูปแบบอะไรที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด นอกจาก 4C เริ่มมีการใช้กลยุทธ์ STP ในการวางแผนการตลาด คือ การแบ่งส่วนการตลาด (Segmentation) การเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) การวางตำแหน่งหรือจุดยืนของธุรกิจ (Positioning) การขายสินค้าเน้นทั้งการขายแบบนำเสนอคุณสมบัติและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงเริ่มมีการสร้างจุดขายทางด้านอารมณ์ (Emotional) เริ่มมีการสื่อสารสองทางระหว่างเจ้าของสินค้าและลูกค้า และการทำ CRM หรือการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นยุคที่แบรนด์นั้นกลายเป็นสินทรัพย์ (Asset) เริ่มมีการตีตราเป็นมูลค่าทั้งในสิ่งที่จำต้องได้และจับต้องไม่ได้ Marketing 2.0 จึงเป็นยุคที่เน้นเรื่องทำความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง แทนที่จะอัดทุกอย่างลงในสินค้าเพื่อหวังว่าจะขายทุกคน แต่ทำสินค้าให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่มมายิ่งขึ้น นอกจากนั้นยุคนี้ยังขยับเป้าหมายหลักจากความพึงพอใจของลูกค้า มาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าและการกลับมาซื้อซ้ำนั่นเอง (Retention) บทความนี้อาจช่วยให้เข้าใจมาขึ้นแล้วว่าการตลาดยุค 2.0 เป็นอย่างไร และช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นขนาดไหน อย่าลืม กดติดตาม (Subscribe) บทความนี้ไว้ เพื่อไม่ให้เป็นการพลาดสาระความรู้ดี ๆ แบบนี้อีก
หลังจากที่เรา ส่อง “แฟรนไชส์” ในไทยน่าลงทุน 2022 กันไปแล้ว เราลองมาดูแฟรนไชส์ระดับโลกที่กำลังมาแรงในช่วงนี้กันดีกว่าค่ะ ว่าจะเป็นแบรนด์อะไรมูลค่าเท่าไหร่กันบ้าง 1.Burger King หากพูดถึงร้านเบอร์เกอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในประเทศและในต่างประเทศก็คงจะหนีไม่พ้น Burger King ที่มีความอร่อย และคุณภาพที่โดดเด่นไม่เป็นสองรองใครเลย ซึ่งจากที่ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าคู่แข่งตัวฉกาจของ Burger King ก็คือ McDonald’s ทำให้ทั้งสองแบรนด์ทำการตลาดกันอย่างดุเดือดในต่างประเทศ เพื่อช่วงชิงไหวพริบและกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด ปัจจุบัน Burger King ขยายสาขา 74 แห่งทั่วประเทศไทย และกลายยังเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงอย่างมากในมัลดีฟส์ และเมียนมาด้วย 2.สเวนเซ่นส์ ร้านไอศกรีมยอดนิยมในไทยที่ไม่ว่าจะไปห้างสรรพสินค้าไหนก็เจอก็คงจะหนีไม่พ้น “ สเวนเซ่นส์ ” เป็นแบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเพราะอยู่กับคนไทยมายาวนานกว่า 30 ปี ต่อให้มีไอศกรีมแบรนด์อื่นเพิ่มเข้ามาในตลาดแต่สเวนเซ่นส์เองนั้นครองส่วนแบ่งการตลาดไอศกรีมพรีเมี่ยมมากกว่า 70% นั่นแสดงให้เห็นว่าสเวนเซ่นส์มีของดีและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ เมนูหลากหลาย การบริการ การตกแต่งร้าน ทำให้ในวันนี้สเวนเซ่นส์ได้ขยายสาขาไปทั่วทุกมุมโลก ด้วยรูปแบบและลักษณะร้านไอศกรีมที่โดดเด่นไม่เหมือนใครซึ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการพัฒนาเพิ่มรสชาติให้ถูกใจคนรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลาทำให้สเวนเซ่นส์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีมากกว่า 250 สาขาทั่วประเทศนอกจากนี้ สเวนเซ่นส์ยังมีการขยายไปยังต่างประเทศ อาทิ เวียดนาม กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ อินเดีย และตะวันออกกลาง 3.Krispy Kreme แฟรนไชส์ร้านโดนัทชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องของความหอม หวาน นุ่มละมุนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกาและต่างประเทศ ประเทศไทย เป็นแบรนด์ที่รู้จักกันทั่วโลก ในปัจจุบันมี 890 สาขา ค่าแฟรนไชส์ $275,000 – $1.9 million ซึ่งเกณฑ์การเลือก Franchisee ของ Krispy Kreme ขึ้นชื่อว่าโหด และมีค่าใช้จ่ายมหาศาลต้องมีโดยผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ต้องมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารมาก่อนแล้ว ข้อกำหนดเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการเป็น Franchisee ที่ทำให้หลายคนต้องหันกลับมาคิดอีกรอบ คือ จำนวนเงินทุน ก่อนอื่นต้องจ่าย Franchise Fee เป็นจำนวนเงินขั้นต่ำ 40,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมกับการการันตีว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ 15 ปี การลงทุนในแต่ละสาขาต้องใช้งบประมาณ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ และยังต้องหัก 6.5% จากยอดขายให้กับบริษัทแม่ Krispy Kreme ซึ่งรวมทั้งหมดแล้ว เงินทุนเริ่มต้นสำหรับธุรกิจโดนัทที่ขายในราคาเริ่มต้นชิ้นละ 27 บาท อยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150 ล้านบาท 4.Dairy Queen Dairy Queen ร้านไอศกรีม จากสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศไทยเราด้วย ด้วยจำนวนสาขาทั่วโลกกว่า 6,385 แห่ง แม้ว่าจะเป็นร้านไอศกรีมที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่เชื่อว่ายังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ที่มาที่ไปของ “แดรี่ ควีน” เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นเจ้าของ ใครดูแลในไทย ระดับราคาปานกลางที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อง่าย สามารถเดินทานได้ รสชาติเป็นเอกลักษณ์ และสามารถเลือกผสม ผลไม้ โอรีโอ ถั่ว และเครื่องเคียงต่างๆ ได้ตามต้องการ จึงขยายสาขาไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแดรี่ควีน เป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีร้านแดรี่ควีนทั่วโลกกว่า 6,385 สาขา ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป อเมริกากลาง ตะวันออกไกล ตะวันออกกลาง และแถบเอเชีย รวมถึงไทยด้วย โดยสำนักงานใหญ่ของแดรี่ควีน ตั้งอยู่ที่เมืองมินิอาโปลิส มลรัฐมินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา 5.Dunkin’ Donuts ร้านแฟรนไชส์โดนัทชื่อดังอีกหนึ่งร้านที่มีสาขามากมายในประเทศไทยนั่นก็คือ “Dunkin’ Donuts” ร้านแฟรนไชส์โดนัทสัญชาติอเมริกา จำหน่ายโดนัท แฟนซีโดนัท และเครื่องดื่ม มีร้านมากกว่า 12,000 แห่ง กว่า 40 ประเทศทั่วโลก และยังมีสาขาทั่วประเทศไทย ดังกิ้นโดนัท มีโดนัทแสนอร่อยตามเทศกาล ในประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 36 ปี มีสาขากระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 280 สาขา ใน 47 จังหวัดทั่วประเทศ ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดโดนัท ที่มีการพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
ต่อจากบทความที่เราได้นำเสนอเรื่อง Brand สิ่งที่สัมพันธ์กันและต้องดำเนินการควบคู่กันไปนั่นก็คือ Brand Strategy หรือกลยุทธ์การสร้างแบรนด์นั่นเอง บทความนี้จะบอกถึงความหมายและความสำคัญ จะมีอะไรกันบ้างไปอ่านพร้อมๆ กันเลย What is brand strategy? Brand Strategy (กลยุทธ์การสร้างแบรนด์) คือ การวางแผนระยะยาวเพื่อให้การสร้างแบรนด์สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย ตรงตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ดีก็จะรวมไปถึงการตั้งเป้าหมายในการสร้างแบรนด์ การทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้า การสื่อสารไปยังลูกค้าและการวัดผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจทำได้ยาก Branding Strategy จะเป็นสิ่งที่จะทำให้การสร้างแบรนด์เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำไม Branding Strategy จึงมีความสำคัญกับธุรกิจ เพราะแบรนด์ที่แข็งแกร่งคือแบรนด์ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าอย่างเหนียวแน่น โดย Branding Strategy จะช่วยให้กลุ่มลูกค้าเกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ จุดนี้เป็นสิ่งที่หลายๆ แบรนด์อยากไปให้ถึง สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่น การสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า กระตุ้นการรับรู้ถึงแบรนด์ เป็นต้น เหตุใดการพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์จึงมีความสำคัญ แบรนด์ที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า กลยุทธ์แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสามารถช่วยปรับปรุงความภักดี กระตุ้นการรับรู้ถึงแบรนด์ สร้างธุรกิจซ้ำ และสร้างแรงบันดาลใจการตลาดแบบปากต่อปากและการอ้างอิง แบรนด์ที่ไม่มีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพสามารถเจือจาง อ่อนแอ หรือลืมเลือนได้ หากไม่มีประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่น่าพิศวง (และแม้แต่ครั้งเดียว) ก็ง่ายสำหรับลูกค้าที่จะเดินหน้าต่อไปแทนที่จะยอมซื้อซ้ำ โดยส่วนประกอบของ Branding Strategy ที่ดีมีดังนี้ Brand Purpose (เป้าหมายการสร้างแบรนด์) เป้าหมายของการสร้างแบรนด์ที่แท้จริงต้องเป็นมากกว่าการสร้างผลกำไร ซึ่งโดยรวมแล้วเป้าหมายของการสร้างแบรนด์ที่ดีก็คือการช่วยเหลือลูกค้าในด้านใดด้านหนึ่ง หรือเปรียบเหมือนการเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ ในแบบของตัวเอง Core Message (ข้อความหลักในการสื่อสาร) หมายถึงข้อความหรือใจความหลักที่แบรนด์อยากสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรที่จะถูกสื่อสารให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องและทุกช่องทางตลอดทุกช่วงอายุของแบรนด์ โดยใจความหลักไม่ควรมีเกิน 1-3 หัวข้อ Long Term Planning (การวางแผนระยะยาว) การสร้างแบรนด์ก็คือการตลาดระยะยาวซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานานถึง 5-7 ปี ซึ่งในบางบริษัทก็อาจจะใช้เวลาที่นานกว่านี้ โดยในการวางแผนระยะยาว คือ การจัดสรรตารางเวลาและกระบวนการกิจกรรมต่างๆ ทางด้านการตลาดที่บริษัทสามารถทำได้เพื่อช่วยในการสร้างแบรนด์ Actionable (การวางแผนที่ทำได้จริง) การวางแผนที่ทำได้จริงเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่ทำให้กระบวนการทุกอย่างสามารถสำเร็จลุล่วงได้ ซึ่งรวมถึงการพิจารณาทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร เช่นจำนวนพนักงาน ทักษะของพนักงานทักษะของพนักงาน เวลาที่มี ทุนทรัพย์ต่างๆ Measurable (การวัดผลอย่างต่อเนื่อง) เมื่อมีการวางแผลกลยุทธ์ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ในทุกการทำงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องสามารถวัดผลได้ว่าประสบความสำเร็จในการทำหรือเปล่า การทำงานสามารถช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้มากขึ้นหรือไม่ ส่วนประกอบทั้งหมดนี้สามารถนำไปปรับใช้กับการทำกลยุทธ์ในธุรกิจได้หมดเลย ซึ่งหลักในการสร้างแบรนด์เป้นสิ่งที่ได้ได้เข้าใจยาก แต่การนำไปปรับใช้จิงเป็นสิ่งที่ยากกว่า โดยสิ่งสุดท้ายที่เราต้องพิจารณาในการสร้างแบรนด์ก็คือ ตำแหน่งตลาด (Positioning) หรือก็คือการเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของแบรนด์เรากับคู่แข่งอื่นๆ ในมุมมองของลูกค้า Great Brand Strategy การมีกลยุทธ์แบรนด์ที่ยอดเยี่ยม กลยุทธ์แบรนด์ที่ยอดเยี่ยมนั้นเริ่มมาจากกระบวนการที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าผู้บริการคนไหนก็ล้วนแต่มีกลยุยทธ์ที่ดี ที่พร้อมสร้างธุรกิจให้อยู่ในใจลูกค้า แต่อาจจะยังขาดกระบวนที่ช่วยให้ความสามารถของผู้บริหารมีประสิทธิภาพ แล้วกระบวนการได้มาซึ่งกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมนั้นเกิดคุณสมบัติอะไรบ้าง ? คุณสมบัติที่ 1 การมีส่วนร่วมของคนในองค์กร (Engagement) การมีส่วนร่วมนั้นช่วยทำให้คนในองค์กรเกิดการยอมรับและรู้สึกถึงการเป็นเข้าของแบรนด์ร่วมกัน กลยุทธ์แบรนด์ที่ผ่านกระบวนการนี้ มีโอกาสที่คนในองค์กรจะเข้าใจและเมื่อเข้าใจได้ดีแล้วนั้นการนำไปปฏิบัติจริงก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีตามมาด้วยนั่นเอง คุณสมบัติที่ 2 สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ของโลก คุณสมบัติข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในปัจจุบัน คือการต้องทำให้วิสัยทัศน์แบรนด์สอดคล้องกับแนวทางการเปลี่ยนแปลงของโลกหรือเรียกว่า เมกะเทรนด์ ซึ่งในยุคนี้ธุรกิจบางประเภทไม่สามารถอยู่ได้อีกต่อไป เช่น อุตสาหกรรมฟิล์ม, รถยนต์แบบดั้งเดิม, สื่อแบบดั้งเดิม คุณสมบัติที่ 3 เข้าใจความต้องทั้ง Needs และ Unmet Needs ของลูกค้า หากการที่แบรนด์มีการเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้งแล้ว จะทำให้การกำหนดคุณค่าแบรนด์หรือ Brand Value มีความคมชัดและแม่นยำ ซึ่งการสร้างแบรนด์ให้เป็น Asset ระยะยาวนั้นต้องมีความต่อเนื่องในการสร้างคุณค่าแบรนด์ที่สม่ำเสมอไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หรือคำนึงแค่เพียงการขายของระยะสั้นเท่านั้น คุณสมบัติที่ 4 สร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง กลยุทธ์แบรนด์ต้องมีการกำหนดจุดยืนแบรนด์หรือ Brand positioning ที่แตกต่างออกไปจากคู่แข่ง เพื่อสร้างการรับรู้ของลูกค้าที่สามารถทำให้แบรนด์ของเรามีที่ยืนในใจของลูกค้าที่ชัดเจน การสร้างความแตกต่างนั้นมีหลายปัจจัยที่จะทำให้แบรนด์เราแตกต่างทั้งในส่วนของการสร้างจุดยืนแบรนด์, การกำหนดคุณค่าแบรนด์ และการออกแบบระบบอัตลักษณ์แบรนด์ เป็นต้น คุณสมบัติที่ 5 การมีจุดมุ่งหมายหรือจิตวิญญาณเฉพาะตัวที่ชัดเจน แบรนด์ที่ดีต้องเป็นมากกว่า แค่การขายของไปวันๆ แต่แบรนด์ที่ดีจะขายความเชื่อ จะขายแนวคิด จะขายสิ่งที่แบรนด์ตัวเองเกิดขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายพิเศษเหล่านี้ ดังนี้กลยุทธ์แบรนด์ที่ดีต้องบ่งชี้ถึง จิตวิญญาณของตนเองที่บอกจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่มากกว่าแค่เรื่องผลประกอบการและกำไรทางการเงิน ทั้ง 5 คุณสมบัตินี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกได้ว่ากลยุทธ์แบรนด์ที่ถือเป็นเข็มทิศสำคัญในการบริหารแบรนด์ สร้างแบรนด์ให้เป็นสินทรัพย์ได้จริงนั้นได้มาตรฐานและเป็นกลยุทธ์แบรนด์ที่ดี จริงๆ จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกี่ยวกับ Brand Strategy หรือกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อน ส่งเสริมให้แบรนด์มีความแข็งแรง มั่นคง และลูกค้าก็จะจงรักภักดีจนเกิดการบอกต่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างแบรนด์มาก อยากใครที่กำลังสร้างแบรนด์อยู่ก็อย่าลืมนำกลยุทธ์การสร้างแบรนด์นี้ไปปรับใช้กับแบรนด์ตัวเองกันนะคะ ขอขอบคุณที่มา และ
Marketing 1.0 การตลาด Marketing 101 เน้นเรื่องสินค้า เริ่มจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1950 เน้นสินค้าเป็นหลัก คือ ผลิตสินค้าที่ดีที่สุดเพื่อสร้างความรู้สึกคุ้มค่าให้กับผู้บริโภคสินค้าและบริการจะอยู่ในใจผู้บริโภคเป็นสินค้าที่มีฟีเจอร์เยอะเยอะสร้างความเหนือกว่าคู่แข่งโดยเจ้าของเจ้าของแบรนด์จะตั้งราคาสูงๆ ตลาดจากยุคเกษตรกรรมสู่ยุคการสร้างแบรนด์ คำว่า การตลาด เป็นแนวคิดธุรกิจที่มีผู้คนผู้บริโภคเป็นหลัก หัวใจสำคัญของการตลาด คือ มีการแลกเปลี่ยนสินค้า (Exchange) ที่ไม่ใช่การขายอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่แนวคิด Marketing ประกอบด้วย 2 สิ่งสำคัญ ได้แก่ Place หรือมีสถานที่ขาย และ People หรือคน ซึ่งต้องมีทั้ง 2 สิ่ง เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค (Consumer) โดยรู้ความต้องการผู้บริโภค และสามารถสร้างให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการและมีความอยาก การตลาดยุค 1.0 (Marketing 1.0) การตลาดยุค 1.0 ยุคทุนนิยม หรือยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือหลายคนเรียกว่า ยุค Mass Marketing นับเป็นจุดเริ่มต้นการตลาด ที่เน้นผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายมาดๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต (Product Centric) ยุคนี้ผลิตยึดตัวเองเป็นหลัก เน้นในเรื่องการผลิตสินค้าออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าในลักษณะมวลชน ขนาดใหญ่ และผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด เน้นการผลิตที่เน้นตัวสินค้าเป็นหลัก เน้นการผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุน ส่วนเทคนิคทางการตลาดนิยมนำมาใช้กันอย่างมากในยุคนี้ก็คือการใช้หลัก 4P’s ก็คือ Products ปัจจัยแรก ที่หมายถึงสินค้า หรือบริการที่ส่งมอบสู่ลูกค้า ไม่ว่าธุรกิจจะส่งมอบอะไรจับต้องได้หรือไม่ ล้วนเป็น Product Price ปัจจัยที่ 2 นี้เป็นด้านราคา ซึ่งจำเป็นต่อธุรกิจอย่างมาก เป็นปัจจัยสร้างกำไรให้ธุรกิจ และก็เป็นอีกปัจจัยในสายตาผู้บริโภค Place ปัจจัยที่ 3 คือ สถานที่ ที่ธุรกิจสามารถจัดแสดงหรือส่งออกสินค้า และบริการออกไปให้ใกล้ชิดผู้บริโภค Promotion ปัจจัยที่ 4 เป็นเรื่องการสื่อสารและกระจายเสียงของแบรนด์ให้เข้าถึงใจลูกค้ามากที่สุด ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคที่มีการทำเครื่องหมายการค้าให้กับแบรนด์ (ตีตราแบรนด์เป็นสินค้า) ซึ่งเรายังมีกาตลาดที่ดำเนินมาอีกหลายยุคจนกว่าจะถึงปัจจุบัน สามารถอ่านต่อได้บทความหน้านะครับ